Category Archives: พื้นที่นอกบ้าน

HOW TO! การเลือกถังเก็บนํ้า แทงค์นํ้า ให้เหมาะกับการใช้งาน

หลายๆท่านอาจจะสับสนกับการเลือกซื้อถังเก็บน้ำหรือ แท้งค์น้ำ ว่าเราควรซื้อแบบไหนดี แบบไหนที่เหมาะกับบ้านเราดี แบบไหนที่ใช้งานได้คุ้มค่ากว่ากันดี…??? เป็นคำถามที่ วนเวียนอยู่ในหัวของเราตลอด โดยเฉพาะคนที่เริ่มทำบ้าน และไม่ได้ ถามช่างประปามาก่อน หรือ คนที่เป็นที่ใช้น้ำน้ำบาดานมาก่อนและเปลี่ยนมาใช้น้ำประปา ก็ จะมีคำถามอยู่ในหัวแบบนี้ ค่ะ และวันนี้ แอดจะพาทุกท่านมาดู วิธีเลือกถังเก็บน้ำ หรือ แทงค์น้ำให้เหมาะกับการใช้งาน ของท่านกันค่ะ

เลือกชนิดของถังเก็บน้ำ

ทุกคนคงเคยเห็นกันแล้วใช่ไหมค่ะ ว่า ถังเก็บน้ำ หรือบางคนเรียกว่า แท้งค์เก็บน้ำ ที่คนที่นิยมใช้งานจะมีอยู่ 4 แบบ ได้แก่

1. ถังเก็บน้ำสแตนเลส

           สำหรับใช้บรรจุน้ำสะอาด น้ำประปา น้ำฝน เพื่อการอุปโภค-บริโภค สะอาดปลอดภัย ถูกสุขลักษณะ แข็งแรง แตกยาก ทนทาน สวย เงางาม ทนแดด ทนฝน ทนทานต่อการกัดกร่อน ฝุกร่อนยาก ทนความร้อนได้ดี ไม่เกิดกลิ่น เมื่อเก็บน้ำไว้นาน เคลื่อนย้ายสะดวก มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน ไม่เกิดตะไคร่น้ำ ง่ายต่อการทำความสะอาด และสามารถปลอยน้ำทิ้งไล่ตะกอนที่ตกค้างออกได้จนหมดถัง ควรทำความสะอาดทั้งภายใน และภายนอก ทุกๆ 6 เดือน เพื่อยืดอายุการใช้งานให้ยาวมากขึ้น

ข้อควรระวัง

1. ไม่ควรนำไปใช้บรรจุน้ำที่มีค่าความเป็นกรด เป็นด่างสูง เช่น น้ำบาดาล น้ำเค็ม น้ำกร่อย น้ำที่มีคลอรีนสูง หรือ น้ำที่มีค่าความเป็นกรดเป็นด่างสูง เพราะอาจทำให้เกิดการรั่วซึมได้

2. ไม่ควรนำไปวางตั้งในพื้นที่สภาพแวดล้อมที่อาจทำให้เกิดผลเสีย เช่น พื้นที่ลาดเอียง ใกล้ทะเล เศษเหล็กจากการเชื่อมงาน ละองจากการพ่นสี เศษปูนจากงานก่อสร้าง สารเคมีต่างๆ เป็นต้น เพราะอาจเกิดปฏิกิริยาทำให้เป็นสนิมได้

3. ห้ามใช้ข้อต่อที่เป็นเหล็กในการติดตั้ง เนื่องจากเนื้อแสตนเลสเมื่อสัมผัสกับเนื้อเหล็กแล้วจะทำปฏิกิริยาต่อต้านกัน จนทำให้เกิดสนิม ควรใช้ข้อต่อที่เป็นสแตนเลส ทอเหลือง หรือ PVC เท่านั้น เพื่อยืดอายุการใช้งาน

2. ถังเก็บน้ำไฟเบอร์กลาส

          เป็นถังเก็บน้ำสำเร็จรูปที่มีราคาค่อนข้างสูง เนื่องจากผลิตขึ้นจากวัสดุไฟเบอร์กลาส (Fiberglass Reinforced Plastics หรือ FRP) ซึ่งก็คือผลิตภัณฑ์พลาสติกชนิดแข็ง ที่มีการใส่วัสดุช่วยเสริมความแข็งแรงอย่าง “เส้นใยแก้ว” ซึ่งมีความอ่อนนุ่ม ทว่าเหนียว แข็งแรง และทนต่อแรงดึงได้สูงมาก ลงไป เพื่อให้ได้ถังเก็บน้ำไฟเบอร์กลาสที่มีคุณสมบัติในการยืดหยุ่นสูง ไม่แตกหักง่าย มีน้ำหนักเบา และสามารถรองรับแรงอัดได้ดี

           ส่วนใหญ่คนจะเลือกใช้ถังเก็บน้ำชนิดนี้กัน เพราะดีไซน์หลากหลายสวยงาม เอาไปวางใช้งานที่บ้านแล้วดูเข้ากัน ไม่สะดุดตา อีกทั้งยังแข็งแรง ทนทาน น้ำหนักเบา รับแรงดันได้ดี ไม่เป็นพิษกับน้ำ ใช้ได้กับทั้งน้ำประปา และน้ำกร่อย

ข้อดีของถังเก็บน้ำไฟเบอร์กลาส

1. ถังเก็บน้ำไฟเบอร์กลาสสามารถบรรจุน้ำได้หลายหลายชนิดทั้งน้ำสะอาด และน้ำกร่อย โดยไม่ทำให้เกิดตะไคร่น้ำและสนิม เนื่องจากเส้นใยแก้วซึ่งเป็นวัสดุหลักที่ใช้ในการผลิตไฟเบอร์กลาสไม่มีส่วนผสมของเหล็ก ซึ่งเป็นสารที่ก่อให้เกิดสนิม
2. มีให้เลือกใช้งานหลากหลายรูปแบบตามความต้องการ ทั้งถังเก็บน้ำไฟเบอร์กลาสแบบบนดินและแบบฝังดิน
3. ถังเก็บน้ำไฟเบอร์กลาสมีให้เลือกใช้งานหลายขนาด ตั้งแต่ขนาดเล็กที่ใช้ตามบ้าน ไปจนถึงขนาดใหญ่ที่ใช้ในงานส่วนอุตสาหกรรม
4. ถังเก็บน้ำไฟเบอร์กลาสมีความแข็งแรงกว่าถังเก็บน้ำโพลีเอทิลีน หรือ ถังเก็บน้ำพลาสติก

