Tag Archives: กิ๊บล็อก

เสริมความปลอดภัยด้วยการล้อมรั้วลวดหนาม

การล้อมรั้วลวดหนาม เป็นรั้วอีกประเภทที่หลายท่านให้ความสนใจ และคุ้นเคยกัน โดยได้นำรั้วลวดหนามมากั้น และกำหนดขอบเขตของบ้าน ที่ดินว่าง สวนต้นไม้ หรือ สิ่งปลูกสร้างปุเภทต่างๆ เพื่อให้มีการแบ่งพื้นที่เป็นสันส่วนได้อย่างชัดเจน และป้องกันการบุกรุกจากบุคคลอื่น โดยแอดจะมาพูดถึง ลักษณะ ขนาด และ ประโยชน์ของลวดหนาม เพื่อไว้เป็นแนวทางในการตัดสินใจในการเลือกซื้ออุปกรณ์วัสดุต่าง ๆ

รายการ

ลักษณะของหนาม

ลวดหนามในปัจจุบัน มีรูปแบบการพันหนามอยู่ 2 แบบ ได้แก่

การพันเกลียวหนามแบบธรรมดา (Conventional)

เป็นการพันเกลียวลวดหนามแบบเก่า มีโอกาสที่หนามจะหลุด หรือเกลียวหนามอาจคลายได้ในส่วนของตัวเส้นลวดจะมีการพันเกลียวแบบหลวมๆ ไม่แน่น มีโอกาสที่ติดตั้งแล้วจะทำให้ลวดหนามหย่อนในอนาคต

การพันเกลียวหนามแบบไขว้สลับ (Reversed Twist)

เป็นนวัตกรรมแบบใหม่ ที่มีการพันเกลียวนามแบบไขว้สลับ ตัวหนามจะแน่นเป็นพิเศษ แข็งแรงไม่มีหลุด ที่สำคัญเส้นลวดจะมีการพันสลับที่แน่นกว่าแบบเดิม หรือแบบพันเกลียวปกติ ทำให้เพิ่มความแข็งแรงของลวดหนามที่พันเกลียวด้วยลักษณะนี้ ปัจจุบันในประเทศไทยเริ่มมีลวดหนามซิงค์อลูฯ ไวน์แมนก็มีการพันเกลียวหนามแบบไขว้สลับ ทำให้ขึงตึง ไม่หย่อน

ขนาดเบอร์ของลวดหนาม

ลวดหนามเบอร์ที่นิยมใช้ แต่ละเบอร์มีขนาดต่างกัน เบอร์ลวดหนามที่ใช้กันแพร่หลายมาจากมาตรฐาน SWG (Standard Wire Gauge) เป็นมาตรฐานของ British Standard Wire Gauge (BS3737 : 1964) ที่ใช้ในแบบสากล รวมถึงประเทศไทยก็ใช้มาตรฐานนี้ ในปัจจุบันนิยมใช้ลวดหนามเบอร์ 13 เบอร์ 14 และ เบอร์ 15

