ก่อนที่เราจะ เลือกซื้ออุปกรณ์งานเชื่อม เรามาทำความรู้จัก กับคำว่า การเชื่อมกันก่อนเลย ซึ่งการเชื่อมเป็นกระบวนการที่ใช้สำหรับต่อโลหะเข้าด้วยกันโดยใช้ลวดเชื่อมเพื่อใช้ในการต่อเชื่อมชิ้นงานได้ ในส่วนของเครื่องเชื่อม คือเครื่องผลิตกระแสไฟเชื่อม เพื่อใช้ในการเชื่อมประสานชิ้นงานเข้าด้วยกัน
เราจึงควรเลือกเครื่องเชื่อมให้เหมาะสมกับลักษณะของงานเพื่อให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด โดยการเลือกใช้เครื่องเชื่อมไฟฟ้าแต่ละชนิด ที่มีความแตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็น ด้านคุณสมบัติของการใช้งาน และ คุณภาพของชิ้นงานเชื่อม
การเลือกตู้เชื่อมจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่ช่างผู้ใช้งานจะต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับวัสดุ ความหนาของชิ้นงาน และอุปกรณ์การเชื่อมไฟฟ้าได้เป็นอย่างดี เครื่องเชื่อมไฟฟ้าที่นิยมใช้ในท้องตลาดมี 4 ประเภท ดังนี้
1. เครื่องเชื่อม MMA (Manual Metal Arc Welding)
เครื่องเชื่อม MMA (Manual Metal Arc Welding หรือ SMAW) หรือเครื่องเชื่อมอินเวอร์เตอร์ เป็นการเชื่อมอาร์คโลหะด้วยมือ เป็นกระบวนการโลหะให้ติดกันโดยใช้ความร้อนที่เกิดจากการอาร์คระหว่างลวดเชื่อมหุ้มฟลักซ์ (Electrode)กับชิ้นงาน ซึ่งเครื่องเชื่อมประเภทนี้ได้รับความนิยมเพราะเคลื่อนย้ายได้ง่ายและเหมาะสำหรับช่างมือใหม่หรือผู้ที่สนใจงานเชื่อมที่ต้องการเรียนรู้วิธีการเชื่อมโลหะ สามารถใช้เชื่อมเหล็ก สแตนเลส และอลูมิเนียม
ตู้เชื่อมอินเวอร์เตอร์บางรุ่นอาจเชื่อมอลูมิเนียมได้ ถ้าเป็นเครื่องที่มีกระแสเชื่อมสูงประมาณ 200 แอมป์ขึ้นไป การเชื่อมไฟฟ้าควรเลือกใช้ลวดเชื่อม และปรับกระแสเชื่อมให้เหมาะสมกับงานเชื่อมแต่ละชนิด ตู้เชื่อมอินเวอร์เตอร์เป็นที่นิยมใช้งานในปัจจุบันมากกว่าตู้เชื่อมระบบหม้อแปลงไฟฟ้า ที่มีน้ำหนักมาก และเคลื่อนย้ายลำบาก
ข้อดี
– เชื่อมได้เร็วเครื่องเชื่อม MMA
– เคลื่อนย้ายอุปกรณ์ง่าย ไม่ใช้แก๊ส
– พกพาสะดวก/ราคาประหยัด
ข้อเสีย
– ควันมาก
– ไม่สามารถเชื่อมต่อเนื่อง
– ต้องมีแหล่งจ่ายไฟ
2. เครื่องเชื่อม TIG (Tungsten Inert Gas Welding หรือ GTAW)
เครื่องเชื่อม TIG (Tungsten Inert Gas Welding หรือ GTAW) หรือ เครื่องเชื่อมอาร์กอน เป็นกระบวนการเชื่อมแบบอาร์คชนิดหนึ่งที่ใช้ แท่งอิเล็กโทรดเป็นทังสเตนในการเชื่อม บริเวณบ่อหล่อมจะมีแก๊สเฉี่อยปกคลุม เพื่อป้องกันบ่อหลอมจากการปนเปื้อนหรือการทําปฏิกิริยากับอากาศรอบข้างแก๊สเฉื่อยที่ใช้กันทั่วไปคืออาร์กอนหรือฮีเลียม เครื่องเชื่อมประเภทนี้เหมาะสําหรับงานคุณภาพที่ต้องอาศัยความปราณีตของช่างที่มีประสบการณ์ในการเชื่อม เหมาะกับการเชื่อมสแตนเลสและอลูมิเนียม (รวมถึงชิ้นงานที่บางๆ)