5. เมื่อต้องการเก็บน้ำสำรองในปริมาณมาก การใช้ถังเก็บน้ำไฟเบอร์กลาสสามารถประหยัดต้นทุนในการก่อสร้างได้มากกว่า เมื่อเทียบกับการสร้างบ่อคอนกรีตหรือบ่อปูนขนาดใหญ่
6. สามารถติดตั้งได้ง่าย และใช้เวลา รวมถึงจำนวนแรงงานในการติดตั้งน้อยกว่า
7. ถังเก็บน้ำไฟเบอร์กลาสดูแลรักษาง่าย เมื่อเกิดความเสียหายสามารถซ่อมแซมได้ทุกจุด โดยไม่ต้องทำการเปลี่ยนใหม่
8. ถังเก็บน้ำไฟเบอร์กลาส แข็งแรง ทนทาน และมีอายุการใช้งานนานถึง 20 ปี
9. ปลอดภัยสำหรับการอุปโภคบริโภค เพราะวัสดุที่ใช้เป็น Food Grade

3.ถังน้ำโพลิเมอร์ชนิดไม่ทึบแสง

          ถังเก็บน้ำ PE (โพลิเมอร์ชนิดไม่ทึบแสง) หรือ ถัง PE สีฟ้า ไม่เหมาะสำหรับการใช้งานกลางแจ้ง หรือที่ที่มีแสงส่องถึงเนื่องจาก คุณสมบัติของตัวเนื้อพลาสติกไม่มีความทึบแสงทำให้แสงสามารถลอดผ่านตัวถังเข้าไปสัมผัสกับน้ำได้ ทำให้มีโอกาสเกิดตะไคร่น้ำภายในถัง

        ถังเก็บน้ำ PE (โพลิเมอร์ชนิดไม่ทึบแสง) หรือ ถัง PE สีฟ้า ไม่เหมาะสำหรับการใช้งานกลางแจ้ง หรือที่ที่มีแสงส่องถึงเนื่องจาก คุณสมบัติของตัวเนื้อพลาสติกไม่มีความทึบแสงทำให้แสงสามารถลอดผ่านตัวถังเข้าไปสัมผัสกับน้ำได้ ทำให้มีโอกาสเกิดตะไคร่น้ำภายในถัง

ข้อดีของถังโพลิเมอร์ชนิดไม่ทึบแสง

1. เป็นถังเก็บน้ำ ที่มีราคาถูก ที่สุดในกลุ่ม
2. ไม่เกิดสนิมเนื่องจากเป็นวัสดุโพลิเมอร์ (PE)
3. สามารถบรรจุน้ำได้หลายหลายชนิด ไม่ต้องกังวลเรื่องการเกิดสนิม เพราะเป็นวัสดุ โพลีเมอร์
4. มีหลายแบบให้เลือก ทั้งแบบ ถังเก็บน้ำบนดิน และถังเก็บน้ำฝังดิน
5. มีหลายขนาดให้เลือก ตั้งแต่ถังเก็บน้ำขนาดเล็กที่ใช้ตามบ้าน จนถึงขนาดใหญ่ที่ใช้งานในส่วนอุตสาหกรรม

ข้อจำกัด

1. มีโอกาสเกิดตะไคร่น้ำภายในถังได้เนื่องจากเป็นวัสดุที่แสงสามารถลอดผ่านได้
2. สีจะซีดจางเมื่อใช้งานไปนาน ๆ
3. อายุการใช้งานไม่นานมากนัก ไม่เหมาะกับการใช้งานในบ้านพักอาศัย
4. ไม่เหมาะกับการใช้งานกลางแจ้ง เนื่องจากอาจทำให้อายุการใช้งานสั้นลง
5. ข้อต่อต่าง ๆ ใช้ความร้อนในการเชื่อม อาจทำให้เกิดรอยแยก หรือ แตกร้าวได้ง่าย
6. ก้นถังเป็นพื้นเรียบทำให้ล้างทำความสะอาดได้ยาก เนื่องจากอาจมีน้ำค้างอยู่ก้นถัง

4. ถังเก็บน้ำ โพลิเมอร์ ชนิดทึบแสง

          วัสดุโพลิเมอร์ ปัจจุบันนิยมนำมาใช้ในการผลิตถังเก็บน้ำเป็นอย่างมากเนื่องจาก คุณสมบัติที่มีความสะอาด ปลอดภัย ทึบแสง ป้องกันรังสี uv ราคาที่ไม่สูงมากนัก (ขนาด 1000 ลิตร ราคาประมาณ 5,500 – 7,500 บาท) สีสันสวยงาม ด้วยการผสมสีด้วยวิธี Compounding (การใช้ความร้อน แรงดันบีบอัด สีให้เป็นเนื้อเดียวกันกับเม็ดพลาสติก)

        ดังนั้นวัสดุชนิดนี้สีจึงไม่หลุดร่อน และไม่ต้องกังวลเรื่องสารปนเปื้อนแน่นอน อายุการใช้งานยาวนาน การรับประกันสินค้า มีตั้งแต่ 15 – 25 ปี ทั้งนี้แหล่งที่มาของวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต ก็เป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องพิจรณาด้วยเช่นกัน โดยหลัก ๆ มีอยู่ 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ

4.1 เอลิเซอร์ (Elixir by SCG)

