Tag Archives: เปลี่ยนหลอด LED

ขั้นตอน DIY. เปลี่ยนหลอดไฟเก่า เป็นหลอด LED

ขั้นตอน DIY. เปลี่ยนหลอดไฟเก่า เป็นหลอด LED
ขั้นตอน DIY. เปลี่ยนหลอดไฟเก่า เป็นหลอด LED

หลอดไฟที่บ้านของคุณเปลี่ยนเป็นหลอดไฟ LED แล้วหรือยัง ถ้า ยัง บทความนี้ จะช่วยในการตัดสินใจของคุณได้ เพราะเราได้นำ 10 สาเหตุที่คุณควรติด หลอดไฟ LED แต่ เราไม่ได้อยากให้คุณเปลี่ยนใจโดยเร็ว เพราะเป็นความชอบของแค่ละบุคคล และวันนี้ วีโฮม เราจะพอคุณไม่รู้จัก หลอด LED ให้มากขึ้นกับ บทความ “ขั้นตอน DIY. เปลี่ยนหลอดไฟเก่า เป็นหลอด LED” ว่าเป็นยังไง ไปอ่านกัน

ทำไมต้องเปลี่ยนเป็นหลอด LED ?

อายุการใช้งาน-02

1.หลอด LED มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน

คุณสมบัติเด่นของหลอดไฟ LED อย่างแรกเลยก็คืออายุการใช้งานของหลอดไฟประเภทนี้ยาวนานกว่าหลอดไฟทั่ว ๆ ไปเฉลี่ย15,000 ชั่วโมง หรือคิดง่าย ๆ ว่าหากคุณเปิดไฟ LED ติดต่อกัน 2.5 ชั่วโมงต่อวันจะสามารถใช้งานหลอดไฟประเภทนี้ได้นานถึง 15 ปีโดยไม่ต้องเปลี่ยนหลอดใหม่ เรียกได้ว่าคุ้มค่ากับเงินที่จ่ายไปแน่นอน

ประหยัดสูงสุด 85 เปอร์เซ็น-02

2. หลอด LED ประหยัดได้สูงสุดถึง 85%

หลายคนคงตกใจเมื่อเห็นบิลค่าไฟตอนสิ้นเดือนทั้งที่รู้สึกว่าไม่ค่อยได้ใช้ไฟอะไรมากมายแต่ทำไมค่าไฟยังแพงอยู่ ส่วนหนึ่งก็ขึ้นอยู่กับหลอดไฟที่เลือกมาใช้เช่นกัน ซึ่งหากบ้านไหนใช้หลอดไฟ LED จะรู้ดีว่าหลอดไฟประเภทนี้ช่วยประหยัดไฟได้มากแม้ราคาต้นทุนจะสูงกว่าหลอดไฟประเภทอื่น ๆ แต่ถ้าลองคำนวณดูที่อายุการใช้งานที่เท่ากันก็เห็นว่าคุ้มค่ากับการลงทุนมากจริง ๆ

ปิดไฟ-02

3.หลอด LED เปิด-ปิดสวิตช์บ่อยก็ไร้ปัญหา

อาจจะพบว่าบางครั้งต้องรอสักพักใหญ่กว่าหลอดไฟจะติดหลังจากเปิดสวิตช์ไฟ แถมยังต้องระวังการเปิด-ปิดสวิตช์ไฟด้วยเพราะถ้าหากเปิด-ปิดบ่อยเกินไป จะทำให้หลอดไฟนั้น ๆ มีอายุการใช้งานสั้นลงแตกต่างกับหลอดไฟ LED ที่แทบจะไม่เจอปัญหานี้เลย เพราะสามารถเปิด-ปิดสวิตช์ได้มากกว่า 5 หมื่นครั้งโดยไม่มีผลกระทบกับฟลอดไฟ และยังให้แสงสว่างได้ทันทีเมื่อเปิดสวิตช์ไฟด้วย

หลอด LED มีหลากหลาย ดีไซน์

4.หลอด LED มีหลากหลายดีไซน์ให้เลือกใช้

หลอดไฟและโคมไฟ LED สามารถนำไปประกอบกับของใช้ที่ให้แสงสว่างได้หลากหลายรูปแบบ เพราะการออกแบบหลอดไฟLED ไม่ได้คำนึงแค่เรื่องสายตาเท่านั้น แต่ยังคลอบคลุมไปถึงการสร้างบรรยากาศด้วย ตัวอย่างเช่น คุณนุ๊ก รัชพล ที่ขอยืนยันว่าหลอดไฟประเภทนี้สามารถใช้ได้ทุกจุดในบ้าน ซึ่งนอกจากเขาจะเลือกมาตกแต่งภายในเพื่อสร้างความโดดเด่นเพิ่มมิติและเล่นแสงสีเพื่อปรับให้เข้ากับอารมณ์แล้ว ยังนำไปใช้กับไฟสวนไฟสนามรวมไปถึงสตรีทเฟอร์นิเจอร์ด้วย

