Category Archives: ความรู้และตกแต่ง

บล็อกเเก้วดียังไง

บล็อกเเก้ว เป็นวัสดุโปร่งแสงมีลักษณะเป็นบล็อกสี่เหลี่ยมพื้นผ้า สามารถนำมาใช้ติดตั้งเป็นผนัง, เพดาน หรือพื้นได้หลายรูปแบบทั้งภายในและภายนอกอาคาร เช่น ใช้เป็นช่องแสงบริเวณต่างๆ

ข้อดีของบล็อกเเก้ว

ช่วยประหยัดไฟ

เนื่องจากบล็อกเเก้วมีความโปร่งใส สามารถปล่อยเเสงทะลุได้ ทำให้หากก่อผนังด้วยบล็อกเเก้ว  ก็สามารถทำให้บ้านดูกว้างขึ้น และสามารถลดพลังงานไฟฟ้าในช่วงกลางวันได้อีกด้วย

รองรับเเรงอัดได้มาก

บล็อกแก้วหรืออิฐแก้วนั้นมีความหนามากจึงรองรับแรงอัดได้มากถึง 7 Mpa. มากกว่าอิฐมอญถึง 2.5 เท่า อีกทั้งยังทนต่ออุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลง การตกแต่งบ้านด้วยผนังบล็อกแก้วจึงแข็งแรงทนทานใช้งานได้อย่างยาวนาน

ตกเเต่งได้หลากหลาย

บล็อกเเก้วมีสีสันเเละมีลวดลายที่หลากหลาย สามารถนำไปวางผสมผสานกับวผนังบ้านได้หลากหลาย หรือใช้เป็นผนังกันในห้องน้ำเเยกระหว่างโซนเเห้งเเละเปียก

ทำความสะอาดได้ง่าย

เพียงเช็ดด้วยน้ำยาทำความสะอาด น้ำยาเช็ดกระจก หรือเช็ดด้วยน้ำเปล่า โดยไม่ต้องขัดหรือทำสี

มีช่องทางการสั่งซื้อง่ายๆมาแนะนำค่ะ

📲1. ช้อปผ่าน LINE : @wehomeonline
📥2. ช้อบผ่าน Inbox Facebook Page : m.me/WeHomeOnline
🛒3. LAZADA : https://www.lazada.co.th/shop/wehome-online

🛒4. NOCNOC : 
🛒5. Shopee : https://shopee.co.th/wehomeonline
📞7. โทรหาเราสั่งของได้ 074-338-000

สาระน่ารู้อื่นๆ

เคล็ดลับ! เลือกเครื่องตัดหญ้าที่เหมาะกับบ้านคุณ

เดือน มิถุนายน สำหรับประเทศไทย จะเป็นเดือนที่ เริ่มเข้าสู่หน้าฝน บางพื้นที่ที่อาจจะมีฝนตก ซึ่งจะมีสิ่งที่เราไม่อยากจะพบเจอโดยเฉพาะ ชาวเกษตรกร ที่จะต้องพอเจอกับ วัชพืช ที่เป็นปัญหา และอุปสรรค ในการปลูกผัก ปลูกต้นไม้ วัชพื้นเหล่านี้เติบโตโดยรวดเร็วได้ เพราะอาจะได้ปุ๋ย ที่ชาวเกษตรกร หว่านให้กับต้นไม้ ทำให้ ต้นไม่ได้รับสาอาหารไม่เพียงพอ และดังนั้น ชาวเกษตรกรจึงหันไปใช้ยากำจัด วัชพืชแทน แต่ อาจจะไม่เป็นผลร้ายแรงกับต้นไม้มากนัก แต่จะเป็นผลต่อผู้บริโภคมากเลยทีเดียว เพราะการกินผัก ผลไม้ที่ใช้สารเคมีเหล่านี้ถึงจะเป็นจำนวนเล็กน้อย แต่ร่างกายคนเราจะสะสมไปเลื่อยๆ และเป็นปัญหาระยะยาวได้

โดยเราวิธีการแก้ปัญหา ที่ง่ายสำหรับ พี่น้อง ชาวเกษตรกร ขอแนะนำ เคล็ดลับ! เลือกเครื่องตัดหญ้าที่เหมาะกับบ้านคุณ และสวนของคุณโดยจะไม่ทำให้ ผู้บริโภคต้องเสี่ยงกับสารเคมี ยากำจัดวัชพืชอีกต่อไป หรือ บางทันอาจจะใช้สำหรับตัดสวนหญ้าภายในบริเวรบ้านของท่าน เพื่อให้ลูก หลาน หรือ สัตว์เลือกของคุณได้วิ่งเลยได้ อย่างปลอยภัย และเรามาทำความรู้จักกับ เครื่องตัดหญ้ากันเลยค่ะ!!

เครื่องตัดหญ้ามีกี่รูปแบบ

     เครื่องตัดหญ้าเป็นนวัตกรรมที่มีการออกแบบ และพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง มีรูปแบบ เเละชนิดเเยกออกมาตามลักษณะการใช้งานที่ไม่เหมือนกัน เช่นเดียวกับลักษณะหญ้า เเละพื้นที่เเตกต่างกันออกไป ควรเลือกเครื่องตัดหญ้าให้เหมาะสม เเละตอบโจทย์กับการใช้งานได้จริง โดยเครื่องตัดหญ้ามี 3 รูปแบบ ดังนี้

1.เครื่องตัดหญ้าสะพานบ่า

เครื่องตัดหญ้าสะพายบ่า (เครื่องเหวี่ยง) ซึ่งแยกได้ 2 ชนิด เหมาะสำหรับใช้กับพื้นที่รกชัน หญ้าสูง พื้นที่สูงต่ำไม่เท่ากัน และสามารถใช้ตกแต่งพื้นขอบไหล่ทางถนน หรือ พื้นสนามหญ้าให้สวยงามและเรียบร้อยได้ดี

1.1 เครื่องตัดหญ้าสะพายบ่า แบบข้อแข็ง

     แบบธรรมดา ในการตัดจะใช้เอว สะโพกเหวี่ยงด้วยเเขนจะประคองไว้ (ปวดเมื่อยบริเวณเอวเเละบ่า) ตัดได้ทั้งหญ้าสั้น และหญ้ายาวๆ เเต่จะจำกัดระยะการตัด หากตัดใกล้ตัวต้องถอยหลัง มีน้ำหนักไม่มากเมื่อเทียบกับข้ออ่อน เน้นงานตัดหญ้าที่เรียบไม่เป็นเนินดอย เเละราคาถูกกว่า

1.2 เครื่องตัดหญ้าสะพายบ่า แบบข้ออ่อน

    แบบสะพายหลัง ในการตัดนั้นต้องใช้แขนเหวี่ยง บังคับเท่านั้น (ปวดเมื่อยบริเวณแขนเเละหลัง) ตัดได้ดีที่เป็นหญ้าสั้น ตัดเเบบเอียงองศา สามารถปรับระยะการตัดใกล้ตัวได้โดยขยับแขน หากเจอหญ้าสูงๆยาวๆ หากข้อมือหรือแขนไม่แข็งแรง หญ้าจะพันใบมีดได้ มีน้ำหนักที่มากกว่าเพราะว่าจะมีส่วนประกอบมาเพิ่ม เช่น โครงเหล็ก สายอ่อน เน้นงานเอนกประสงค์ ตัดพื้นที่ราบเเละตัดเอียงองศา สามารถใส่ใบเลื่อยเพื่อเอาไปตัดเเต่งกิ่งไม้ หรือใส่หัวพรวนดินก็ได้ มีความซิกเเซกได้เป็นอย่างดี เเละราคาเเพงกว่าเพราะมีโครงสร้างเเละอุปกรณ์เสริมเข้ามาเพิ่ม

เครื่องตัดหญ้าสะพาย จะมีเครื่องยนต์อยู่ 2 ชนิด คือ เครื่องยนต์ 2 จังหวะ กับ เครื่องยนต์ 4 จัวหวะ ซึ่งการทำงานมีความเเตกต่างกัน!