คุณสมบัติพิเศษของ ถังเก็บน้ำ ที่ผลิตจากวัสดุเอลิเซอร์ (Elixer) คือ
1. เป็นวัสดุ Food Contact คือเป็นวัสดุที่ได้การรับรองว่าสามารถนำมาใช้สัมผัสอาหารและน้ำดื่มได้ปลอดภัย
2. สีไม่ซีดจาง ด้วยเทคโนโลยีขั้นสูง ที่ทำให้สีหลอมรวมเป็นเนื้อเดียวกัน ไม่มีการหลุดลอกของสี ปนเปื้อนลงในน้ำที่บรรจะภายในถังน้ำ
3. ปราศจากสารตะกั่ว และปรอท เนื่องจากใช้ส่วนผสม และสีที่มีคุณภาพสูง ไม่มีส่วนผสมของโลหะหนัก จึงไม่มีสารที่เป็นอันตรายปนเปื้อนลงในน้ำ
4. เป็นวัสดุที่มีความทึบแสง ทำให้แสงไม่สามารถลอดผ่านตัวถังเก็บน้ำได้ ทำให้น้ำที่บรรจุภายในถัง ไม่เกิดตะใคร่น้ำ ที่เป็นแหล่งสะสมของสิ่งสกปรกและเชื้อโรค
5. ไม่มีกลิ่นรบกวน เนื่องจากผ่านการทดสอบเรื่องกลิ่นด้วยมาตรฐานเดียวกับท่อน้ำดื่ม
6. มีความแข็งแรงทนทาน ด้วยส่วนผสมของสารป้องกันรังสี UV ทำให้สามารถตั้ง ไว้กลางแจ้งได้ และตัววัสดุยังผ่านมาตรฐานอุตสาหกรรม (มอก.)

4.2 อินโนว่า (INNOVA by PTT)

คุณสมบัติพิเศษของ ถังน้ำ ที่ผลิตด้วย Polyethylene Innova by Ptt Global Chemical
1. เป็นโพลิเมอร์ คุณภาพสูง (Hexene Co-Polymer C6) มีความทนทาน หรือ ความคงทนต่อสภาพแวดล้อม สูงกว่าโพลิเมอร์ชนิดทั่วไป มากกว่า 20 เท่า
2. Foodgrade ใหม่ 100% ผ่านการรับรองมาตรฐานจาก EU Food Contact , U.S. FDA ว่าสามารถใช้เป็นวัสดุ สำหรับการบรรจุ อาหารและน้ำดื่มได้
3. นวัฒกรรมการผลิตแบบ Compounding ด้วยเครื่อง Extrudsion ผ่านความร้อน และความดัน ทำให้สี และพลาสติกโพลิเมอร์รวมตัวเป็นเนื้อเดียวกัน ซึ่งจะไม่หลุดลอกออกมาปนเปื้อนกับน้ำที่บรรจุ ภายในถังเก็บน้ำ
4. ใช้สี และ Additive ต่าง ๆ ในกระบวนการผลิตที่เป็น Foodgrade ทำให้ความปลอดภัย

ข้อดีของถังเก็บน้ำ โพลิเมอร์ ชนิดทึบแสง

1. มีให้เลือกหลายรูปทรง และมีสีสัน สวยงาม ทันสมัย สามารถนำไปเป็นของแต่งบ้านได้อีกแบบหนึ่ง
2. ไม่เกิดตะไคร่น้ำภายในถัง เนื่องจากเป็นวัสดุโพลิเมอร์ชนิดทึบแสง ในบางรุ่น อาจเพิ่มสารยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียในเนื้อวัสดุ ทำให้น้ำมีความสะอาด ปลอดภัย
3. สามารถมั่นใจในความปลอดภัยได้เนื่องจากวัสดุเป็นสาร Food Grade ที่สามารถสัมผัสน้ำดื่มได้โดยตรง โดยไม่เกิดสารปนเปือน
4. สีสันสวยงาม ไม่ซีดจาง เนื่องจากมีสารป้องกัน UV
5. สามารถตั้งกลางแจ้งได้ (อุณภูมิน้ำภายในจะสูงขึ้นเล็กน้อย)
6. ไม่ต้องกังวลเรื่องการเกิดสนิม เพราะเป็นวัสดุ โพลีเมอร์

ข้อจำกัด

1. เนื่องจากเป็นวัสดุที่ได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน ทำให้มีสินค้าออกมาให้เลือกหลายยี่ห้อ จึงอาจเกิดสินค้าลอกเลียนแบบ หรือ สินค้าที่ใช้วัสดุที่ไม่ได้มาตรฐานมาผลิต อาจทำให้เกิดอันตรายได้ ควรสังเกต สัญลักษณ์การรับประกันคุณภาพสินค้าให้ดี
2. ข้อต่อต่าง ๆ เป็นวัสดุคนละชนิดกับตัวถัง อาจทำให้เกิดรอยแยก หรือ แตกร้าวได้ง่าย
3. ก้นถังเป็นพื้นเรียบทำให้ล้างทำความสะอาดได้ยาก เนื่องจากอาจมีน้ำค้างอยู่ก้นถัง

พื้นที่ในการติดตั้งถังเก็บน้ำ

โดยทั่วไป การติดตั้งถังเก็บน้ำสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 รูปแบบ ได้แก่ การติดตั้งถังเก็บน้ำบนดิน และการติดตั้งถังเก็บน้ำใต้ดิน

การติดตั้งถังเก็บน้ำบนดิน

          การติดตั้งถังเก็บน้ำบนดินมีข้อดีในเรื่องของการติดตั้ง การดูแลรักษา การซ่อมบำรุง และการเคลื่อนย้าย ที่สามารถทำได้อย่างสะดวกและง่ายดาย แต่ในขณะเดียวกันก็มีข้อจำกัดในเรื่องของอุณหภูมิของน้ำ ที่อาจเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพอากาศจนส่งผลต่อการเกิดตะไคร่น้ำภายในถัง ซึ่งมักจะพบได้บ่อยในถังเก็บน้ำพลาสติกชนิดโปร่งแสง ส่งผลให้การติดตั้งถังเก็บน้ำบนดินจึงนิยมใช้เป็นถังเก็บน้ำประเภทถังเก็บน้ำสเตนเลส และถังเก็บน้ำไฟเบอร์กลาส เนื่องจากมีความแข็งแรงทนทาน และไม่เกิดตะไคร่หรือสนิมได้ง่าย