ตารางเทียบเบอร์ลวดหนามเป็นมิลลิเมตร ตามมาตรฐาน SWG

ประโยชน์ของการใช้ลวดหนาม

การนำวัสดุที่ทำจากลวดหนาม หรือเหล็ก มาใช้ในการล้อมรั้ว มีประโยชน์ ดังนี้

  1. ป้องกันการบุกรุกการล้อมรั้วด้วยลวดหนาม จะช่วยทำให้คุณสามารถป้องกันการบุกรุกพื้นที่บ้าน และส่วนต่าง ๆ ภายในที่ดินจากบุคคลภายนอก เพื่อป้องกันอันตรายและป้องกันการโจรกรรมภายในบ้าน นี่จึงเป็นข้อดีอย่างยิ่งที่หลายคนเลือกการล้อมรั้วลวดหนาม
  2. สร้างความสวยงามภายในบ้าน บางครั้งอาจมีการล้อมรั้วลวดหนาม เพื่อตกแต่งบ้าน หรือพื้นที่ภายนอกที่เหลือต่อการใช้ประโยชน์ต่าง ๆ โดยการล้อมรั้ว และปลูกต้นไม้ เพื่อประดับตกแต่งบ้านให้มีความสวยงามจากธรรมชาติ
  3. กำหนดขอบเขตบริเวณแบบชัดเจน เหตุผลหลักของการล้อมรั้วลวดหนามนั้น เพื่อกำหนดขอบเขตที่ชัดเจน สำหรับขอบเขตบริเวณบ้าน และที่ดิน เพื่อป้องกันการรุกล้ำในพื้นที่ส่วนตัวจากเพื่อนบ้าน หรือการทำประโยชน์จากผู้อื่นที่ไม่ใช่เจ้าของที่ดิน
  4. ราคาถูก แข็งแรงทนทานอีกหนึ่งเหตุผลที่หลายคนเลือกใช้รั้วลวดหนามเป็นตัวช่วยในการล้อมรั้ว เพราะวัสดุชนิดนี้มีราคาถูกมาก สามารถซื้อได้ในจำนวนที่มาก แถมยังมีประสิทธิภาพในความแข็งแรง ทนทาน ต่อสภาพอากาศ และใช้งานได้เป็นอย่างดี

การเคลือบสารกันสนิม หรือ การชุบซิงค์ของลวดหนามในปัจจุบันหลัก ๆ มีการเคลือบอยู่ ดังนี้

การชุบซิงค์แบบไฟฟ้า (Electro Galvanized)

กระบวนการผ่านกระแสไฟฟ้าเข้าไปในสารละลายเกลือของโลหะ (Metallic Salts) แล้วทำให้อิออนบวกวิ่งมารับประจุไฟฟ้าลบที่ชิ้นงาน ซึ่งทำหน้าที่เป็นขั้วลบ (Cathode) จึงทำให้เกิดเป็นชั้นผิวบางของโลหะมาเคลือบอยู่บนผิวด้านนอกของชิ้นงานการชุบซิงค์ จัดอยู่ในประเภทการชุบโลหะด้วยไฟฟ้า เป็นกระบวนการที่นิยมใช้กันมาก เนื่องจากสามารถนำโลหะ และอโลหะหลายชนิดมาทำการเคลือบผิว ในขณะเดียวกันก็สามารถเลือกโลหะที่จะนำมาเคลือบผิวได้หลากหลายชนิดด้วย ซึ่งการเคลือบในลักษณะนี้จะมีผิวเคลือบซิงค์ที่ค่อนข้างบางมาก ทำให้อายุการใช้งานของการชุบแบบนี้ อยู่ได้ไม่นานมากนัก อายุเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 6-12 เดือน

การชุบซิงค์อลูมิเนียม (ZnAl)

เป็นการป้องกันสนิมที่มีส่วนผสมของซิงค์และอลูมิเนียม (ZnAl) ทั้งนี้จะมีการระบุสัดส่วนและปริมาณอลูมิเนียมที่ผสม ปัจจุบันเทคโนโลยีที่ทันสมัยมากที่สุดคือ ซิงค์อลู 10% (ZnAl 10%) เพื่อเพิ่มความทนทานต่อการกัดกร่อน และเพิ่มอายุการใช้งานของเส้นลวด ทำให้ลวดหนามซิงค์อลูมีอายุการใช้งานยาวนานมากถึง 80 ปี*

การชุบซิงค์แบบจุ่มร้อน (Hot-Dipped Galvanized)

โดยปัจจุบันกระบวนการเคลือบสารกันสนิมหรือการชุบซิงค์ได้ถูกนำมาใช้ในวงการอุตสาหกรรมก่อสร้าง หรืออุตสาหกรรมชิ้นส่วนอุปกรณ์ไฟฟ้า การชุบซิงค์มีแบบจุ่มร้อน (Hot-Dipped Galvanized) ซึ่งปกติลวดหนามที่มีจำหน่ายในเมืองไทย ส่วนมากแล้วชุบซิงค์แบบจุ่มร้อน แต่จะชุบเพียงแค่ 20- 50 กรัมเพียงเท่านั้น ซึ่งเฉลี่ยแล้วสามารถทนสนิมได้นานแค่ 1-2 ปีเท่านั้น เนื่องจากเป็นปริมาณที่น้อยเกินไป ทำให้ปัจจุบันมีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง จนมีกระบวนการชุบซิงค์แบบจุ่มร้อนหนาพิเศษ