เครื่องยนต์ 2 จังหวะ

คือ การทำงานของเครื่องยนต์จะอยู่ 2 ลำดับ ช่วงชักเเรกจะทำการดูด/อัด ช่วกชักที่สองจำการระเบิด/คาย

  1. แบบคาบูลูกลอย สังเกตง่ายๆถังน้ำมันจะอยู่ด้านบนเพื่อสร้างแรงดันน้ำมันเข้าสู่คาบูเรเตอร์โดยมีลูกลอยที่อยู่ในคาบูเรเตอร์เป็นตัวเปิดปิดน้ำมันแบบอัตโนมัติ
  2. แบบคาบูไดอะแฟรมหรือผ้าปั๊ม แบบนี้ถังน้ำมันจะอยู่ด้านล่างและจะมีลูกยางใส่ๆสำหรับกดปั๊มน้ำมันอยู่ตรงคาบิวเลเตอร์ ที่นิยมใช้ตามไร่,ตามสวน

ข้อดีเเละข้อเสียของเครื่องยนต์ 2 จังหวะ

  1. มีความดัง เเละมีควันดำ มีการกินน้ำมันเชื้อเพลิงมากกว่า
  2. มีความร้อนของตัวเครื่องที่ร้อนเเละสูงกว่า
  3. ให้พลังเเรงตัดหรือความเร็วรอบที่มากกว่า
  4. ราคาถูกกว่า

เครื่องยนต์ 4 จังหวะ

คือ ใช้น้ำมันเครื่องสำหรับการล่อลื่นลูกสูบ สามารถเติมน้ำมันเบนซินได้โดยตรงไม่ต้องผสมน้ำมันออโตลูปเหมือนเครื่องยนต์ 2 จังหวะ โดยการทำงานของเครื่องยนต์จะเป็นลำดับ

  1. ดูดไอดี
  2. อัดไอดี
  3. จุดระเบิด
  4. คายไอเสีย

ข้อดีเเละข้อเสียของเครื่องยนต์ 4 จังหวะ

  1. มีความเงียบ เเละควันดำไม่มาก ประหยัดเชื้อเพลิง
  2. ตัวเครื่องมีความร้อนที่ไม่สูงมาก
  3. พลังรอบที่ไม่เเรงเท่า 2 จังหวะ
  4. ราคาเเพงกว่า

2. เครื่องตัดหญ้าแบบเดินตามสี่ล้อเข็น

เครื่องตัดหญ้าแบบเดินตามสี่ล้อเข็น ซึ่งแยกได้ 2 ชนิด เหมาะสำหรับใช้ในงานพื้นที่เรียบ สนามหญ้าหน้าบ้าน ในสวนหย่อม สามารถใช้ตัดพื้นที่ได้เป็นบริเวณกว้าง ใช้งานง่าย ใช้แรงงานของกำลังเครื่องยนต์เป็นหลัก

2.1 เครื่องตัดหญ้าแบบเดินตามสี่ล้อเข็น แบบพ่นออกข้าง

    แบบ พ่นหญ้าออกด้านข้าง เป็นเครื่องตัดหญ้ารถเข็น สีล้อที่มีกำลังในการตัดที่เวลาฝนตกใหม่ เราก็สามารถตัดหญ้าได้โดยที่น้ำไม่กระเด็นใส่ แต่ก็จะมีข้อเสียในการใช้งาน หรืออาจะเพื่อภาระให้กับเราอีกคือ การที่หญ้าพ่นออกมาจากด้านข้าง ไม่มีถังเก็บจะทำให้คุณเสียเวลาเเละกำลังเเรงมากวาดหญ้าที่ตัดอีก 1 รอบ

2.2 เครื่องตัดหญ้าแบบเดินตามสี่ล้อเข็น แบบมีกล่องเก็บหญ้าด้านหลัง

    แบบ พ่นหญ้าออกด้านหลัง จะมีการใช้งานคลายๆกับเครื่องตัดหญ้าพ่นออกด้านข้าง แต่จะเป็นการออกด้านหลังแทน ซึ่งจะมีส่วนที่เพิ่มขึ้นมาสำหรับรุ่นนี้ จะมีถังเก็บหญ้าด้านหลัง มีข้อดี คือ หญ้าที่พ่นออกมาจะกองไว้ที่ถัง เมื่อหญ้าเต็ม คุณก็ยกถังหญ้าไปทิ้งได้ง่ายดาย โดยที่ไม่ต้องไปกวาดหญ้าอีกรอบหนึ่ง

3. รถตัดหญ้าแบบนั่งขับ หรือ รถตัดหญ้าขนาดใหญ่

           ที่มักนิยมเรียกกันว่า รถตัดหญ้าขนาดใหญ่ เพราะ สามารถบังคับทิศทางการเคลื่อนที่ได้เหมือนรถยนต์ ทั้งยังสามารถปรับระดับความลึกของใบมีดได้ ช่วยให้หญ้ามีความเรียบอย่างสม่ำเสมอกัน เหมาะกับสนามหญ้าที่มีพื้นที่กว้างมากๆ และไม่เปลืองแรงในการเก็บหญ้า แต่ไม่เหมาะแก่การใช้งานในบ้านที่มีพื้นที่สนามหญ้าแคบๆ เพราะมีราคาแพง และสิ้นเปลืองพลังงานเชื้อเพลิง

แหล่งพลังงานที่ใช้ในเครื่องตัดหญ้า

          เครื่องตัดหญ้า มีการพัฒนาแหล่งพลังงานที่ให้เลือกใช้งานหลากหลายไม่ว่าจะเป็นแบตเตอรี่ น้ำมัน หรือไฟฟ้า แต่ในปัจจุบันยังมีการพัฒนาแหล่งพลังงานเพิ่มมากขึ้น แต่พลังงานที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน มี 3 ประเภทที่ช่วยเพิ่มทางเลือก และทำงานสะดวกมากขึ้น ได้แก่

1. เครื่องตัดหญ้าแบตเตอรี่

เป็นเครื่องที่ใช้พลังจากแบตเตอรี่เป็นหลักในการทำงาน มีฟังก์ชั่นการใช้งานได้หลายรูปเเบบ เพิ่มความสะดวกในการตัดได้หลากหลาย อาทิเช่น การตัดเเต่งพุ่ม เล็มขอบ เเต่งกิ่งไม้ ด้วยการเปลี่ยนหัวต่อเท่านั้นเอง เครื่องเเบบนี้จะมีมอเตอร์ไร้เเปรงถ่าน ช่วยให้อายุการใช้งานที่ยาวนาน ทั่งลดการสั่นสะเทือนในตัวที่น้อยลง ทำให้การตัดหญ้าเป็นไปได้อย่างง่ายดาย ซึ่งได้รับความสนใจเพิ่มมากขึ้น

2. เครื่องตัดหญ้าใช้น้ำมัน

เป็นเครื่องที่ใช้พลังงานจากน้ำมันเป็นหลักในการทำงาน เครื่องยนต์ที่มีพละกำลังที่สูง มีทั้งเป็นเครื่อง2 จังหวะ เเละ4จังหวะ เป็นที่นิยมมากที่สุดเเละคลาสสิค ต่อไปสำหรับการใช้ตัดหญ้า จุดเด่นหลักๆของเครื่องตัวนี้อยู่ที่กำลังเเรงที่เหลือเฟือในการต่อกรกับหญ้าได้หลายรูปเเบบ โดยจุดด้อยของน้ำมันจะทำให้เครื่องตัดหญ้ามีน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นมาและราคาน้ำมันตามท้องตลาดที่ไม่เเน่นอน