การติดตั้งถังเก็บน้ำใต้ดิน

          ในกรณีที่อาคารหรือบ้านพักอาศัยมีพื้นที่ใช้สอยอย่างจำกัด การติดตั้งถังเก็บน้ำใต้ดินก็นับเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่จะช่วยในการประหยัดพื้นที่สำหรับติดตั้ง และช่วยให้บริเวณโดยรอบอาคารบ้านพักดูเรียบร้อยสวยงาม อีกทั้งยังช่วยป้องกันปัญหาตะไคร่น้ำที่อาจเกิดขึ้นภายในตัวถังได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากอุณหภูมิของน้ำภายในถังไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปมากนัก แต่ทั้งนี้การติดตั้งถังเก็บน้ำใต้ดินก็มีข้อจำกัดในเรื่องของราคาที่ค่อนข้างสูง และการทำความสะอาด รวมถึงการซ่อมแซม ที่ทำได้ค่อนข้างยาก ส่งผลให้การเลือกใช้ถังเก็บน้ำใต้ดิน นิยมใช้เป็นถังเก็บน้ำคอนกรีต และถังเก็บน้ำพลาสติกชนิดติดตั้งใต้ดิน เนื่องจากมีความคงทน แข็งแรง และปลอดภัยค่อนข้างมาก ทำให้สามารถรองรับแรงกด และแรงกระแทกได้ดีโดยไม่เกิดการทรุดตัว และมีอายุการใช้งานที่ยาวนานกว่าถังเก็บน้ำชนิดอื่น ๆ

คำนวนปริมาณของถังเก็บน้ำ

ขนาดของถังเก็บน้ำก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ผู้ใช้งานควรเลือกพิจารณาให้ถี่ถ้วน โดยการเลือกขนาดของถังเก็บน้ำนั้น ควรเลือกพิจารณาจากจำนวนผู้อยู่อาศัยภายในบ้าน และปริมาณน้ำที่ใช้ในแต่ละวันเป็นหลัก โดยสามารถพิจารณาอ้างอิงจากข้อมูลการใช้น้ำของการประปานครหลวงได้ ดังนี้

  • ผู้ที่พักอาศัยในเขตนครหลวงจะมีปริมาณการใช้น้ำเฉลี่ย 200 ลิตร ต่อคน ต่อวัน
  • ผู้ที่พักอาศัยในเขตเทศบาลจะมีปริมาณการใช้น้ำเฉลี่ย 120 ลิตร ต่อคน ต่อวัน
  • ผู้ที่พักอาศัยแถบชานเมืองจะมีปริมาณการใช้น้ำเฉลี่ย 70 ลิตร ต่อคน ต่อวัน

ซึ่งปริมาณน้ำที่ควรกักเก็บสำรองเอาไว้ใช้ในกรณีฉุกเฉินสามารถคำนวนได้จากสูตร : จำนวนผู้พักอาศัย X ปริมาณการใช้น้ำเฉลี่ย (ต่อคน ต่อวัน) X ระยะเวลาที่ต้องการสำรองน้ำไว้ใช้ (โดยปกตินิยมคำนวนที่ประมาณ 2-3 วัน)

วิธีการคำนวณ

นำจำนวนคนภายในบ้าน x 200 (ลิตร) x จำนวนวัน จะได้ปริมาณน้ำที่จะใช้ ภายในในบ้าน ตัวอย่าง เช่น ในบ้านที่มีสมาชิก 4 คน ให้เราคิดคำนวณ 4 x 200 = 800 ลิตรต่อวัน และควรเผื่อฉุกเฉิน 2-3 วัน ดังนั้นถังน้ำสำหรับครอบครัว 4 คน จึงควรมีขนาด 1,500 – 2,500 ลิตร

อย่างไรก็ตาม การใช้น้ำของแต่ละคนไม่เท่ากันตามกิจกรรมที่แตกต่างกัน โดยอาจจะมากกว่าหรือน้อยกว่า 200 ลิตรต่อวันได้ การเลือกขนาดความจุของถังเก็บน้ำตามจำนวนสมาชิกในครอบครัว สามารถเริ่มต้นสำรองให้เพียงพอใช้ได้ใน 1 วัน ดังนี้

1. จำนวนผู้ใช้น้ำ 4 คน เลือกถังเก็บน้ำความจุ 800 ลิตร
2. จำนวนผู้ใช้น้ำ 5 คน เลือกถังเก็บน้ำความจุ 1,000 ลิตร
3. จำนวนผู้ใช้น้ำ 6 คน เลือกถังเก็บน้ำความจุ 1,200 ลิตร
4. จำนวนผู้ใช้น้ำ 7-8 คน เลือกถังเก็บน้ำความจุ 1,600 ลิตร
5. จำนวนผู้ใช้น้ำ 9-10 คน เลือกถังเก็บน้ำความจุ 2,000 ลิตร

มีช่องทางการสั่งซื้อง่ายๆมาแนะนำคะ

📲1. ช้อปผ่าน LINE : @wehomeonline
📥2. ช้อบผ่าน Inbox Facebook Page : m.me/WeHomeOnline
🛒3. LAZADA : https://www.lazada.co.th/shop/wehome-online

🛒4. NOCNOC :
🛒5. Shopee : https://shopee.co.th/wehomeonline
📞7. โทรหาเราสั่งของได้ 074-338-000