ตู้เชื่อม TIG มีทั้งแบบเชื่อมอาร์กอนเพียงระบบเดียว และแบบเชื่อมอาร์กอนกับเชื่อมระบบอื่น ได้แก่ ตู้เชื่อม 2 ระบบ คือเชื่อมอาร์กอน และเชื่อมธูปหรือทั่วไปเรียกกันว่าเชื่อมเหล็ก กับตู้เชื่อม 3 ระบบ คือ เชื่อมอาร์กอน เชื่อมธูป และเชื่อมอลูมิเนียมหรือระบบ AC ที่เราเรียกกันทั่วๆ ไปว่า ตู้เชื่อมระบบ AC/DC
ตู้เชื่อมอาร์กอนที่มี 2 ระบบ จะมีสวิตช์เปลี่ยนระบบเชื่อม TIG และ ARC ถ้าเราเชื่อม TIG สายดินจะอยู่ที่ขั้ว (+) สายเชื่อมจะอยู่ที่ขั้ว (-) แต่เมื่อเรานำมาเชื่อมไฟฟ้าหรือเชื่อมธูป สายดินจะต้องเปลี่ยนมาใส่ที่ขั้วลบ (-) และสายเชื่อมจะต้องไปอยู่ที่ขั้วบวก (+) แทน
ข้อดี
– การควบคุมคุณภาพ แนวเชื่อมสวยงาม
– ความแข็งแรงของแนวเชื่อม
– สะอาด ควันน้อย ไม่มีประกายไฟ
ข้อเสีย
– เชื่อมได้ช้า
– ต้องใช้ความชํานาญในการเชื่อม
– การตั้งค่าค่อนข้างซับซ้อน
3. เครื่องเชื่อม MIG (Metal Inert Gas)
เครื่องเชื่อมแบบ MIG (Metal Inert Gas) หรือเครื่องเชื่อมคาร์บอน (CO2) เป็นเครื่องเชื่อมที่ใช้การป้อนเนื้อลวดลงที่ชิ้นงานโดยอัตโนมัติจากเครื่อง ซึ่งเครื่องเชื่อม CO2 ชนิดนี้อาจจะใช้แก๊สผสมด้วยคาร์บอนก็ได้ขึ้นอยู่กับชิ้นงานที่ต้องการเชื่อม ข้อแตกต่างจากการเชื่อมอาร์กอน คือ เครื่องเชื่อม CO2 จะใช้แก๊ส CO2 และไม่ต้องใช้คนป้อนลวดเหมือนเชื่อมอาร์กอน เชื่อมได้ทั้งเหล็ก สแตนเลสและอลูมิเนียม แล้วแต่ลวดที่ป้อนจะเชื่อมชิ้นงาน หากจะเชื่อมอลูมิเนียม ก็ต้องมีการเปลี่ยนท่อนำลวด (Liner) เครื่องเชื่อมประเภทนี้เหมาะสําหรับงานเชื่อมตามโรงงานอุตสาหกรรม งานเชื่อมที่ต้องการคุณภาพงานสูง เหมาะกับการเชื่อมงานทุกประเภท
ข้อดี
– เชื่อมโลหะได้เกือบทุกชนิด เหล็ก สแตนเลส อลูมิเนียม ทองแดง เหล็กเหนียว
– การเชื่อมสามารถเดินแนวเชื่อมได้อย่างต่อเนื่องและเร็วกว่าการเชื่อมไฟฟ้าที่ใช้ธูปเชื่อมที่ต้อง เปลี่ยนธูปเชื่อมบ่อยๆ
ข้อเสีย
– เชื่อมได้ช้า
– ต้องใช้ความชํานาญในการเชื่อม
– การตั้งค่าค่อนข้างซับซ้อน
4. เครื่องตัดพลาสม่า (Plasma)
เครื่องตัดพลาสม่า (Plasma) เป็นเครื่องตัดที่ต้องต่อกับปั๊มลมไฟฟ้าส่งไปที่ลมที่มีความเร็วตรงหัวปืนตัดทําให้ลมกลายเป็นพลาสม่า (Solid liquid gas plasma) ลมพลาสม่าผลักออกไปตัดชิ้นงาน เครื่องตัดพลาสม่าสามารถตัดชิ้นงานที่เป็นโลหะได้ทุกชนิดแต่ความหนาไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับชนิดโลหะ เช่น ตัดเหล็กได้ความหนามากที่สุดรองลงมาคือสแตนเลสและอลูมิเนียมตามลำดับ