3. เครื่องตัดหญ้าไฟฟ้า

เป็นเครื่องที่ใช้พลังงานจากไฟฟ้า เริ่มเป็นที่นิยมใช้กันทั่วไป สะดวกเรื่องการใช้งานที่ง่าย ไม่ยุ่งยาก มีขนาดเล็ก น้ำหนักเบา ผู้หญิงสามารถใช้งานได้คล่อง ดูเเลรักษาง่าย เพียงเเค่เสียบปลั๊กก็สามารถใช้งานได้ตลอด การทำงานมีความสม่ำเสมอในการใช้ไฟฟ้า เหมาะกับการตัดหญ้าไม่หนามาก ตัดขอบสนามได้รวดเร็ว

การเลือกเครื่องตัดหญ้าแบบไหนเหมาะกับบ้านคุณ

การเลือกเครื่องตัดหญ้า แอดนำเทคนิคดีๆ ในการเลือกมาฝากกันค่ะ

1. เราควรเลือกการจากใช้งาน

การเลือกเครื่องตัดหญ้า โดยเลือกการจากใช้งานจะช่วยลดความซับซ้อนของการใช้งาน โดยคำนึงถึงค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงในอนาคต และเรายังต้องเลือกตามความถนัด ความเหมาะสมกับบริเวณบ้านของคุณ ซึ่งรูปแบบของเครื่องตัดหญ้ามีด้วยกัน 3 ประเภทหลักๆ ดังนี้

  • เครื่องตัดหญ้าแบบสะพายบ่า เหมาะกับการตัดหญ้าตามริมถนน ตามสวน ตามไร่ พื้นที่หญ้ารกสูงชัน สามารถหมุนทำงานได้ 360 องศา
  • เครื่องตัดหญ้าแบบรถเข็น เหมาะกับการใช้งานตามบ้านเรือนทั่วไป ที่มีพื้นที่ขนาดกลาง ใช้ตัดหญ้าได้เฉพาะหญ้าเตี้ยๆ
  • เครื่องตัดหญ้าแบบนั่งขับ เหมาะกับการตัดหญ้าในพื้นที่ขนาดใหญ่ นิยมใช้กับรีสอร์ท โรงแรม สนามกอล์ฟ หรือบ้านที่มีขนาดพื้นที่กว้าง โดยพื้นหญ้ามีความเรียบสม่ำเสมอกัน

2. การเลือกน้ำหนัก

สำหรับบ้านไหนที่มีสนามหน้าไม่กว้างมากนัก และปลูกหญ้าบางๆ ให้พอมีพื้นที่สีเขียวดูร่มรื่น อาจมองหาเครื่องที่มีน้ำหนักเบา เพราะจะสามารถช่วยให้คุณใช้งานได้อย่างต่อเนื่อง แต่ส่วนมากแล้ว เครื่องที่มีน้ำหนักเบามักจะมีข้อเสีย คือ มีขนาดเครื่องเล็ก ทำให้ไม่เหมาะกับการใช้ตัดหญ้าที่รกหนาได้ ส่วนเครื่องที่มีน้ำหนักมาก จะมีแรงตัดมากกว่า ช่วยให้สามารถตัดหญ้าได้ในระดับเสมอดิน

3. ควรคำนึงถึงพื้นที่บริเวณบ้าน

หากสนามหญ้ามีพื้นที่กว้าง ควรเลือกเครื่องตัดหญ้าที่มีรัศมีการตัดหญ้าที่กว้าง และมีขนาดเครื่องที่ใหญ่ตามไปด้วย เพื่อประหยัดเวลา และทำให้ตัดเสร็จเร็วขึ้น ในทางตรงกันข้ามกันหากใช้เครื่องตัดหญ้าที่มีขนาดเครื่องเล็ก หรือมีรัศมีตัดหญ้าในพื้นที่แคบๆ จะทำให้ตัดหญ้าได้น้อย และใช้เวลาในการตัดหญ้านานขึ้น

4. ราคาของเครื่องตัดหญ้า

เครื่องตัดหญ้าแต่ละรุ่น แต่ละแบบ มีราคาไม่เท่ากัน มีตั้งแต่ หลักพัน จนถึง หลังแสน โดยการเลือกราคาตามประเภทของเครื่องตัดหญ้า มีดังนี้

  • เครื่องตัดหญ้าแบบสะพายบ่า จะมีราคาไม่แพงมากนัก โดยมีราคา 1พัน ฿ ถึง 1หมื่น ฿ 📥
  • เครื่องตัดหญ้าแบบรถเข็น จะมีราคากลางๆ โดยมีราคา 1พัน ฿ ถึง 1หมื่น ฿ 📤
  • เครื่องตัดหญ้าแบบนั่งขับ จะมีราคาจะค่อนข้างสูง โดยมีราคา 1หมื่น ฿ ถึง 1แสน ฿ 📤 📤

**ถึงแม้เครื่องตัดหญ้าแบบนั่งขับ จะมีราคาสูง แต่ก็สามารถตอบโจทย์การใช้งานในพื้นที่กว้าง สามารถใช้ตัดหญ้าได้อย่างรวดเร็ว มีการเก็บหญ้าเข้ากล่อง ทำให้ไม่ต้องเสียเวลาและเสียแรงในการทำความสะอาดหลังจากตัดเสร็จ**

แม้ราคาจะแตกต่างแต่สิ่งสำคัญในการเลือกเครื่องตัดหญ้า ควรเลือกที่มีมาตรฐาน มีการบริการหลังการขายและการรับประกัน เพื่อความปลอดภัยต่อผู้ใช้งานและความคุ้มค่าในการใช้งาน

สินค้าแนะนำ

          การเลือกเครื่องตัดหญ้า ไม่ยากสำหรับ เลยใช้ไหมค่ะ แค่ จำหลักแค่ 4 ข้อ เลย ค่ะ คือ เราต้องการใช้งานอย่าง อยากให้มีน้ำหนักแบบไหน บริเวณบ้านเรามีพื้นที่ยังไง และราคาคุมค่ากับเรา แค่นี้เอง ค่ะ
ถ้าหากบทความของเราสามารถตอบโจทย์ให้กับคุณ ก็สามารถ ส่งความคิดเห็นกันมาได้เลยค่ะ หรือ ถ้าอยากให้ เราทำเรื่องอะไร ก็ สามารถ คอมเมนต์กันมาได้เลย นะคะ เพราะเรา คือ วีโฮม บิวเดอร์ “เพื่อนบ้านที่เข้าใจคุณ”

มีช่องทางการสั่งซื้อง่ายๆมาแนะนำคะ

📲1. ช้อปผ่าน LINE : @wehomeonline
📥2. ช้อบผ่าน Inbox Facebook Page : m.me/WeHomeOnline
🛒3. LAZADA : https://www.lazada.co.th/shop/wehome-online

🛒4. NOCNOC :
🛒5. Shopee : https://shopee.co.th/wehomeonline
📞7. โทรหาเราสั่งของได้ 074-338-000

3 ขั้นตอน การเลือกอุปกรณ์งานเชื่อม

3 ขั้นตอนการเลือกอุปกรณ์งานเชื่อม
3 ขั้นตอนการเลือกอุปกรณ์งานเชื่อม

ก่อนที่เราจะ เลือกซื้ออุปกรณ์งานเชื่อม เรามาทำความรู้จัก กับคำว่า การเชื่อมกันก่อนเลย ซึ่งการเชื่อมเป็นกระบวนการที่ใช้สำหรับต่อโลหะเข้าด้วยกันโดยใช้ลวดเชื่อมเพื่อใช้ในการต่อเชื่อมชิ้นงานได้ ในส่วนของเครื่องเชื่อม คือเครื่องผลิตกระแสไฟเชื่อม เพื่อใช้ในการเชื่อมประสานชิ้นงานเข้าด้วยกัน