เสริมความปลอดภัยด้วยการล้อมรั้วลวดหนาม

การล้อมรั้วลวดหนาม เป็นรั้วอีกประเภทที่หลายท่านให้ความสนใจ และคุ้นเคยกัน โดยได้นำรั้วลวดหนามมากั้น และกำหนดขอบเขตของบ้าน ที่ดินว่าง สวนต้นไม้ หรือ สิ่งปลูกสร้างปุเภทต่างๆ เพื่อให้มีการแบ่งพื้นที่เป็นสันส่วนได้อย่างชัดเจน และป้องกันการบุกรุกจากบุคคลอื่น โดยแอดจะมาพูดถึง ลักษณะ ขนาด และ ประโยชน์ของลวดหนาม เพื่อไว้เป็นแนวทางในการตัดสินใจในการเลือกซื้ออุปกรณ์วัสดุต่าง ๆ

รายการ

ลักษณะของหนาม

ลวดหนามในปัจจุบัน มีรูปแบบการพันหนามอยู่ 2 แบบ ได้แก่

การพันเกลียวหนามแบบธรรมดา (Conventional)

เป็นการพันเกลียวลวดหนามแบบเก่า มีโอกาสที่หนามจะหลุด หรือเกลียวหนามอาจคลายได้ในส่วนของตัวเส้นลวดจะมีการพันเกลียวแบบหลวมๆ ไม่แน่น มีโอกาสที่ติดตั้งแล้วจะทำให้ลวดหนามหย่อนในอนาคต

การพันเกลียวหนามแบบไขว้สลับ (Reversed Twist)

เป็นนวัตกรรมแบบใหม่ ที่มีการพันเกลียวนามแบบไขว้สลับ ตัวหนามจะแน่นเป็นพิเศษ แข็งแรงไม่มีหลุด ที่สำคัญเส้นลวดจะมีการพันสลับที่แน่นกว่าแบบเดิม หรือแบบพันเกลียวปกติ ทำให้เพิ่มความแข็งแรงของลวดหนามที่พันเกลียวด้วยลักษณะนี้ ปัจจุบันในประเทศไทยเริ่มมีลวดหนามซิงค์อลูฯ ไวน์แมนก็มีการพันเกลียวหนามแบบไขว้สลับ ทำให้ขึงตึง ไม่หย่อน

ขนาดเบอร์ของลวดหนาม

ลวดหนามเบอร์ที่นิยมใช้ แต่ละเบอร์มีขนาดต่างกัน เบอร์ลวดหนามที่ใช้กันแพร่หลายมาจากมาตรฐาน SWG (Standard Wire Gauge) เป็นมาตรฐานของ British Standard Wire Gauge (BS3737 : 1964) ที่ใช้ในแบบสากล รวมถึงประเทศไทยก็ใช้มาตรฐานนี้ ในปัจจุบันนิยมใช้ลวดหนามเบอร์ 13 เบอร์ 14 และ เบอร์ 15

ตารางเทียบเบอร์ลวดหนามเป็นมิลลิเมตร ตามมาตรฐาน SWG

ประโยชน์ของการใช้ลวดหนาม

การนำวัสดุที่ทำจากลวดหนาม หรือเหล็ก มาใช้ในการล้อมรั้ว มีประโยชน์ ดังนี้

  1. ป้องกันการบุกรุกการล้อมรั้วด้วยลวดหนาม จะช่วยทำให้คุณสามารถป้องกันการบุกรุกพื้นที่บ้าน และส่วนต่าง ๆ ภายในที่ดินจากบุคคลภายนอก เพื่อป้องกันอันตรายและป้องกันการโจรกรรมภายในบ้าน นี่จึงเป็นข้อดีอย่างยิ่งที่หลายคนเลือกการล้อมรั้วลวดหนาม
  2. สร้างความสวยงามภายในบ้าน บางครั้งอาจมีการล้อมรั้วลวดหนาม เพื่อตกแต่งบ้าน หรือพื้นที่ภายนอกที่เหลือต่อการใช้ประโยชน์ต่าง ๆ โดยการล้อมรั้ว และปลูกต้นไม้ เพื่อประดับตกแต่งบ้านให้มีความสวยงามจากธรรมชาติ
  3. กำหนดขอบเขตบริเวณแบบชัดเจน เหตุผลหลักของการล้อมรั้วลวดหนามนั้น เพื่อกำหนดขอบเขตที่ชัดเจน สำหรับขอบเขตบริเวณบ้าน และที่ดิน เพื่อป้องกันการรุกล้ำในพื้นที่ส่วนตัวจากเพื่อนบ้าน หรือการทำประโยชน์จากผู้อื่นที่ไม่ใช่เจ้าของที่ดิน
  4. ราคาถูก แข็งแรงทนทานอีกหนึ่งเหตุผลที่หลายคนเลือกใช้รั้วลวดหนามเป็นตัวช่วยในการล้อมรั้ว เพราะวัสดุชนิดนี้มีราคาถูกมาก สามารถซื้อได้ในจำนวนที่มาก แถมยังมีประสิทธิภาพในความแข็งแรง ทนทาน ต่อสภาพอากาศ และใช้งานได้เป็นอย่างดี

การเคลือบสารกันสนิม หรือ การชุบซิงค์ของลวดหนามในปัจจุบันหลัก ๆ มีการเคลือบอยู่ ดังนี้

การชุบซิงค์แบบไฟฟ้า (Electro Galvanized)

กระบวนการผ่านกระแสไฟฟ้าเข้าไปในสารละลายเกลือของโลหะ (Metallic Salts) แล้วทำให้อิออนบวกวิ่งมารับประจุไฟฟ้าลบที่ชิ้นงาน ซึ่งทำหน้าที่เป็นขั้วลบ (Cathode) จึงทำให้เกิดเป็นชั้นผิวบางของโลหะมาเคลือบอยู่บนผิวด้านนอกของชิ้นงานการชุบซิงค์ จัดอยู่ในประเภทการชุบโลหะด้วยไฟฟ้า เป็นกระบวนการที่นิยมใช้กันมาก เนื่องจากสามารถนำโลหะ และอโลหะหลายชนิดมาทำการเคลือบผิว ในขณะเดียวกันก็สามารถเลือกโลหะที่จะนำมาเคลือบผิวได้หลากหลายชนิดด้วย ซึ่งการเคลือบในลักษณะนี้จะมีผิวเคลือบซิงค์ที่ค่อนข้างบางมาก ทำให้อายุการใช้งานของการชุบแบบนี้ อยู่ได้ไม่นานมากนัก อายุเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 6-12 เดือน