ในต่างประเทศได้เริ่มใช้ลวดหนามชุบซิงค์แบบจุ่มร้อนมานานหลายปีแล้ว การเคลือบสารป้องกันสนิมหรือชุบซิงค์แบบจุ่มร้อนหนาพิเศษนั้น จะมีการชุบซิงค์แบบจุ่มร้อนเฉลี่ย 235-250 กรัม/ตารางเมตร ในส่วนประเทศไทยนั้นเริ่มมีลวดหนามชุบซิงค์แบบจุ่มร้อนหนาพิเศษเพื่อเพิ่มอายุการใช้งานแล้วเช่นกัน อย่างแบรนด์ลวดหนามเทวดาที่มีจำหน่ายอยู่ ลวดหนามที่มีการชุบซิงค์แบบจุ่มร้อนหนาพิเศษทำให้มีอายุการใช้งานมากว่าลวดหนามทั่วไปในท้องตลาด เฉลี่ยอยู่ที่ 30 – 50 ปี

วิธีติดตั้งลวดหนาม

           สำหรับวิธีการสร้างรั้วลวดหนามนั้น เป็นวิธีที่สามารถทำได้ด้วยตนเอง เพราะมีขั้นตอนในการล้อมรั้วที่ไม่ซับซ้อน และไม่ต้องใช้ทักษะในด้านงานช่างสักเท่าไหร่นัก แต่หากคุณต้องการให้งานออกมาดี และมีประสิทธิภาพมากที่สุด ก็ควรจ้างช่างผู้รับเหมา เพื่อเข้ามาช่วยในการทำรั้วเหล่านี้

          วิธีการเลือกความสูงของเสา โดยจะมีขนาด 1 เมตร ไปจนถึง 3 เมตร ตามภาพเลยค่ะ โดยเสารั่ว รูจะห่าง 2 ซม

สำหรับอุปกรณ์ในการติดตั้ง ได้แก่

1. เสารั้ว ความสูงที่ต้องการ
2. คีมผูกลวด
3. ลวดผูกสำหรับยึดเสาค้ำ
4. สายวัด
5. ค้อน ไว้สำหรับตอกตัวกิ๊บล็อคลวดหนาม
6. กิ๊บล็อคลวดหนมาม
7. สายรัด ไว้ใช้สำหรับดึงลวดหนามให้ตรึง
8. ลวดหนามขนาดที่ลูกค้าต้องการ
9. ชะแลง ถ้าเกิดไม่มีชะแลงสามารถใช้จอบ และเสียมได้
10. เครื่องเจาะดิน (เป็นอุปรณ์ที่ทำให้สะดวกและเร็วกว่าการขุดเอง)

วิธีการติดตั้ง ลวดหนาม

1. ให้เราว่างเสาโดยกะระยะของแต่ละหลุมก่อนว่าเราจะวางห่างกันกี่เมตร
*แนะนำให้ว่างห่างกันตามความสูงของเสา เช่น เสาสูง 2 เมตร เราควรเจาหลุมอยู่ที่ 2 เมตร – 3 เมตร
* ถ้ากิดหางมากกว่านั้น ลวดหนามอาจจะหยุ่นได้แล้วเสาอาจจะล้มได้ค่

2. ให้เราขุดหลุม โดยใช้เครื่องเจาะดิน เพื่อความสำสะดวกและรวดเร็วเราควรเจาะลึกประมาณ 30-50 ซม. นะคะ และสำหรับพื้นไหนที่แห้งมากเราอาจจะใช้วิธีการเท่น้ำลงไปก่อน เพื่อให้ดินอ่อนตัวก่อนแล้วทำการเจาะอีกครั้งนะคะ หลังจากเราเจาะหลุมครบทุกต้นตามจำนวนที่เราต้องการแล้ว