เราจึงควรเลือกเครื่องเชื่อมให้เหมาะสมกับลักษณะของงานเพื่อให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด โดยการเลือกใช้เครื่องเชื่อมไฟฟ้าแต่ละชนิด ที่มีความแตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็น ด้านคุณสมบัติของการใช้งาน และ คุณภาพของชิ้นงานเชื่อม

เมนูหลัก

เมนูหลัก

ขั้นตอนที่ 1 เลือกอุปกรณ์ “ตู้เชื่อม”

การเลือกตู้เชื่อมจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่ช่างผู้ใช้งานจะต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับวัสดุ ความหนาของชิ้นงาน และอุปกรณ์การเชื่อมไฟฟ้าได้เป็นอย่างดี เครื่องเชื่อมไฟฟ้าที่นิยมใช้ในท้องตลาดมี 4 ประเภท ดังนี้

1. เครื่องเชื่อม MMA (Manual Metal Arc Welding)

เครื่องเชื่อม MMA
คลิกเพิ่มเติม

เครื่องเชื่อม MMA (Manual Metal Arc Welding หรือ SMAW) หรือเครื่องเชื่อมอินเวอร์เตอร์ เป็นการเชื่อมอาร์คโลหะด้วยมือ เป็นกระบวนการโลหะให้ติดกันโดยใช้ความร้อนที่เกิดจากการอาร์คระหว่างลวดเชื่อมหุ้มฟลักซ์ (Electrode)กับชิ้นงาน ซึ่งเครื่องเชื่อมประเภทนี้ได้รับความนิยมเพราะเคลื่อนย้ายได้ง่ายและเหมาะสำหรับช่างมือใหม่หรือผู้ที่สนใจงานเชื่อมที่ต้องการเรียนรู้วิธีการเชื่อมโลหะ สามารถใช้เชื่อมเหล็ก สแตนเลส และอลูมิเนียม

ตู้เชื่อมอินเวอร์เตอร์บางรุ่นอาจเชื่อมอลูมิเนียมได้ ถ้าเป็นเครื่องที่มีกระแสเชื่อมสูงประมาณ 200 แอมป์ขึ้นไป การเชื่อมไฟฟ้าควรเลือกใช้ลวดเชื่อม และปรับกระแสเชื่อมให้เหมาะสมกับงานเชื่อมแต่ละชนิด ตู้เชื่อมอินเวอร์เตอร์เป็นที่นิยมใช้งานในปัจจุบันมากกว่าตู้เชื่อมระบบหม้อแปลงไฟฟ้า ที่มีน้ำหนักมาก และเคลื่อนย้ายลำบาก

ข้อดี

– เชื่อมได้เร็วเครื่องเชื่อม MMA

– เคลื่อนย้ายอุปกรณ์ง่าย ไม่ใช้แก๊ส

– พกพาสะดวก/ราคาประหยัด

ข้อเสีย

– ควันมาก

– ไม่สามารถเชื่อมต่อเนื่อง

– ต้องมีแหล่งจ่ายไฟ

2. เครื่องเชื่อม TIG (Tungsten Inert Gas Welding หรือ GTAW)

คลิกเพิ่มเติม

          เครื่องเชื่อม TIG (Tungsten Inert Gas Welding หรือ GTAW) หรือ เครื่องเชื่อมอาร์กอน เป็นกระบวนการเชื่อมแบบอาร์คชนิดหนึ่งที่ใช้ แท่งอิเล็กโทรดเป็นทังสเตนในการเชื่อม บริเวณบ่อหล่อมจะมีแก๊สเฉี่อยปกคลุม เพื่อป้องกันบ่อหลอมจากการปนเปื้อนหรือการทําปฏิกิริยากับอากาศรอบข้างแก๊สเฉื่อยที่ใช้กันทั่วไปคืออาร์กอนหรือฮีเลียม เครื่องเชื่อมประเภทนี้เหมาะสําหรับงานคุณภาพที่ต้องอาศัยความปราณีตของช่างที่มีประสบการณ์ในการเชื่อม เหมาะกับการเชื่อมสแตนเลสและอลูมิเนียม (รวมถึงชิ้นงานที่บางๆ)

ตู้เชื่อม TIG มีทั้งแบบเชื่อมอาร์กอนเพียงระบบเดียว และแบบเชื่อมอาร์กอนกับเชื่อมระบบอื่น ได้แก่ ตู้เชื่อม 2 ระบบ คือเชื่อมอาร์กอน และเชื่อมธูปหรือทั่วไปเรียกกันว่าเชื่อมเหล็ก กับตู้เชื่อม 3 ระบบ คือ เชื่อมอาร์กอน เชื่อมธูป และเชื่อมอลูมิเนียมหรือระบบ AC ที่เราเรียกกันทั่วๆ ไปว่า ตู้เชื่อมระบบ AC/DC

ตู้เชื่อมอาร์กอนที่มี 2 ระบบ จะมีสวิตช์เปลี่ยนระบบเชื่อม TIG และ ARC ถ้าเราเชื่อม TIG สายดินจะอยู่ที่ขั้ว (+) สายเชื่อมจะอยู่ที่ขั้ว (-) แต่เมื่อเรานำมาเชื่อมไฟฟ้าหรือเชื่อมธูป สายดินจะต้องเปลี่ยนมาใส่ที่ขั้วลบ (-) และสายเชื่อมจะต้องไปอยู่ที่ขั้วบวก (+) แทน

ข้อดี

– การควบคุมคุณภาพ แนวเชื่อมสวยงาม

– ความแข็งแรงของแนวเชื่อม

– สะอาด ควันน้อย ไม่มีประกายไฟ

ข้อเสีย

– เชื่อมได้ช้า

– ต้องใช้ความชํานาญในการเชื่อม

– การตั้งค่าค่อนข้างซับซ้อน

3. เครื่องเชื่อม MIG (Metal Inert Gas)

คลิกเพิ่มเติม

เครื่องเชื่อมแบบ MIG (Metal Inert Gas) หรือเครื่องเชื่อมคาร์บอน (CO2) เป็นเครื่องเชื่อมที่ใช้การป้อนเนื้อลวดลงที่ชิ้นงานโดยอัตโนมัติจากเครื่อง ซึ่งเครื่องเชื่อม CO2 ชนิดนี้อาจจะใช้แก๊สผสมด้วยคาร์บอนก็ได้ขึ้นอยู่กับชิ้นงานที่ต้องการเชื่อม ข้อแตกต่างจากการเชื่อมอาร์กอน คือ เครื่องเชื่อม CO2 จะใช้แก๊ส CO2 และไม่ต้องใช้คนป้อนลวดเหมือนเชื่อมอาร์กอน เชื่อมได้ทั้งเหล็ก สแตนเลสและอลูมิเนียม แล้วแต่ลวดที่ป้อนจะเชื่อมชิ้นงาน หากจะเชื่อมอลูมิเนียม ก็ต้องมีการเปลี่ยนท่อนำลวด (Liner) เครื่องเชื่อมประเภทนี้เหมาะสําหรับงานเชื่อมตามโรงงานอุตสาหกรรม งานเชื่อมที่ต้องการคุณภาพงานสูง เหมาะกับการเชื่อมงานทุกประเภท

ข้อดี

– เชื่อมโลหะได้เกือบทุกชนิด เหล็ก สแตนเลส อลูมิเนียม ทองแดง เหล็กเหนียว

– การเชื่อมสามารถเดินแนวเชื่อมได้อย่างต่อเนื่องและเร็วกว่าการเชื่อมไฟฟ้าที่ใช้ธูปเชื่อมที่ต้อง เปลี่ยนธูปเชื่อมบ่อยๆ