การชุบซิงค์อลูมิเนียม (ZnAl)

เป็นการป้องกันสนิมที่มีส่วนผสมของซิงค์และอลูมิเนียม (ZnAl) ทั้งนี้จะมีการระบุสัดส่วนและปริมาณอลูมิเนียมที่ผสม ปัจจุบันเทคโนโลยีที่ทันสมัยมากที่สุดคือ ซิงค์อลู 10% (ZnAl 10%) เพื่อเพิ่มความทนทานต่อการกัดกร่อน และเพิ่มอายุการใช้งานของเส้นลวด ทำให้ลวดหนามซิงค์อลูมีอายุการใช้งานยาวนานมากถึง 80 ปี*

การชุบซิงค์แบบจุ่มร้อน (Hot-Dipped Galvanized)

โดยปัจจุบันกระบวนการเคลือบสารกันสนิมหรือการชุบซิงค์ได้ถูกนำมาใช้ในวงการอุตสาหกรรมก่อสร้าง หรืออุตสาหกรรมชิ้นส่วนอุปกรณ์ไฟฟ้า การชุบซิงค์มีแบบจุ่มร้อน (Hot-Dipped Galvanized) ซึ่งปกติลวดหนามที่มีจำหน่ายในเมืองไทย ส่วนมากแล้วชุบซิงค์แบบจุ่มร้อน แต่จะชุบเพียงแค่ 20- 50 กรัมเพียงเท่านั้น ซึ่งเฉลี่ยแล้วสามารถทนสนิมได้นานแค่ 1-2 ปีเท่านั้น เนื่องจากเป็นปริมาณที่น้อยเกินไป ทำให้ปัจจุบันมีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง จนมีกระบวนการชุบซิงค์แบบจุ่มร้อนหนาพิเศษ

ในต่างประเทศได้เริ่มใช้ลวดหนามชุบซิงค์แบบจุ่มร้อนมานานหลายปีแล้ว การเคลือบสารป้องกันสนิมหรือชุบซิงค์แบบจุ่มร้อนหนาพิเศษนั้น จะมีการชุบซิงค์แบบจุ่มร้อนเฉลี่ย 235-250 กรัม/ตารางเมตร ในส่วนประเทศไทยนั้นเริ่มมีลวดหนามชุบซิงค์แบบจุ่มร้อนหนาพิเศษเพื่อเพิ่มอายุการใช้งานแล้วเช่นกัน อย่างแบรนด์ลวดหนามเทวดาที่มีจำหน่ายอยู่ ลวดหนามที่มีการชุบซิงค์แบบจุ่มร้อนหนาพิเศษทำให้มีอายุการใช้งานมากว่าลวดหนามทั่วไปในท้องตลาด เฉลี่ยอยู่ที่ 30 – 50 ปี

วิธีติดตั้งลวดหนาม

           สำหรับวิธีการสร้างรั้วลวดหนามนั้น เป็นวิธีที่สามารถทำได้ด้วยตนเอง เพราะมีขั้นตอนในการล้อมรั้วที่ไม่ซับซ้อน และไม่ต้องใช้ทักษะในด้านงานช่างสักเท่าไหร่นัก แต่หากคุณต้องการให้งานออกมาดี และมีประสิทธิภาพมากที่สุด ก็ควรจ้างช่างผู้รับเหมา เพื่อเข้ามาช่วยในการทำรั้วเหล่านี้

          วิธีการเลือกความสูงของเสา โดยจะมีขนาด 1 เมตร ไปจนถึง 3 เมตร ตามภาพเลยค่ะ โดยเสารั่ว รูจะห่าง 2 ซม

สำหรับอุปกรณ์ในการติดตั้ง ได้แก่

1. เสารั้ว ความสูงที่ต้องการ
2. คีมผูกลวด
3. ลวดผูกสำหรับยึดเสาค้ำ
4. สายวัด
5. ค้อน ไว้สำหรับตอกตัวกิ๊บล็อคลวดหนาม
6. กิ๊บล็อคลวดหนมาม
7. สายรัด ไว้ใช้สำหรับดึงลวดหนามให้ตรึง
8. ลวดหนามขนาดที่ลูกค้าต้องการ
9. ชะแลง ถ้าเกิดไม่มีชะแลงสามารถใช้จอบ และเสียมได้
10. เครื่องเจาะดิน (เป็นอุปรณ์ที่ทำให้สะดวกและเร็วกว่าการขุดเอง)

วิธีการติดตั้ง ลวดหนาม

1. ให้เราว่างเสาโดยกะระยะของแต่ละหลุมก่อนว่าเราจะวางห่างกันกี่เมตร
*แนะนำให้ว่างห่างกันตามความสูงของเสา เช่น เสาสูง 2 เมตร เราควรเจาหลุมอยู่ที่ 2 เมตร – 3 เมตร
* ถ้ากิดหางมากกว่านั้น ลวดหนามอาจจะหยุ่นได้แล้วเสาอาจจะล้มได้ค่

2. ให้เราขุดหลุม โดยใช้เครื่องเจาะดิน เพื่อความสำสะดวกและรวดเร็วเราควรเจาะลึกประมาณ 30-50 ซม. นะคะ และสำหรับพื้นไหนที่แห้งมากเราอาจจะใช้วิธีการเท่น้ำลงไปก่อน เพื่อให้ดินอ่อนตัวก่อนแล้วทำการเจาะอีกครั้งนะคะ หลังจากเราเจาะหลุมครบทุกต้นตามจำนวนที่เราต้องการแล้ว

