Tag Archives: วัสดุกันซึมแบบแผ่น

เปรียบเทียบ เคมีภัณฑ์กันซึม อะคริลิค VS โพลียูรีเทน

          ดาดฟ้าเป็นพื้นที่โล่งกว้างชั้นบนสุดของตึกอาคารสูง เป็นพื้นที่ใช้ทำกิจกรรมอื่น ๆ ได้ เป็นจุดชมวิว พื้นที่โล่งสำหรับปลูกผักพื้นที่เล็ก ๆ ใช้พื้นที่ทำสระว่ายน้ำ ดาดฟ้าไม่มีหลังคาปกคลุม ดาดฟ้าจึงเป็นพื้นที่ที่ต้องเผชิญกับฝนตกน้ำขัง น้ำรั่ว หากฝนตกมากเกินไปอาจเกิดภาวะระบายน้ำไม่ทัน เผชิญกับแดดแรง อาจทำให้คอนกรีตเสื่อมสภาพเร็ว เปื่อยผุแตกร้าวได้ง่าย ยิ่งเผชิญฝนแดดพายุนานหลายๆปี โดยไม่มีการดูแลรักษาจะส่งผลต่อโครงสร้างตึกได้ หากระบบกันซึมไม่มีประสิทธิภาพ หรือทำการปกป้องไม่ดีตั้งแต่เริ่มก่อสร้าง จะทำให้น้ำฝนซึมลงในรอยร้าวเกาะกับเหล็กโครงสร้างภายใน ทำให้เหล็กมีสนิม และตันในที่สุด สร้างความเสียหายให้กับโครงสร้าง และมีความเสี่ยงอันตรายต่อผู้อาศัยได้

          ดาดฟ้าจึงควรได้รับการปกป้องมากที่สุด วิธีติดตั้งกันซึมดาดฟ้าไมใช่เรื่องยาก มาดูกันว่าวิธีไหนเหมาะกับดาดฟ้าแบบใดบ้าง มีคุณสมบัติใดบ้าง ใช้ประโยชน์ได้อย่างไรบ้าง

อะคริลิคกันซึม

          อะคริลิคกันซึม เป็นน้ำยากันซึมที่มีประสิทธิภาพใกล้เคียงกับ โพลียูรีเทนกันซึม แม้ว่าจะไม่ดีเยี่ยมเท่ากัน แต่คุณสมบัติด้านเสริมความแข็งแกร่งเหนือกว่า เพราะอะคริลิคกันซึมช่วยป้องกันการแตกร้าวได้ดีกว่ากันซึมพียู แต่ต้องใช้งานร่วมกับเส้นใยประเภท Fiberglass และ Polyester Mat เส้นใยทั้งสองมีลักษณะคล้ายกัน กล่าวคือ เส้นใยไฟเบอร์กลาสหากส่องด้วยตัวช่วยอย่างกล้องจุลทรรศน์จะเห็นเส้นใยแก้ว มีส่วนประกอบของทรายแก้ว หินปูน หินฟันม้า ถักทอกันเป็นเส้นใยเชื่อมกันอย่างหนาแน่น ส่วนเส้นใยโพลีเอสเตอร์ เป็นเส้นใยที่เกิดจากการทำปฏิกิริยาทางเคมี ทำให้มีความคงทนเหนียวแน่นและทนความร้อนได้ดีเยี่ยม เมื่อนำเส้นใยทั้งสองทำงานร่วมกับอะคริลิคกันซึม เช่น ทาเคลือบดาดฟ้า, ปูบนดาดฟ้า จะยิ่งทำให้อะคริลิคกันซึมมีความทนทานต่อความร้อน ป้องกันการเกิดรอยแตกได้ดี

โพลียูรีเทนกันซึม

          โพลียูรีเทนกันซึม หรือเรียกว่า กันซึมพียู (PU Waterproof) เป็นวัสดุกันซึมชนิดโพลียูรีเทนสูตรน้ำ สำเร็จรูป พร้อมใช้งาน แบบส่วนผสมเดียว เหมาะที่สุดสำหรับใช้เคลือบผิวคอนกรีตบนดาดฟ้า ทากันน้ำรั่วซึม ทำหน้าที่เสมือนเกราะป้องกันความร้อน ป้องกันน้ำรั่วซึมไม่ให้ไหลซึมลงผิวคอนกรีต ทั้งนี้ยังมีความยืดหยุ่นตัวสูง 800 เปอร์เซ็นต์ ไร้รอยต่อ กันน้ำรั่วซึม 100 เปอร์เซ็นต์ ไม่ว่าโครงสร้างอาคารจะสั่นสะเทือน หรือเจอแดดร้อนมากแค่ไหนก็ไม่หวั่น ช่วยปกปิดรอยแตกร้าว ของคอนกรีต ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิได้ดี สามารถทนต่อแสงแดด ทนต่อสภาพอากาศที่รุนแรง ไม่มีส่วนประกอบของสารระเหยอันตราย หรือสารที่ติดไฟได้ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โพลียูรีเทนจะยืดขยายตัวออกเพื่อปกปิดรอยร้าว ไม่ให้น้ำไหลผ่านรอยร้าวนั้นได้