ข้อเสีย

– เชื่อมได้ช้า

– ต้องใช้ความชํานาญในการเชื่อม

– การตั้งค่าค่อนข้างซับซ้อน

4. เครื่องตัดพลาสม่า (Plasma)

คลิกเพิ่มเติม

เครื่องตัดพลาสม่า (Plasma) เป็นเครื่องตัดที่ต้องต่อกับปั๊มลมไฟฟ้าส่งไปที่ลมที่มีความเร็วตรงหัวปืนตัดทําให้ลมกลายเป็นพลาสม่า (Solid liquid gas plasma) ลมพลาสม่าผลักออกไปตัดชิ้นงาน เครื่องตัดพลาสม่าสามารถตัดชิ้นงานที่เป็นโลหะได้ทุกชนิดแต่ความหนาไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับชนิดโลหะ เช่น ตัดเหล็กได้ความหนามากที่สุดรองลงมาคือสแตนเลสและอลูมิเนียมตามลำดับ

ข้อดี

– สามารถตัดชิ้นงานที่มีความเว้าโค้งหรือรูปร่างต่างๆ ได้โดยง่าย สูญเสียเนื้อชิ้นงานน้อย

– สภาพรอยตัดจะมีความราบเรียบและสวยงามมีความเรียบร้อย

ข้อเสีย

– ราคาสูงกว่าการตัวโดย Oxy fuel

– คุณภาพงานต้องขึ้นกับความชํานาญของผู้ใช้

– เครื่องตัดพลาสมาต้องเปลี่ยนอะไหล่สิ้นเปลืองบ่อย

*** กำลังไฟเครื่องเชื่อม (Current Range) ***

การเลือกกำลังไฟของเครื่องเชื่อมขึ้นอยู่กับวัสดุที่ต้องการเชื่อม ความหนาของชิ้นงาน ทั้งนี้การเลือกเครื่องเชื่อมควรเลือกให้เหมาะกับการใช้งานเพื่อประสิทธิภาพการใช้งานสูงสุด และ ผู้ใช้งานสามารถดูคู่มือเครื่องเชื่อมได้เพื่อปรับกระแสไฟให้เข้ากับชิ้นงาน

ขั้นตอนที่ 2 เลือกอุปกรณ์ “ลวดเชื่อม”

1. ลวดเชื่อมธูป หรือ ลวดเชื่อมไฟฟ้าหุ้มฟลั๊กซ์ (Covered Welding Electrode)

เป็นลวดเชื่อมที่ด้านนอกจะมีสารเคลือบฟลั๊กซ์ (Flux) มีลักษณะคล้ายธูป ด้านในเป็นลวดโลหะ ซึ่งลวดโลหะมีอยู่หลายชนิด เช่น ลวดเชื่อมเหล็ก และ ลวดเชื่อมสแตนเลส สามารถเลือกใช้งานให้เหมาะสมกับประเภทของชิ้นงานที่ต้องการเชื่อม เป็นลวดเชื่อมที่นิยมใช้งานกันมากในหมู่ช่างเชื่อม อุปกรณ์และเส้นลวดเชื่อมมีราคาไม่แพง มีหลายขนาดให้เลือกใช้งาน ตั้งแต่ 2.0 , 2.6 , 3.2 , 4.0 และ 5.0

2. ลวดเชื่อมไส้ฟลักซ์ (Flux Cored Wire)

เป็นลวดเชื่อมโลหะแบบเป็นม้วน ลวดมีแกนกลวงบรรจุด้วยสารพอกอยู่ภายในลวด ต่างจากลวดเชื่อมธูปไฟฟ้า (Welding Electrode) ที่สารพอกจะอยู่ภายนอกลวดเชื่อม ลวดเชื่อมไส้ฟลักซ์ (Flux Cored Wire) มีราคาค่อนข้างสูง แต่มีประสิทธิภาพสูง เชื่อมได้รวดเร็วและสวยงาม

3. ลวดเชื่อมมิก/แมก (MIG/MAG) หรือ ลวดเชื่อม CO2 (MIG Welding Wire)

เป็นลวดเชื่อมโลหะแบบเปลือย เปลือกไม่มีสารพอกหุ้มภายนอก มีลักษณะเป็นม้วน ข้อดีคือเชื่อมได้เร็ว ต้องใช้แก๊สซีโอทู Co2 (แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์) ปกคลุม ใช้ในอุตสาหกรรมงานประกอบเหล็กทั่วไป งานอุตสาหกรรมรถยนต์ และงานโครงสร้างทั่วไป

ลวดเชื่อมทิก หรือ ลวดเชื่อมอาร์กอน (Tig Welding Rod)

4. ลวดเชื่อมทิก หรือ ลวดเชื่อมอาร์กอน (Tig Welding Rod)

เป็นลวดเชื่อมเปลือยมีลักษณะคล้ายลวดเชื่อมมิก แต่จะเป็นแบบเส้นตรง แต่ละเส้นมีความยาวประมาณ 1 เมตร นิยมใช้กับงานเชื่อมที่มีความละเอียด มีทั้งที่เป็น เหล็ก อลูมิเนียม สแตนเลส (308L , 309L , 310L , 316L) ทองเหลือง และโลหะอื่นๆ มีขนาดตั้งแต่ 1.6 , 2.0 , 2.4 และ 3.2 มม.

ลวดเชื่อมเซาะร่อง หรือ ลวดเชื่อมเก๊าจ์ (Gouging Electrode)

5. ลวดเชื่อมเซาะร่อง หรือ ลวดเชื่อมเก๊าจ์ (Gouging Electrode)

เป็นลวดเชื่อมชนิดกลมแบบพิเศษ สำหรับงานเซาะร่องโลหะ ตัดโลหะ กำจัดเนื้อโลหะที่เชื่อมไม่ได้คุณภาพให้ออกจากชิ้นงาน และสามารถใช้ทำความสะอาดแนวเชื่อมสำหรับเตรียมชิ้นงานก่อนเชื่อม โดยใช้เครื่องเชื่อมไฟฟ้า

ลวดเชื่อมพิเศษ

ลวดเชื่อมพิเศษ

เป็นลวดเชื่อมที่แบ่งกลุ่มออกมาเพื่อใช้งานเฉพาะ เช่น ลวดเชื่อมทนแรงดึงสูง , ลวดเชื่อมพอกผิวแข็ง , ลวดเชื่อมอินโคเนล , ลวดเชื่อมไฟฟ้าอลูมิเนียม , ลวดเชื่อมนิกเกิลอัลลอยด์ , ลวดเชื่อมไฟฟ้าทองแดง และ ลวดเชื่อมประสาน เป็นต้น

ขั้นตอนที่ 3 แนะนำ “อุปกรณ์ป้องกัน” งานเชื่อมโลหะ

          มีเครื่องเชื่อม และลวดเชื่อมแล้ว เรายังต้องมีการรักษาความปลอดภัยในการทำงาน ซึ่งงานเชื่อมโลหะเราได้บอกกันข้างต้นแล้วว่าเป็นงานที่อัตรายสุดๆ ดังนั้นเราจงควรต้องมีการป้องกันที่ดี โดยมี 4 อุปกรณ์หลักๆที่ช่วยเรื่องการรักษาความปลอดภัยให้เรา มีดังนี้

หัวจับสายดิน (Ground Lamp)

มีลักษณะเป็นคีมจับ ใช้จับชิ้นงานมีหน้าที่นำกระแสไฟฟ้าจากชิ้นงานผ่านสายเชื่อมกลับเข้าเครื่องเชื่อม