3. ให้เราหย่อนเสาลงในหลุมให้ครบทุกหลุม ที่เราเจาะไว้ ถ้าเกิดหน้างานไหนดินแข็งอยู่แล้วไม่ใช้ที่ดินอุ้มน้ำตลอดเราใช้แค่ดินถมได้เลยค่ะไม่จำเป็นต้องเท่ปูนลงไปในหลุด
*หากพื้นที่ที่เป็นที่อุ้มน้ำแนะนำให้เท่ปูนลงหลุมเสาค้ำ และตรงหัวมุมค่ะเพื่อเพิ่มความมั่นคงให้กับเสามากขึ้นค่ะ เพราะตรงนี้จะรับน้ำหนักเยอะมากค่ะ

4. ส่วนของเสาค้ำเราจะใช้ 10 % จากจำนวนของเสารั้วทั้งหมด เช่น เราใช้เสา 100 ต้น ก็จะค้ำอยู่ 10 ต้นนะคะ โดยจะค้ำ ทุกๆ 10-15 ต้นค่ะ และจะเริ่มค้ำตั้งแต่ต้นแรกเลยค่ะ เสาค้ำจะช่วยเสริมให้ด้านความแข็งแรงของเสาที่รับน้ำหนักนะคะ โดยเราจะต้องค้ำทุกๆ 10-15 ต้น
** เสาคำเราจะใช้เสาแบบเดียวกันกับเสารั้วก็ได้ค่ะ โดยเสค้ำเราจะใช้ลวดสอดเข้าไปตรงรูสุดท้ายของเสาและก็ ม้วนลงมากว่าตรงเสาที่เราต้องการจะค้ำเลยค่ะ

5. ลำดับต่อไปเป็นวิธีการ ขึงลวดหนามโดยที่เราจะขึงลวดหนามให้ตรงตำแหน่งที่เราจะขึงลวดหนามก่อน หลังจากนั้นเราจะนำสายลัดพันกับลวดหนามเพื่อที่จะดึงลวดหนามให้ตรึง

6. จากนั้นให้เรานำกิ๊บล็อกสอดเข้าไปในรูเพื่อยึดลวดหนามเข้ากับเสารั่ว และจะใช้ค้อนช่วยตอกเข้าไปให้ทะลุอีกฝั่งและเราใช้คีมหรือค้อนเมือนเดิมในการพับกิ๊บอีกฝั่ง

- 13%
Original price was: ฿795.00.Current price is: ฿690.00.
- 13%
- 14%
- 15%
- 9%

          วิธีนี้เป็นวิธียอดนิยมอาจจะใช้การติดตั้งนานหน่อยแต่จะทำให้ลวดหนามยึดติดกับรั้วเรานานมากๆเลยค่ะ และเราก็ทำแบบเดิมไปเลื่อยๆจนเสร็จสิ้นการป้องการพื้นที่ของเราให้มีความปลอดภัยค่ะ

          เป็นยังไงกันบ้างค่ะ สำหรับ บทความ เสริมความปลอดภัยด้วยการล้อมรั้วลวดหนาม ค่ะ แอดหวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ให้กับหลายๆ ท่านกันนะคะ

ขอขอบคุณบทความดีๆจาก

https://vinemanfence.com/what-is-barbed-wire-fence/

https://www.kacha.co.th/articles/รั้วลวดหนาม-คืออะไร-ข้อ/

เลือกใช้สายไฟให้เหมาะสมกับบ้านคุณ

เลือกใช้สายไฟให้เหมาะกับบ้านของคุณ
เลือกใช้สายไฟให้เหมาะกับบ้านของคุณ

การเลือกใช้สายไฟให้เหมาะสมกับบ้านของคุณ หรือสำนักงาน นับว่าเป็นเรื่องที่ต้องใช้ความระมัดระวังเป็นอย่างสูง โดยปกติช่างที่ผ่านการอบรมมาจะมีความรู้ในเรื่องการใช้สายไฟอยู่แล้ว แต่หากมีการซื้อสายไฟโดยให้คนที่ไม่มีความรู้ไปซื้ออาจเกิดข้อผิดพลาดได้ ดังนั้นการเลือกใช้สายไฟให้เหมาะสมกับบ้าน จึงมีข้อควรรู้มากมาย ไม่ว่าจะเป็น ประเภทของสายไฟ ว่ามีกี่ประเภท สายไฟแต่ละประเภทสามารถใช้ไฟฟ้า กี่โวทล์ ใช้ทำ อะไรได้บ้าง

ประเภทของสายไฟ

สายไฟจะแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ สายสำหรับไฟแรงดันต่ำและสำหรับไฟแรงดันสูง ซึ่งสายไฟที่ใช้ตามอาคารบ้านเรือนจัดอยู่ในประเภทสายไฟแรงดันต่ำ สำหรับในประเทศไทยนั้น สายไฟแรงดันต่ำจะต้องเป็นไปตามมาตรฐาน มอก.11-2531 หรือ TIS-11-2531 ตามมาตรฐานแล้วสายไฟแรงดันต่ำจะต้องมีหลายขนาด (พื้นที่หน้าตัด) ตั้งแต่ขนาดเล็กจนถึงขนาดใหญ่ ซึ่งจะต้องทนแรงดันไฟฟ้าได้ตั้งแต่ 300 โวลต์ ถึง 750 โวลต์ มีลักษณะเป็นสายหุ้มฉนวน ทำด้วยทองแดงหรืออลูมิเนียม โดยทั่วไปแล้วจะเป็นสายทองแดงขนาดเล็กจะเป็นตัวนำตัวเดียว แต่สายขนาดใหญ่เป็นตัวนำตีเกลียว วัสดุฉนวนที่ใช้กับสายแรงดันต่ำ คือ Polyvinyl Chloride (PVC) และ Cross –Linked Polyethylene (XLPE) ได้แก่ สาย THW,VAF, VAF-GRD,NYY,NYY-GRD,0.6/1KV-CV,VCT,VCT-GRD,VSF,AV,VFF,VKF

*สายไฟตามมาตรฐาน มอก.11-2531 จะแบ่งเป็นประเภทตามขนาด ความทนแรงดันไฟและการใช้งานได้*

1. สายไฟฟ้าแรงดันต่ำ (Low Voltage Power Cable)