รู้หรือไม่!!  วัสดุกันซึมมีให้เลือกใช้หลายแบบ โดยแบ่งเป็น 3 รูปแบบ คือ 1 วัสดุกันซึมแบบผสมในคอนกรีต 2. เคมีภัณฑ์กันซึมหรือแบบทา 3. วัสดุกันซึมแบบแผ่นหรือเมมเบรน 

ข้อดี – ข้อเสีย อะคริลิคกันซึม VS โพลียูรีเทนกันซึม

รู้หรือไม่!!  วัสดุกันซึมมีให้เลือกใช้หลายแบบ โดยแบ่งเป็น 3 รูปแบบ คือ 1 วัสดุกันซึมแบบผสมในคอนกรีต 2. เคมีภัณฑ์กันซึมหรือแบบทา 3. วัสดุกันซึมแบบแผ่นหรือเมมเบรน 

ประเภท

ข้อดี

ข้อเสีย

– เนื้อวัสดุมีความยืดหยุ่น ไม่หดตัวเมื่อทาเสร็จแล้ว
– ช่วยป้องกันนำซึมผ่านมากกว่าป้องกันน้ำกักขัง
– สะท้อนความร้อนจากแสงแดดได้
-มีให้เลือกหลายสี ช่วนให้ตกแต่งหน้างานได้สวยงาม

 

– ไม่เหมาะสำหรับทาปิดรอยแตกที่ลึกเกิน 2 มม. แนะนำให้ใช้ตาข่ายไฟเบอรเพื่อยึดเกาะรอยแตกแล้วทาอะคริลิคทับอีกที จะช่วยยึดเกาะรอยต่างๆ ให้สนิทขึ้น
– ไม่ทนต่อบริเวณที่เกิดการขังน้ำมีโอกาสเกิดการรั่วซึมได้

– มีความยืดหยุ่นสูง สามารถปกปิดรอยแตกร้าวได้ดี และไม่หดตัว
– ทนทานต่อแรงขีดข่วน
– ทนทานต่อการเปลี่ยนแปลงของอุณภูมิ และรังสี UV
– ช่วยหชป้องกันได้ทั้งน้ำไหลซึม และน้ำขังได้ดี

– เนื้อวัสดุมีความเหนียวตัวกว่าแบบอะคริลิค จะใช้งานทาทับยากกว่า
-มีราคาสูงกว่าแบบอะคริลิค

 

 

ประเภท

ข้อดี

– เนื้อวัสดุมีความยืดหยุ่น ไม่หดตัวเมื่อทาเสร็จแล้ว
– ช่วยป้องกันนำซึมผ่านมากกว่าป้องกันน้ำกักขัง
– สะท้อนความร้อนจากแสงแดดได้
-มีให้เลือกหลายสี ช่วนให้ตกแต่งหน้างานได้สวยงาม

 

ข้อเสีย

– ไม่เหมาะสำหรับทาปิดรอยแตกที่ลึกเกิน 2 มม. แนะนำให้ใช้ตาข่ายไฟเบอรเพื่อยึดเกาะรอยแตกแล้วทาอะคริลิคทับอีกที จะช่วยยึดเกาะรอยต่างๆ ให้สนิทขึ้น
– ไม่ทนต่อบริเวณที่เกิดการขังน้ำมีโอกาสเกิดการรั่วซึมได้

ประเภท

ข้อดี

– มีความยืดหยุ่นสูง สามารถปกปิดรอยแตกร้าวได้ดี และไม่หดตัว
– ทนทานต่อแรงขีดข่วน
– ทนทานต่อการเปลี่ยนแปลงของอุณภูมิ และรังสี UV
– ช่วยหชป้องกันได้ทั้งน้ำไหลซึม และน้ำขังได้ดี

ข้อเสีย

– เนื้อวัสดุมีความเหนียวตัวกว่าแบบอะคริลิค จะใช้งานทาทับยากกว่า
-มีราคาสูงกว่าแบบอะคริลิค

 

 

อะคริลิคกันซึม VS โพลียูรีเทนกันซึม ต่างกันอย่างไร

ซ่อมแซมรอยแตกร้าวด้วยกันซึม Bitumen membrane

แผ่นกันซึม Bitumen membrane มักไม่นิยมเลือกใช้ปูบนดาดฟ้าเท่าไหร่ แต่จะใช้งานประเภทปิดรอยต่อและซ่อมแซมรอยต่อ เพราะปิดรอยต่อได้ 100% โดยน้ำไม่สามารถเล็ดรอยผ่านไปได้เลย มักใช้งานจำพวกปิดรอยต่อใต้หลังคา, กระเบื้อง, คอนกรีต มีคุณสมบัติยึดเกาะได้ดีกับทุกพื้นผิว ป้องกันการรั่วซึมได้อย่างดี มีความยืดหยุ่นสูง