ข้อดี
– สามารถตัดชิ้นงานที่มีความเว้าโค้งหรือรูปร่างต่างๆ ได้โดยง่าย สูญเสียเนื้อชิ้นงานน้อย
– สภาพรอยตัดจะมีความราบเรียบและสวยงามมีความเรียบร้อย
ข้อเสีย
– ราคาสูงกว่าการตัวโดย Oxy fuel
– คุณภาพงานต้องขึ้นกับความชํานาญของผู้ใช้
– เครื่องตัดพลาสมาต้องเปลี่ยนอะไหล่สิ้นเปลืองบ่อย
*** กำลังไฟเครื่องเชื่อม (Current Range) ***
การเลือกกำลังไฟของเครื่องเชื่อมขึ้นอยู่กับวัสดุที่ต้องการเชื่อม ความหนาของชิ้นงาน ทั้งนี้การเลือกเครื่องเชื่อมควรเลือกให้เหมาะกับการใช้งานเพื่อประสิทธิภาพการใช้งานสูงสุด และ ผู้ใช้งานสามารถดูคู่มือเครื่องเชื่อมได้เพื่อปรับกระแสไฟให้เข้ากับชิ้นงาน
1. ลวดเชื่อมธูป หรือ ลวดเชื่อมไฟฟ้าหุ้มฟลั๊กซ์ (Covered Welding Electrode)
เป็นลวดเชื่อมที่ด้านนอกจะมีสารเคลือบฟลั๊กซ์ (Flux) มีลักษณะคล้ายธูป ด้านในเป็นลวดโลหะ ซึ่งลวดโลหะมีอยู่หลายชนิด เช่น ลวดเชื่อมเหล็ก และ ลวดเชื่อมสแตนเลส สามารถเลือกใช้งานให้เหมาะสมกับประเภทของชิ้นงานที่ต้องการเชื่อม เป็นลวดเชื่อมที่นิยมใช้งานกันมากในหมู่ช่างเชื่อม อุปกรณ์และเส้นลวดเชื่อมมีราคาไม่แพง มีหลายขนาดให้เลือกใช้งาน ตั้งแต่ 2.0 , 2.6 , 3.2 , 4.0 และ 5.0
2. ลวดเชื่อมไส้ฟลักซ์ (Flux Cored Wire)
เป็นลวดเชื่อมโลหะแบบเป็นม้วน ลวดมีแกนกลวงบรรจุด้วยสารพอกอยู่ภายในลวด ต่างจากลวดเชื่อมธูปไฟฟ้า (Welding Electrode) ที่สารพอกจะอยู่ภายนอกลวดเชื่อม ลวดเชื่อมไส้ฟลักซ์ (Flux Cored Wire) มีราคาค่อนข้างสูง แต่มีประสิทธิภาพสูง เชื่อมได้รวดเร็วและสวยงาม
3. ลวดเชื่อมมิก/แมก (MIG/MAG) หรือ ลวดเชื่อม CO2 (MIG Welding Wire)
เป็นลวดเชื่อมโลหะแบบเปลือย เปลือกไม่มีสารพอกหุ้มภายนอก มีลักษณะเป็นม้วน ข้อดีคือเชื่อมได้เร็ว ต้องใช้แก๊สซีโอทู Co2 (แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์) ปกคลุม ใช้ในอุตสาหกรรมงานประกอบเหล็กทั่วไป งานอุตสาหกรรมรถยนต์ และงานโครงสร้างทั่วไป
4. ลวดเชื่อมทิก หรือ ลวดเชื่อมอาร์กอน (Tig Welding Rod)
เป็นลวดเชื่อมเปลือยมีลักษณะคล้ายลวดเชื่อมมิก แต่จะเป็นแบบเส้นตรง แต่ละเส้นมีความยาวประมาณ 1 เมตร นิยมใช้กับงานเชื่อมที่มีความละเอียด มีทั้งที่เป็น เหล็ก อลูมิเนียม สแตนเลส (308L , 309L , 310L , 316L) ทองเหลือง และโลหะอื่นๆ มีขนาดตั้งแต่ 1.6 , 2.0 , 2.4 และ 3.2 มม.