หน้ากาก (Welding Helmet)

ทำมาจากไฟเบอร์ (Fiber) ใช้ป้องกันดวงตาและผิวหนัง หน้ากากที่ดีจะต้องมีเลนส์กรองแสง Infrared Ray และ Ultra Violet Ray ได้ตั้งแต่ 99.50 เปอร์เซ็นต์ขึ้นไป หน้ากากมีอยู่ 2 แบบคือ แบบสวมศีรษะ (Hear Shield) และแบบมือถือ (Hand Shield)

แปรงลวด ปัดผง

ค้อนเคาะ, แปรงลวด (Hammer and Brush)

เป็นเครื่องมือที่ใช้ทำความสะอาดรอยเชื่อม

ถุงมือป้องกันงานเชื่อม

ถุงมือหนัง (Gloves)

ใช้สำหรับป้องกันไฟฟ้าดูดและป้องกันความร้อนจากการเชื่อมไฟฟ้า

รวมสินค้าแนะนำ

- 27%
Original price was: ฿3,804.00.Current price is: ฿2,790.00.
- 29%
Original price was: ฿3,495.00.Current price is: ฿2,490.00.
- 13%
Original price was: ฿8.00.Current price is: ฿7.00.

เป็นยังไง กันบ้างคะ สำหรับ 3 ขั้นตอนการเลือกอุปกรณ์งานเชื่อม นอกจากเราจะได้ความรู้สำหรับการเลือกเครื่องเชื่อมแล้วเรามีอุปกรณ์ป้องกันความปลอดภัยมาแนะนำ กันด้วยนะคะ เพราะอย่าที่ว่า งานเชื่อมเป็นงานที่อัตรายมาก แล้วยังต้องเจอกับ สเก็ดไฟ ที่มีความร้อน เราควรป้องกัน ให้เราทำงานกันอย่างป้องภัยกันนะคะ

สำหรับท่านใดสนใจสินค้า สามารถเลือกซื้อกันได้ ในส่วนสินค้าแนะนำ หรือกดเลือกซื้อ ตรงรูปภาพได้นะคะ หรือถ้าหากต้องการติดต่อสอบถามเพิ่มสามารถสอบถามได้ ที่  facebook fanpage : “ WeHome วีโฮม เพื่อนบ้านที่เข้าใจคุณ ” เรามีแอดมินคล่อยให้คำปรึกษาค่ะ

และยังสามารถเลือกซื้อช่องทางอื่นๆ ได้ที่

📲1. ช้อปผ่าน LINE : @wehomeonline

📥2. ช้อบผ่าน Inbox Facebook Page : m.me/WeHomeOnline

🌍3. ช้อปผ่านเว็บไซต์ https://www.wehome.co.th ตลอด 24 ชม.

🛒4. ช้อปผ่าน LAZADA : https://www.lazada.co.th/shop/wehome-online

🛒5. ช้อปผ่าน Shopee : https://www.shopee.co.th/ wehomeonline

🛒6. ช้อปผ่าน JD CENTRAL : https://www.jd.co.th/shop/pc/27676.html

🛒7. ช้อปผ่าน NOC NOC  :

📞8. โทรหาเราสั่งของได้ 074-338-000

ขอขอบคุณ ข้อมูลดีๆ และภาพประกอบ จาก

5 ขั้นตอนติดตั้งบล็อกแก้ว ด้วยตนเอง

อาคารและวัสดุตกแต่งที่ทันสมัยในรูปแบบของบล็อกแก้วให้โอกาสเพียงพอสำหรับการตกแต่งภายใน การใช้ “อิฐแก้ว” เหล่านี้ทำให้คุณสามารถใช้โซลูชั่นที่ไม่คาดคิดที่สุดสำหรับการตกแต่งห้องได้ โครงสร้างดังกล่าวมีความสะดวกในการใช้งานมาก พวกมันส่งแสงได้อย่างสมบูรณ์แบบโดยมีลักษณะเป็นฉนวนความร้อนและเสียงที่มีอัตราสูง ในการติดตั้งผนัง หรือพาร์ติชั่นที่ทำจากบล็อกแก้ว คุณจะต้องคำนึงถึงคุณสมบัติบางประการของการทำงานกับวัสดุนี้

ขั้นตอนการติดตั้ง บล็อกแก้ว หรือ อิฐแก้ว

1. เตรียมอุปกรณ์ในการก่อบล็อกแก้ว หรือ อิฐแก้ว

เตรียมอุปกรณ์ ติดตั้งบล็อกแก้ว

อุปกรณ์ การก่อบล็อแก้ว หรือ อิฐแก้ว

2. เตรียมพื้นที่ติดตั้ง บล็อกแก้ว หรือ อิฐแก้ว

วิธีคำนวนจำนวนบล็อกแก้ว ที่ต้องติดตั้ง

1.1 คำนวน และเตรียมพื้นที่ติดตั้ง บล็อกแก้ว หรือ อิฐแก้ว

การกำหนดจุดเหล็กเสริม

1.2 การกำหนดจุดเหล็กเสริม

3. การเตรียมปูนซีเมนต์ผสมสำหรับก่อบล็อกแก้ว หรือ อิฐแก้ว

การเตรียมปูนซีเมนต์ผสมสำหรับการก่อบล็อกแก้ว

เตรียมผสมปูนซีเมนต์ อัตราส่วน 1:3:1

4. เริ่มก่อบล็อกแก้ว หรือ อิฐแก้ว

เริ่มต้นก่อบล็อกแก้วโดยก่อมุมก่อน

4.1 เริ่มต้นก่อบล็อกแก้วโดยก่อมุมก่อน

4.2 ก่อบล็อกแก้ว แถวแรก

ตรวจสอบระดับบล็อกแก้ว แนวราบ และแนวดิ่ง ใช้ระดับน้ำ

4.3 ตรวจสอบระดับบล็อกแก้ว แนวราบ และแนวดิ่ง โดยใช้ระดับน้ำ

ก่อบล็อกแก้วแถวถัดไป และวางเหล็กเสริม

4.4 ก่อบล็อกแก้วแถวถัดไป และวางเหล็กเสริม

5. เก็บงาน และแต่งร่องบล็อกแก้ว หรือ อิฐแก้ว

5.1 เก็บงานการก่อบล็อกแก้ว โดยใช้ฟองน้ำชุบน้ำหมาดๆ เช็ด ทำความสะอาดเศษปูน

5.2 แต่งร่องบล็อกแก้ว ด้วยยาแนว รอให้แห้ง แล้วเช็คด้วยผ้าชุมน้ำหมาดๆ

เป็นยังไงกันบ้างคะ กับ บทความ 5 ขั้นตอนติดตั้งบล็อกแก้ว ด้วยตนเอง สำหรับคนที่ไม่เคย ติดตั้งบล็อกแก้วมาก่อน ก็ สามารถนำเทคนิคนี้ไปใช้ได้ นะคะ ในการก่อบล็อกแก้ว ก็ ต้องคำนึงถึงความปลอดภัยด้วยเช่นกัน เราควรป้องกันด้วย 5 อุปกรณ์นิรภัยป้องกันความเสี่ยง บทความนี้ จะนำทุกท่านไปรู้จักกับอุปกรณ์นิรภัยกันคะ

วิธีเก็บบำรุงรักษาเครื่องมือช่างในบ้านของคุณ

บำรุงรักษาเครื่องมือช่าง
บำรุงรักษาเครื่องมือช่าง

ข้อแนะนำเกี่ยวกับ วิธีใช้ วิธีเก็บรักษา เครื่องมือช่าง เครื่องมือที่มีความจำเป็นต้องใช้ในงานซ่อมแซม หรือ งานช่างต่างๆ เครื่องมือแต่ละชิ้นถูกออกแบบมาให้เหมาะสมกับลักษณะของงานหนึ่งๆ การเลือกใช้เครื่องมือให้เหมาะสมถูกต้องและรู้จักบำรุงรักษเครื่องมืออย่างถูกวิธีจะช่วยให้เราปฏิบัติงานได้ผลดียิ่งขึ้นและเป็นการรักษาเครื่องมือช่างให้ใช้ได้ยาวนาน อีกด้วย