ติดตั้งโคมไฟ-02-02

5.หลอด LED ไม่มีรังสียูวีที่ทำอันตรายกับผิวและให้แสงสว่างที่สมจริง

ต่อให้ไม่ได้ยืนกลางแดดผิวก็หมองคล้ำลงได้เพราะแสงไฟในบ้าน ยกเว้นแสงที่มาจากหลอด LED ซึ่งนอกจากจะไม่มีรังสียูวีที่คอยทำร้ายผิวเราแล้ว ยังเหมาะที่จะใช้กับสิ่งของหรือวัสดุที่ไวต่อความร้อนหรือแสงด้วย เช่น ในพิพิธภัณฑ์ สถานที่จัดแสดงงานอาร์ตแกลอรี่ โบราณสถาน หรือสถานที่จัดเก็บโบราณวัตถุ ทำให้สีของชิ้นงานไม่ซีดจางจากการโดนแสงไฟลามเลีย พร้อมทั้งให้แสงสว่างที่นุ่มนวล สมจริงอีกด้วย

เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

6.หลอด LED เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

ในขณะที่การผลิตหลอดฟลูออเรสเซนต์ประกอบด้วยสารโลหะหนัก เช่น สารปรอท ซึ่งเป็นพิษกับสิ่งแวดล้อมแต่หลอดไฟ LED กลับไม่มีส่วนประกอบของโลหะหนักที่เป็นอันตราย ที่สำคัญไปกว่านั้นคือผลิตด้วยวัสดุที่สามารถนำไปรีไซเคิลต่อได้ 100% นั่นก็หมายว่าช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์ถึง 3 เท่าเลยทีเดียว

ทดสอบเปิดไฟ-02

7.หลอด LED ใช้วัตต์น้อยแต่ให้แสงสว่างมาก

อีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้คนเริ่มหันมาใช้หลอดไฟ LED กันมากขึ้น เพราะใช้กำลังวัตต์น้อยมากเมื่อเทียบกับหลอดไฟประเภทอื่น ๆ ซึ่งทำให้ง่ายต่อการนำหลอดไฟ LED เชื่อมต่อเข้ากับระบบแผงโซลาร์เซลล์ และนำไปใช้กับในที่ที่ไฟฟ้าเข้าถึงยาก

8.หลอด LED ไม่ร้อนแม้ตอนใช้งาน

ทั้งหลอดนีออนและหลอดฟลูออเรสเซนต์จะเกิดความร้อนสูงขณะใช้งาน ซึ่งความร้อนของหลอดไฟก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดเพลงไหม้ได้ง่าย แต่หลอด LED กลับลดโอกาสการเกิดอัคคีภัยได้น้อยมาก เพราะไม่เกิดความร้อนแม้ตอนเปิดใช้งาน

9.หลอด LED ไร้ฝุ่นเกาะบังแสงสว่าง

หลอดฟลูออเรสเซนต์มักมีฝุ่นเกาะเป็นประจำเมื่อใช้ไปนาน ๆ และเกิดเงารบกวนสายตาขณะทำงาน แถมบางครั้งยังมีเสียงดังออกมาขณะเปิดไฟ แต่จะไม่เจอกับ 2 ปัญหานี้เลยหากเปลี่ยนมาใช้หลอดไฟ LED

10.หลอด LED มีความสว่างที่เหมาะกับการทำงาน

ที่สำคัญหลอดไฟ LED ยังให้แสงสว่างที่พอเหมาะกับการทำงาน เหมาะกับการนำไปตกแต่งออฟฟิศ ห้องนอน ห้องน้ำ และตกแต่งห้องอื่นๆได้อีกมากมาย

การแก้ปัญหาของหลอด LED ?

1. หลอด LED กระพริบเกิดจากอะไร และแก้อย่างไร?