5. ลวดเชื่อมเซาะร่อง หรือ ลวดเชื่อมเก๊าจ์ (Gouging Electrode)
เป็นลวดเชื่อมชนิดกลมแบบพิเศษ สำหรับงานเซาะร่องโลหะ ตัดโลหะ กำจัดเนื้อโลหะที่เชื่อมไม่ได้คุณภาพให้ออกจากชิ้นงาน และสามารถใช้ทำความสะอาดแนวเชื่อมสำหรับเตรียมชิ้นงานก่อนเชื่อม โดยใช้เครื่องเชื่อมไฟฟ้า
ลวดเชื่อมพิเศษ
เป็นลวดเชื่อมที่แบ่งกลุ่มออกมาเพื่อใช้งานเฉพาะ เช่น ลวดเชื่อมทนแรงดึงสูง , ลวดเชื่อมพอกผิวแข็ง , ลวดเชื่อมอินโคเนล , ลวดเชื่อมไฟฟ้าอลูมิเนียม , ลวดเชื่อมนิกเกิลอัลลอยด์ , ลวดเชื่อมไฟฟ้าทองแดง และ ลวดเชื่อมประสาน เป็นต้น
มีเครื่องเชื่อม และลวดเชื่อมแล้ว เรายังต้องมีการรักษาความปลอดภัยในการทำงาน ซึ่งงานเชื่อมโลหะเราได้บอกกันข้างต้นแล้วว่าเป็นงานที่อัตรายสุดๆ ดังนั้นเราจงควรต้องมีการป้องกันที่ดี โดยมี 4 อุปกรณ์หลักๆที่ช่วยเรื่องการรักษาความปลอดภัยให้เรา มีดังนี้
หัวจับสายดิน (Ground Lamp)
มีลักษณะเป็นคีมจับ ใช้จับชิ้นงานมีหน้าที่นำกระแสไฟฟ้าจากชิ้นงานผ่านสายเชื่อมกลับเข้าเครื่องเชื่อม
หน้ากาก (Welding Helmet)
ทำมาจากไฟเบอร์ (Fiber) ใช้ป้องกันดวงตาและผิวหนัง หน้ากากที่ดีจะต้องมีเลนส์กรองแสง Infrared Ray และ Ultra Violet Ray ได้ตั้งแต่ 99.50 เปอร์เซ็นต์ขึ้นไป หน้ากากมีอยู่ 2 แบบคือ แบบสวมศีรษะ (Hear Shield) และแบบมือถือ (Hand Shield)
เป็นยังไง กันบ้างคะ สำหรับ 3 ขั้นตอนการเลือกอุปกรณ์งานเชื่อม นอกจากเราจะได้ความรู้สำหรับการเลือกเครื่องเชื่อมแล้วเรามีอุปกรณ์ป้องกันความปลอดภัยมาแนะนำ กันด้วยนะคะ เพราะอย่าที่ว่า งานเชื่อมเป็นงานที่อัตรายมาก แล้วยังต้องเจอกับ สเก็ดไฟ ที่มีความร้อน เราควรป้องกัน ให้เราทำงานกันอย่างป้องภัยกันนะคะ
สำหรับท่านใดสนใจสินค้า สามารถเลือกซื้อกันได้ ในส่วนสินค้าแนะนำ หรือกดเลือกซื้อ ตรงรูปภาพได้นะคะ หรือถ้าหากต้องการติดต่อสอบถามเพิ่มสามารถสอบถามได้ ที่ facebook fanpage : “ WeHome วีโฮม เพื่อนบ้านที่เข้าใจคุณ ” เรามีแอดมินคล่อยให้คำปรึกษาค่ะ
และยังสามารถเลือกซื้อช่องทางอื่นๆ ได้ที่
1. ช้อปผ่าน LINE : @wehomeonline
2. ช้อบผ่าน Inbox Facebook Page : m.me/WeHomeOnline
3. ช้อปผ่านเว็บไซต์ https://www.wehome.co.th ตลอด 24 ชม.
4. ช้อปผ่าน LAZADA : https://www.lazada.co.th/shop/wehome-online
5. ช้อปผ่าน Shopee : https://www.shopee.co.th/ wehomeonline
6. ช้อปผ่าน JD CENTRAL : https://www.jd.co.th/shop/pc/27676.html
7. ช้อปผ่าน NOC NOC :
8. โทรหาเราสั่งของได้ 074-338-000