อุปกรณ์ช่าง เครื่องมือช่างพื้นฐาน มีกี่ประเภท มีอะไรบ้าง

อุปกรณ์ช่างมี 7 ประเภท ถือว่าเป็นเรื่องพื้นฐานทั่วไปที่ควรทราบ เพราะจะมีการบางประเภทต่างๆอย่างชัดเจนและเป็นความรู้ในการเลือกซื้ออุปกรณ์ในแต่ละกลุ่มงาน มีดังนี้

เครื่องมือช่างสำหรับงานเจาะ

1. เครื่องมือ ประเภทงานเจาะ

ได้แก่ สว่านมือ หรือ สว่านเฟือง สว่านไฟฟ้า ที่จะมีทั้งแบบเจาะไม้ เจาะปูน เป็น อุปกรณ์ช่าง อีกหนึ่งชนิดที่ถือว่าสารพัดประโยชน์เพราะ สามารถปรับใช้งานได้หลากหลายโดยจะมีทั้งตัวเครื่องสำหรับใช้เฉพาะงานเช่นสว่านเจาะกระแทกที่จะเหมาะกับงานปูนโดยเฉพาะหรือสว่านไฟฟ้าทั่วไปที่จะมีหัวเปลี่ยนสามารถใช้กับงานไม้หรืองานปูนได้

2. เครื่องมือ สำหรับขัน และ ไข

ได้แก่ ประแจ ไขควง เป็นเครื่องมือช่างในแบบพื้นฐานจริงๆที่สามารถใช้งานกับงานช่างได้หลายชนิดและเป็นอุปกรณ์ที่ควรมีติดบ้าน แต่ก็ยังแบ่งประเภทออกเป็นแต่ละชนิดงานอีก ยกตัวอย่างเช่นไขควงธรรมดาไขควงช่างไฟเป็นต้น

เครื่องมือช่างสำหรับ ขัน ไข
เครื่องมือช่างสำหรับตอก

3. เครื่องมือ สำหรับตอก

ได้แก่ ค้อน  ก็ถือเป็น  อุปกรณ์ช่าง พื้นฐานซึ่งจะอยู่หลายขนาดและหลายชนิดเช่นค้อนธรรมดาสำหรับตอก ค้อนหงอนที่จะมีส่วนสำหรับงัดตะปู หรือค้อนปอนด์ขนาดใหญ่มีน้ำหนักเยอะสำหรับงานทุบเป็นต้น

4. เครื่องมือ ประเภทงาน ไสตกแต่ง

กบไสไม้ กบล้างสั้น สำหรับอุปกรณ์กลุ่มนี้จะเป็นอุปกรณ์เฉพาะสำหรับงานไม้ไม่ว่าจะเป็นงานไม้สำหรับก่อสร้าง หรืองานเฟอร์นิเจอร์ต่างๆซึ่งจะมีทั้งแบบใช้แรงมือและใช้ไฟฟ้า เป็นต้น

เครื่องมือช่างสำหรับ ไสตกแต่ง

5. เครื่องมือ สำหรับ งานตัดและผ่า

มีด เลื่อย สำหรับ กลุ่มนี้ก็จะแบ่งเป็นงานไม้และงานเหล็กเป็นหลักซึ่งก็จะมีทั้งเรื่อยมือที่จะแยกย่อยออกไปเป็นหลายชนิดเช่นเลื่อยสำหรับไม้เลื่อยสำหรับเหล็กหรือใช้เลื่อยไฟฟ้าแต่โดยส่วนใหญ่แล้วจะเน้นไปที่งานไม้เป็นหลักส่วนมีดสำหรับกลุ่มงานช่างนั้นก็จะมีมีดที่ไว้สำหรับเป็นอุปกรณ์เสริมในบางงาน เช่นงานตกแต่งเฟอร์นิเจอร์เป็นต้น

6. เครื่องมือ สำหรับงานวัด

ได้แก่ ตลับเมตร ไม้บรรทัด เวอร์เนีย เป็นอีกหนึ่งกลุ่มของอุปกรณ์สำหรับช่าง ที่ส่วนใหญ่จะนิยมใช้งานกันทั่วไปจะเป็นอุปกรณ์ ที่ไว้สำหรับวัดความกว้าง ความยาว ความสูงหรือของงานต่างๆ แต่ถ้าเป็นสำหรับงานก่อสร้างก็จะมีอุปกรณ์การวัดเฉพาะเช่น ไม้วัดระดับน้ำหรือ ลูกดิ่งไว้วัดระดับ เป็นต้น

เครื่องมือช่างสำหรับงานวัด

7. เครื่องมือ ประเภทงาน จับยึด

คีม ก็จัดเป็นอุปกรณ์พื้นฐานเช่นเดียวกันและยังแบ่งออกเป็นแต่ละชนิดงานไม่ว่าประเภทงานจับยึดหรือครีมสำหรับตัดครีมสำหรับล็อคและยังแบ่งออกเป็นขนาดต่างๆตามประเภทการใช้งาน เป็นต้น

เครื่องมือช่างสำหรับงานเจาะ

1. เครื่องมือ ประเภทงานเจาะ

ได้แก่ สว่านมือ หรือ สว่านเฟือง สว่านไฟฟ้า ที่จะมีทั้งแบบเจาะไม้ เจาะปูน เป็น อุปกรณ์ช่าง อีกหนึ่งชนิดที่ถือว่าสารพัดประโยชน์เพราะ สามารถปรับใช้งานได้หลากหลายโดยจะมีทั้งตัวเครื่องสำหรับใช้เฉพาะงานเช่นสว่านเจาะกระแทกที่จะเหมาะกับงานปูนโดยเฉพาะหรือสว่านไฟฟ้าทั่วไปที่จะมีหัวเปลี่ยนสามารถใช้กับงานไม้หรืองานปูนได้

เครื่องมือช่างสำหรับ ขัน ไข

2. เครื่องมือ สำหรับขัน และ ไข

ได้แก่ ประแจ ไขควง เป็นเครื่องมือช่างในแบบพื้นฐานจริงๆที่สามารถใช้งานกับงานช่างได้หลายชนิดและเป็นอุปกรณ์ที่ควรมีติดบ้าน แต่ก็ยังแบ่งประเภทออกเป็นแต่ละชนิดงานอีก ยกตัวอย่างเช่นไขควงธรรมดาไขควงช่างไฟเป็นต้น

เครื่องมือช่างสำหรับตอก

3. เครื่องมือ สำหรับตอก

ได้แก่ ค้อน  ก็ถือเป็น  อุปกรณ์ช่าง พื้นฐานซึ่งจะอยู่หลายขนาดและหลายชนิดเช่นค้อนธรรมดาสำหรับตอก ค้อนหงอนที่จะมีส่วนสำหรับงัดตะปู หรือค้อนปอนด์ขนาดใหญ่มีน้ำหนักเยอะสำหรับงานทุบเป็นต้น

เครื่องมือช่างสำหรับ ไสตกแต่ง

4. เครื่องมือ ประเภทงาน ไสตกแต่ง

ได้แก่ กบไสไม้ กบล้างสั้น สำหรับอุปกรณ์กลุ่มนี้จะเป็นอุปกรณ์เฉพาะสำหรับงานไม้ไม่ว่าจะเป็นงานไม้สำหรับก่อสร้าง หรืองานเฟอร์นิเจอร์ต่างๆซึ่งจะมีทั้งแบบใช้แรงมือและใช้ไฟฟ้า เป็นต้น