แผ่นกันซึม ชนิดนี้มีส่วนประกอบจากยางมะตอยกลั่น และโพลิเมอร์เกรดสูง เสริมด้วยผ้าตาข่ายโพลิเอสเตอร์และไฟเบอร์กลาส ทำให้มีความแข็งแรง เหนียว ทนทานต่อการฉีกขาด

ปูพื้นดาดฟ้าให้มีสีสันสดใสด้วย กันซึม PVC membrane

กันซึม PVC membrane  เป็นแผ่นพลาสติกกันซึมที่ถูกจัดว่าดีที่สุดในตระกูลเมมเบรน เพราะว่าทนทานต่อทุกสภาพอากาศได้ถึง 10 ปี ไม่ว่าจะเป็นแดดร้อน ฝนตก น้ำขัง เพราะว่าปูพื้นทับดาดฟ้าไปเลย ทำให้ปกป้องพื้นผิวดาดฟ้าไม่ให้โดนแดดโดนน้ำ 100% เพราะเมมเบรนจะรองรับปัญหาดังกล่าวไว้หมด อีกทั้งแผ่น กันซึม PVC membrane ยังมีสีสันสดใส ทำให้ดาดฟ้าสวยได้ตลอดทั้งแนว โดยไม่มีรอยต่อใด ๆ

การปูแผ่น กันซึม PVC membrane ทำได้โดยการเป่าลมร้อนก็จะแนบชิดติดดาดฟ้า

การใช้ประโยชน์ของแผ่นกันซึม PVC membrane คือ ปูรองพื้นเพื่อทำเป็นสวนหย่อมเล็ก ๆ บนดาดฟ้าได้ เป็นสวนหย่อมปลูกผักก็ได้ ป้องกันรากไม้ได้ดี ทำให้ดาดฟ้าดูมีชีวิตชีวาด้วยสวนหย่อมสวย ๆ ไม่มีดินทรายกระจัดกระจายทั่วดาดฟ้า

สินค้าแนะนำ

          ดาดฟ้าเป็นหนึ่งของอาคารที่เผชิญกับธรรมชาติอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้นจึงควรตรวจสอบดาดฟ้าบ่อย ๆ เพื่อสำรวจวัสดุกันซึมหากชำรุดหรือเสื่อมสภาพจะส่งผลต่ออาคารได้ง่าย เช่น พบแอ่งน้ำขังทั้งที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ต้องทำการปรับปรุงพื้นที่โดยด่วน เพื่อไม่ให้น้ำขังจนซึมลงในเนื้อคอนกรีต ต้องปรับองศาพื้นที่ดาดฟ้าให้น้ำระบายลงท่อระบายน้ำให้หมดให้ได้ ตรวจสอบอย่าให้ท่อระบายน้ำมีเศษใบไม้ เศษขยะ เศษฝุ่นที่พัดพามาในอากาศ อุดช่องรูท่อน้ำทิ้ง จะทำให้น้ำฝนขังอยู่บนดาดฟ้าเป็นเวลานานเพิ่มน้ำหนักให้กับโครงสร้างด้วย ทางที่ดีควรป้องกันโดยใช้ถ้วยตะแกรงคว่ำวางบนท่อน้ำทิ้ง ป้องกันสิ่งสกปรกอุดตันกลางท่อ วิธีง่าย ๆ เหล่านี้จะช่วยถนอมวัสดุ กันซึมดาดฟ้า ไม่ส่งผลเสียต่อโครงสร้างอาคารในระยะยาวด้วย

📲1. ช้อปผ่าน LINE : @wehomeonline

📥2. ชอบผ่าน Inbox Facebook Page : m.me/WeHomeOnline

🌍3. ช้อปผ่านเว็บไซต์https://www.wehome.co.th ตลอด 24 ชม.

🛒4. ช้อปผ่าน LAZADA : https://www.lazada.co.th/shop/wehome-online

🛒5. ช้อปผ่าน Shopee : https://www.shopee.co.th/ wehomeonline

🛒6. ช้อปผ่าน NOC NOC : 

📞7. มาหาเราสั่งของได้ 074-338-000

ขอบคุณภาพ และข้อมูลเพิ่มเติม :

https://www.wongguru.com

https://www.wazzadu.com/article/5463

Select the fields to be shown. Others will be hidden. Drag and drop to rearrange the order.
  • Image
  • SKU
  • Rating
  • Price
  • Stock
  • Description
  • กำลังไฟฟ้า (วัตต์)
  • ขนาด
  • ความหนา
  • จำนวนช่อง
  • จำนวนชั้น
  • ชนิดฟิล์ม
  • การติดตั้ง
  • ทิศทาง
  • จำนวนที่นั่ง
  • น้ำหนัก (Kg)
  • ประเภทสินค้า
  • มาตรฐานการป้องกัน
  • ยาว
  • ยี่ห้อ
  • ระบบเปิด-ปิด
  • ระยะที่วัดได้
  • รูปทรง
  • ลักษณะบาน
  • วัสดุ
  • วัสดุหลัก
  • สี
  • หนา
  • เบอร์
  • แสงไฟ
  • Add to cart
  • Additional information
Click outside to hide the comparison bar
เปรียบเทียบ