เหตุการณ์ทำให้หลอดไฟ LED กระพริบมีหลายปัจจัยมากมายดังนั้นเราจึงนำสาเหตเหล่านี้มีเป็นตัวอย่าง เช่น

1.1 เกิดจากบัลลาสต์เสีย บัลลาสต์ เป็นอุปกรณ์ควบคุมกระแสไฟฟ้าให้ไหลผ่านไปยังหลอดฟลูออเรสเซนต์ และจุดหลอดฟลูออเรสเซนต์ เมื่อไฟที่บ้านมีลักษณะเป็นแสงไฟกระพริบ หรือ ไฟกระพริบไม่หยุด

          วิธีแก้ เริ่มแรกให้ลองถอด บัลลาสต์ออกเสียก่อน หากถอดแล้วไฟหยุดกระพริบ แนะนำให้เปลี่ยนตัวสตาร์ทเตอร์ใหม่ ซึ่งตัวสตาร์ทเตอร์จะทำหน้าที่คอยตัดต่อวงจรสตาร์ท เมื่อมีการเปิดสวิตช์วงจรไฟฟ้า ซึ่งการเปลี่ยนจะช่วยแก้ปัญหาไฟกระพริบได้

1.2 แรงดันและกระแสไฟฟ้าไม่เพียงพอ เมื่อแรงดันไฟฟ้าไม่เพียงพอส่งผลให้ ไฟ LED กระพริบ เหมือนไฟตก

         วิธีแก้ เจ้าของบ้านต้องสำรวจปริมาณการใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน ว่ามีการใช้ไฟพร้อมกันในปริมาณที่มากเกินไปหรือไม่ และตัวหม้อแปลงไฟฟ้านั้นมีขนาดเหมาะสมกับปริมาณไฟฟ้าที่ใช้ภายในบ้านด้วยหรือไม่ เพราะส่วนใหญ่แล้วบางบ้านนิยมใช้หม้อแปลงไฟเก่า ที่มีขนาดแรงดัน และกระแสไฟไม่เหมาะสม จึงทำให้ ไฟกระพริบไม่หยุด

1.3 ตรวจสอบการติดตั้งหลอดไฟกับ ฮีทซิ้งค์ (แผงกันความร้อน) โดยเฉพาะหลอดไฟ LED หากติดตั้งโดยการยึดน็อตเพียงอย่างเดียว โดยไม่ได้ทาซิลิโคนไว้ที่ตำแหน่งใต้ฐานหลอด กับตัวฮีทซิงค์ จะทำให้เกิดความร้อนสะสม จนส่งผลให้ ไฟ LED กระพริบ เหมือนไฟตก

          วิธีแก้ ควรทานซิลิโคนกันร้อนไว้ใต้ ฐานลองไฟ  เพื่อดับความร้อนของหลอดไฟ เพราะ ซิลิโคน สามารถนำเอาความร้อนจากจุดเชื่อมต่อของโลหะได้ดี ทำให้ความร้อนเกิดการถ่ายเทจากหลอดไฟ LED ผ่านไปยัง ฮีทซิ้งค์ (แผงกันความร้อน) ซึ่งจะช่วยป้องกันไม่ให้ไฟกระพริบ และหลอดไปส่องสว่างเมื่อเปิดใช้งาน

1.4 ความร้อนของหลอดไฟที่ร้อนเกินไป ในลักษณะนี้มักเกิดขึ้นกับหลอดไฟที่ติดตั้ง กับโคมไฟในบ้าน

          วิธีแก้ จำเป็นต้องเลือกโคมไฟ และขนาดของหลอดไฟที่มีขนาดพอเหมาะไม่ใหญ่ หรือเล็กจนเกินไปเมื่อประกอบเข้าใช้งานด้วยกัน เพื่อให้ความร้อนอยู่ในระดับที่พอดี ไม่ร้อนจนเกินไป เพราะจะส่งผลให้เกิดไฟกระพริบ

2. ทำไม ไฟ LED กระพริบ เหมือนไฟตก ตอนปิด?

แม้ว่าหลอด LED จะมีคุณสมบัติในการช่วยประหยัดพลังงานที่คุ้มค่า และเป็นที่นิยมใช้มากกว่าหลอดไส้แบบดั้งเดิม แต่ข้อเสียที่พบบ่อยของหลอดประเภทนี้คือมักเกิดไฟกระพริบเมื่อกดปิดสวิตช์ ซึ่งเหตุผลที่ไฟกระพริบก็มาจากหลายสาเหตุ เช่น การเชื่อมต่อติดตั้งไม่ถูกต้อง หลอดไฟมีความผิดปกติ หรือเกิดจากพลังงานแสงไฟในสวิตช์

3. ไฟกระพริบ แก้อย่างไร?

แก้โดยหาโคมที่มีขนาดเหมาะสมกับหลอดไฟที่ใช้งาน หรือลดจำนวนหลอดไฟให้น้อยลง หรือลองหาวิธีระบายความร้อนให้กับโคมไฟด้วยซีลีโคน หรือ ฮีทซิ้งค์(แผงกันความร้อน) เราแนะนำวิธีง่ายๆ ให้หาที่หนีบผ้าแบบอลูมิเนียม เอามาหนีบที่ฮีทซิ้งค์ของโคมไฟเพื่อช่วยระบายความร้อนก็สามารถแก้ปัญหาเรื่องความร้อนได้บ้าง หรือจะทำปีกระบายความร้อน ติดพัดลมที่ฮีทซิ้งค์(แผงกันความร้อน) และวิธีอื่นๆ

*** เมื่อพบว่าหลอดไฟLED มีการกระพริบ และที่ตัวหลอดไฟมีความร้อนมากอย่าฝืนใช้งาน ถ้ามีความร้อนที่หลอดมากๆอาจทำให้หลอดไฟเสื่อม และอาจเสียหายได้***

ขั้นตอนเปลี่ยนเป็นหลอด LED ?