5. เครื่องมือ สำหรับ งานตัดและผ่า

ได้แก่ มีด เลื่อย สำหรับ กลุ่มนี้ก็จะแบ่งเป็นงานไม้และงานเหล็กเป็นหลักซึ่งก็จะมีทั้งเรื่อยมือที่จะแยกย่อยออกไปเป็นหลายชนิดเช่นเลื่อยสำหรับไม้เลื่อยสำหรับเหล็กหรือใช้เลื่อยไฟฟ้าแต่โดยส่วนใหญ่แล้วจะเน้นไปที่งานไม้เป็นหลักส่วนมีดสำหรับกลุ่มงานช่างนั้นก็จะมีมีดที่ไว้สำหรับเป็นอุปกรณ์เสริมในบางงาน เช่นงานตกแต่งเฟอร์นิเจอร์เป็นต้น

เครื่องมือช่างสำหรับงานวัด

6. เครื่องมือ สำหรับงานวัด

ได้แก่ ตลับเมตร ไม้บรรทัด เวอร์เนีย เป็นอีกหนึ่งกลุ่มของอุปกรณ์สำหรับช่าง ที่ส่วนใหญ่จะนิยมใช้งานกันทั่วไปจะเป็นอุปกรณ์ ที่ไว้สำหรับวัดความกว้าง ความยาว ความสูงหรือของงานต่างๆ แต่ถ้าเป็นสำหรับงานก่อสร้างก็จะมีอุปกรณ์การวัดเฉพาะเช่น ไม้วัดระดับน้ำหรือ ลูกดิ่งไว้วัดระดับ เป็นต้น

7. เครื่องมือ ประเภทงาน จับยึด

คีม ก็จัดเป็นอุปกรณ์พื้นฐานเช่นเดียวกันและยังแบ่งออกเป็นแต่ละชนิดงานไม่ว่าประเภทงานจับยึดหรือครีมสำหรับตัดครีมสำหรับล็อคและยังแบ่งออกเป็นขนาดต่างๆตามประเภทการใช้งาน เป็นต้น

วิธีเก็บบำรุงรักษาเครื่องมือในแต่ละประเภท มีอะไรบ้าง

1. เครื่องมือ ประเภทงานเจาะ ได้แก่ สว่านมือ หรือ สว่านเฟือง สว่านไฟฟ้า

การจัดเก็บ และบำรุงรักษา
1.1 เมื่อใช้งานสว่านเสร็จแล้ว ควรมีการทำความสะอาดทุกครั้ง โดยเฉพาะในส่วนที่เป็นซอกที่อาจมีเศษผงจากการเจาะเข้ามาติดในมอเตอร์ ซึ่งอาจทำให้สว่านพังหรือเกิดความเสียหายได้
1.2 ตรวจสอบตรวจซ่อมสว่านว่ายังคงมีสภาพการใช้งานได้ปกติ ควรตรวจเช็คประสิทธิภาพแบตเตอรี่ เพื่อประสิทธิภาพในการใช้งานในครั้งต่อๆไป
1.3 หลังจากใช้งานสว่านเสร็จ ควรถอดดอกสว่านออกทุกครั้ง และในส่วนที่เป็นโลหะควรเช็ดด้วยน้ำมันเพื่อป้องกันการขึ้นสนิม
1.4 เก็บสว่านและอุปกรณ์ต่างๆ ให้ถูกที่ และไม่ควรเก็บไว้ในที่ชื้น ควรเก็บไว้ในที่เเห้ง
1.5 ใช้งานแล้วควรชาร์จไฟให้เต็ม เพื่อการใช้งานในครั้งถัดไป

2. เครื่องมือ สำหรับขัน และ ไข ได้แก่ ประแจ ไขควง

การจัดเก็บ และบำรุงรักษา
2.1 ไม่ใช้ประแจตอกหรือตีแทนค้อน
2.2 ทำความสะอาดหลังเลิกใช้งาน
2.3 หลีกเลี่ยงการใช้ประแจที่มีขนาดใหญ่กว่าสกรูหรือนอต
2.4 ใช้ไขควงให้เหมาะสมกับกับลักษณะงานและร่องของนอตสกรู
2.5 หลังใช้งานเช็ดทำความสะอาด แล้วเก็บใส่กล่องเครื่องมือ

3. เครื่องมือ สำหรับตอก ได้แก่ ค้อน ไขควกตอกไม้

การจัดเก็บ และบำรุงรักษา
3.1 เลือกชนิดของค้อนให้เหมาะกับงาน
3.2 เมื่อใช้งานเสร็จควรเช็ดทำความสะอาด แล้วทาน้ำมันที่หัวค้อนเพื่อป้องกันสนิม

4. เครื่องมือ ประเภทงาน ไสตกแต่ง ได้แก่ กบไสไม้ กบล้างสั้น และกบไฟฟ้า

การจัดเก็บ และบำรุงรักษา
4.1 ตรวจดูความเรียบร้อยของใบกบก่อนเก็บเข้าที่
4.2 ทำความสะอาดตัวกบโดยใช้แปรงปัดเศษไม้ออก
4.3 ชโลมน้ำมันใบกบก่อนเก็บเข้าที่เก็บ
4.4 ทำความสะอาดตะไบโดยใช้แปรงทองเหลืองปัดเศษโลหะออก
4.5 ไม่ควรวางตะไบทับกันเพราะจะทำให้คมตะไบสึกหรอได้ง่าย
4.6 กบขูดหรือกบแต่ง ใช้แต่งไม้โค้งเพื่อผิวเรียบซึ่งกบธรรมดาไม่อาจแต่งได้

5. เครื่องมือ สำหรับ งานตัดและผ่า ได้แก่ มีด เลื่อย

การจัดเก็บ และบำรุงรักษา
5.1 หลังจากการใช้งานให้คลายใบเลื่อยออกเล็กน้อย เพื่อยืดอายุใบเลื่อยให้ใช้งานได้ยาวนานขึ้น
5.2 ใช้แปรงปัดทำความสะอาดทุกส่วน ทาด้วยน้ำมัน แล้วเก็บไว้ในที่เก็บหลังการใช้งาน

6. เครื่องมือ สำหรับงานวัด ได้แก่ ตลับเมตร ไม้บรรทัด เวอร์เนีย

การจัดเก็บ และบำรุงรักษา
6.1 ระวังรักษาขอเกี่ยวปลายเทปไม่ให้หัก
6.2 เมื่อจะปล่อยเส้นเทปกลับมี่เดิมต้องค่อยๆผ่อน ถ้าปล่อยให้กลับเร็วเกินไปปลายของเกี่ยวอาจชำรุดเสียหายได้
6.3 ทำความสะอาดหลังเลิกใช้งานแล้วเก็บให้เป็นระเบียบ

7. เครื่องมือ ประเภทงาน จับยึด ได้แก่ ได้แก่ คีม

การจัดเก็บ และบำรุงรักษา
7.1 ใช้คีมให้ถูกประเภทกับงาน
7.2 ไม่ควรบีบคีมแรงเกินไปเพราะจะทำให้คีมหัก
7.3 ไม่ควรใช้ค้อนทุบคีมแทนการตัด
7.4 ไม่ใช้คีมแทนค้อนหรือเครื่องมืออื่นๆ
7.5 เช็ดทำความสะอาด หยดน้ำมันที่จุดหมุน แล้วชโลมน้ำมันหลังการใช้งาน

สินค้าแนะนำ

- 25%
Original price was: ฿1,191.00.Current price is: ฿890.00.
- 13%
สินค้าหมดแล้ว