3. ให้เราหย่อนเสาลงในหลุมให้ครบทุกหลุม ที่เราเจาะไว้ ถ้าเกิดหน้างานไหนดินแข็งอยู่แล้วไม่ใช้ที่ดินอุ้มน้ำตลอดเราใช้แค่ดินถมได้เลยค่ะไม่จำเป็นต้องเท่ปูนลงไปในหลุด
*หากพื้นที่ที่เป็นที่อุ้มน้ำแนะนำให้เท่ปูนลงหลุมเสาค้ำ และตรงหัวมุมค่ะเพื่อเพิ่มความมั่นคงให้กับเสามากขึ้นค่ะ เพราะตรงนี้จะรับน้ำหนักเยอะมากค่ะ

4. ส่วนของเสาค้ำเราจะใช้ 10 % จากจำนวนของเสารั้วทั้งหมด เช่น เราใช้เสา 100 ต้น ก็จะค้ำอยู่ 10 ต้นนะคะ โดยจะค้ำ ทุกๆ 10-15 ต้นค่ะ และจะเริ่มค้ำตั้งแต่ต้นแรกเลยค่ะ เสาค้ำจะช่วยเสริมให้ด้านความแข็งแรงของเสาที่รับน้ำหนักนะคะ โดยเราจะต้องค้ำทุกๆ 10-15 ต้น
** เสาคำเราจะใช้เสาแบบเดียวกันกับเสารั้วก็ได้ค่ะ โดยเสค้ำเราจะใช้ลวดสอดเข้าไปตรงรูสุดท้ายของเสาและก็ ม้วนลงมากว่าตรงเสาที่เราต้องการจะค้ำเลยค่ะ

5. ลำดับต่อไปเป็นวิธีการ ขึงลวดหนามโดยที่เราจะขึงลวดหนามให้ตรงตำแหน่งที่เราจะขึงลวดหนามก่อน หลังจากนั้นเราจะนำสายลัดพันกับลวดหนามเพื่อที่จะดึงลวดหนามให้ตรึง

6. จากนั้นให้เรานำกิ๊บล็อกสอดเข้าไปในรูเพื่อยึดลวดหนามเข้ากับเสารั่ว และจะใช้ค้อนช่วยตอกเข้าไปให้ทะลุอีกฝั่งและเราใช้คีมหรือค้อนเมือนเดิมในการพับกิ๊บอีกฝั่ง

- 13%
Original price was: ฿795.00.Current price is: ฿690.00.
- 13%
- 14%
- 15%
- 9%

          วิธีนี้เป็นวิธียอดนิยมอาจจะใช้การติดตั้งนานหน่อยแต่จะทำให้ลวดหนามยึดติดกับรั้วเรานานมากๆเลยค่ะ และเราก็ทำแบบเดิมไปเลื่อยๆจนเสร็จสิ้นการป้องการพื้นที่ของเราให้มีความปลอดภัยค่ะ

          เป็นยังไงกันบ้างค่ะ สำหรับ บทความ เสริมความปลอดภัยด้วยการล้อมรั้วลวดหนาม ค่ะ แอดหวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ให้กับหลายๆ ท่านกันนะคะ

ขอขอบคุณบทความดีๆจาก

https://vinemanfence.com/what-is-barbed-wire-fence/

https://www.kacha.co.th/articles/รั้วลวดหนาม-คืออะไร-ข้อ/

Select the fields to be shown. Others will be hidden. Drag and drop to rearrange the order.
  • Image
  • SKU
  • Rating
  • Price
  • Stock
  • Description
  • กำลังไฟฟ้า (วัตต์)
  • ขนาด
  • ความหนา
  • จำนวนช่อง
  • จำนวนชั้น
  • ชนิดฟิล์ม
  • การติดตั้ง
  • ทิศทาง
  • จำนวนที่นั่ง
  • น้ำหนัก (Kg)
  • ประเภทสินค้า
  • มาตรฐานการป้องกัน
  • ยาว
  • ยี่ห้อ
  • ระบบเปิด-ปิด
  • ระยะที่วัดได้
  • รูปทรง
  • ลักษณะบาน
  • วัสดุ
  • วัสดุหลัก
  • สี
  • หนา
  • เบอร์
  • แสงไฟ
  • Add to cart
  • Additional information
Click outside to hide the comparison bar
เปรียบเทียบ