ปิดไฟ-เช็คไฟ ความปลอดภัย-02

ขั้นตอนที่1

     เราควรปิดสวิตไฟก่อนนะคะ แล้วนำไขควงเช็คไฟ ไปเช็คไฟที่สายไฟก่อนว่ามีไฟเข้าอยู่ไหม ปลอดภัยไว้ก่อน

ถอดขั่วไฟ-02

ขั้นตอนที่2

     แล้วใช้ไขควงถอดสายไฟจากขั้วต่อสายไฟหลังจากนั้นก็ใช้ไขควงหมุนคลายน๊อตที่ยึดระหว่างหลอดไฟกับ ฐานโคม ให้หมด (กรณีที่คุณใช้หลอดหลอดฟลูออเรสเซนต์ ก็ให้เอาบัลลาส์ต สตาร์ทเตอร์ ถอดออกให้หมด) ให้เหลือ ฐานโคม กับ สายไฟ

ขั้นตอนที่3

    จากนั้นให้นำหลอดไฟที่เราซื้อไว้ โดยที่เราจะยกตัวอย่าง อย่าง หลอดไฟ SWEEO  Circular-MOD  UFO 35W

ต่อสายไฟ-02

ขั้นตอนที่4

     หลังจากนั้นก็จะใช้ตัวเทอมีเนอ หรือเต๋าต่อสายไฟให้โดยไม่ต้องกังวล ว่า ต่อสายบวกหรือลบ ต่อได้เลย

ทดสอบเปิดไฟ-02

ขั้นตอนที่ 5

     ต่อขั้วเสร็จ เรียบร้อย ให้ทดลอง เปิดปิดไฟดู ถ้าไม่มีปัญหา ก็พร้อมใช้งานได้เลย

สินค้าแนะนำ

- 24%
Original price was: ฿46.00.Current price is: ฿35.00.

เป็นยังไงกันบ้างคะ สำหรับบทความ ขั้นตอน DIY. เปลี่ยนหลอดไฟเก่า เป็นหลอด LED สำหรับคนที่ต้องการเปลี่ยนหลอดไฟเก่าที่บ้านก็สามารถนำไปใช้ได้นะคะ หากมีข้อสงสัยสามารถติดต่อได้ที่ facebook fanpage : “WeHome วีโฮม เพื่อนบ้านที่เข้าใจคุณ” แอดมินยินดีให้คำปรึกษานะคะ

วิธีการสั่งซื้อทางช่องอื่น

📲1. ช้อปผ่าน LINE : @wehomeonline

📥2. ช้อบผ่าน Inbox Facebook Page : m.me/WeHomeOnline

🌍3. ช้อปผ่านเว็บไซต์ https://www.wehome.co.th ตลอด 24 ชม.

🛒4. ช้อปผ่าน LAZADA : https://www.lazada.co.th/shop/wehome-online

🛒5. ช้อปผ่าน Shopee : https://www.shopee.co.th/ wehomeonline

🛒6. ช้อปผ่าน JD CENTRAL : https://www.jd.co.th/shop/pc/27676.html

🛒7. ช้อปผ่าน NOC NOC  :

📞8. โทรหาเราสั่งของได้ 074-338-000

Select the fields to be shown. Others will be hidden. Drag and drop to rearrange the order.
  • Image
  • SKU
  • Rating
  • Price
  • Stock
  • Description
  • กำลังไฟฟ้า (วัตต์)
  • ขนาด
  • ความหนา
  • จำนวนช่อง
  • จำนวนชั้น
  • ชนิดฟิล์ม
  • การติดตั้ง
  • ทิศทาง
  • จำนวนที่นั่ง
  • น้ำหนัก (Kg)
  • ประเภทสินค้า
  • มาตรฐานการป้องกัน
  • ยาว
  • ยี่ห้อ
  • ระบบเปิด-ปิด
  • ระยะที่วัดได้
  • รูปทรง
  • ลักษณะบาน
  • วัสดุ
  • วัสดุหลัก
  • สี
  • หนา
  • เบอร์
  • แสงไฟ
  • Add to cart
  • Additional information
Click outside to hide the comparison bar
เปรียบเทียบ