  • สายไฟที่ใช้กับแรงดันไฟฟ้าที่ไม่เกิน 750 โวทล์ (750V)
  • สายไฟนั้นทำด้วยทองแดงหรืออลูมิเนียม แต่โดยทั่วไปจะเป็นสายทองแดง
  • สายขนาดเล็กจะเป็นสายตัวนำเดี่ยว และสายขนาดใหญ่จะเป้นตัวนำตีเกลียว
  • ฉนวนที่ใช้งานจะเป็น PVC และ XLPE

1.1 สายไฟชนิด THW

สายไฟชนิด THW จะเป็นสายไฟชนิดแรงดันต่ำ รองรับแรงดันได้ 750V เป็นสายชนิดเดี่ยว มีการใช้งานอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะในโรงงานอุตสาหกรรม เนื่องจากนำไปใช้ในวงจรไฟฟ้า 3 เฟสได้ ซึ่งสายไฟชนิดนี้ไม่เหมาะสำหรับการเดินฝังดินโดยตรง และเมื่อต้องการเดินลอยจะต้องยึดสายด้วย Insulator ด้วย

1.2 สายไฟชนิด VAF

สายไฟชนิด VAF จะเป็นสายไฟชนิดแรงดันต่ำ สามารถทนแรงดันได้ 300V มีทั้งชนิดสายเดี่ยว สายคู่ และแบบสามสายที่รวมสายดินไปด้วย โดยที่แต่ละสายก็จะมีฉนวนหุ้ม และมีเปลือกหุ้มที่เป็นฉนวนอยู่อีกชั้นหนึ่งด้านนอก เป็นสายไฟชนิดที่นิยมในการเดินภายในบ้านทั่วไป แต่ไม่สามารถใช้งานในการติดตั้งไฟฟ้า 3 เฟสได้ เพราะไม่สามารถรองรับแรงดันที่ 380V ได้ ยกเว้นจะติดตั้งแบบแยกเป็นแบบ 1 เฟส และใช้แรงดัน 220V

สายไฟชนิด VAF-02

1.3 สายไฟชนิด VCT

สายไฟชนิด VCT จะเป็นสายไฟชนิดแรงดันต่ำ สามารถทนแรงดันได้ 750V ตัวสายมีลักษณะกลม มีทั้งชนิด 1 ,2 แกน, 3 แกน และ 4 แกน โดยจุดเด่นของสายชนิดนี้คือจะเป็นสายที่ประกอบด้วยสายทองแดงฝอยเส้นเล็กๆ จึงทำให้สายมีความอ่อนตัวและทนต่อการสั่นสะเทือนได้ดี และยังเป็นสายที่สามารถต่อลงดินได้

1.4 สายไฟชนิด NYY

สายไฟชนิด NYY เป็นสายไฟชนิดกลมที่สามารถทนแรงดันได้ 750V มีทั้งแบบแกนเดียว และหลายแกน เป็นสายที่นิยมใช้เป็นอย่างมาก เพราะเป็นสายที่มีเปลือกหุ้มอีกชั้น จึงสามารถป้องกันความเสียหายทางกายภาพได้ดีโดยสายชนิดนี้สามารถเดินฝังใต้ดินได้

สายไฟชนิด NYY-02

2. สายไฟฟ้าแรงดันสูง (High Voltage Power Cable)

  • จะเป็นสายชนิดตีเกลียวที่มีขนาดใหญ่
  • สายชนิดนี้จะมีทั้งสายแบบทั้งแบบเปลือยและหุ้มฉนวน
  • สายไฟสามารถรับแรงดันได้ตั้งแต่ 1 KV ~ 36KV

2.1 สายไฟฟ้าอลูมิเนียมตีเกลียวชนิดเปลือย (AAC)

เป็นสายที่ใช้ตัวนำเป็นอะลูมิเนียมพันตีเกลียวเป็นชั้นๆ สายชนิดนี้สามารถรับแรงดันได้ต่ำ จึงไม่สามารถขึงสายให้กับเสาที่มีระยะห่างมากๆ ได้ โดยทั่วไปจะไม่เกิน 50m ยกเว้นสายที่มีขนาด 95 mm. ขึ้นไปอาจจะขึงได้ถึง 100 m.

2.2 สายไฟฟ้าอลูมิเนียมชนิดผสม (AAAC)

เป็นสายที่ผสมตัวนำจากหลายวัสดุ ทั้งอลูมิเนียม แมกนีเซียม และซีลิกอน ทำให้มีความเหนียวและแรงดันได้สูงกว่า สายอลูมิเนียมล้วน ๆ ทำให้ขึงสายได้ในระยะห่างได้มากขึ้น และทนต่อการกัดกร่อนของไอเกลือได้ดี จึงนิยมใช้เดินสายในบริเวณชายทะเล

2.3 สายไฟฟ้าอลูมิเนียมชนิดแกนเหล็ก (ACSR)

เป็นสายไฟที่ใช้ตัวน้ำเป็นอลูมิเนียมตีเกลียว และมีสายเหล็กอยู่ตรงกลาง ทำให้สามารถรับแรงดึงได้สูงขึ้น ทำให้สามารถขยายระยะห่างระหว่างเสาในการขึงได้มากขึ้น แต่สายชนิดนี้ไม่ทนต่อการกัดกร่อนของไอเกลือ จึงไม่ควรใช้งานบริเวณชายทะเล

2.4 สาย Partial Insulated Cable (PIC)

เป็นสายไฟชนิดที่นำมาใช้แทนสายเปลือย เพราะสายเปลือยมีโอกาสที่ไฟฟ้าลัดวงจรได้ง่าย โดยสายชนิดนี้ประกอบด้วยตัวนำอะลูมิเนียมตีเกลียว แล้วหุ้มด้วยฉนวน XLPE แต่ถึงแม้ว่าสายนี้จะหุ้มฉนวนจริง แต่เป็นเพียงฉนวนที่ช่วยป้องกันการลัดวงจรเพียงเท่านั้น ห้ามสัมผัสโดยตรง

สายไฟชนิด SAC

2.5 สาย Space Aerial Cable (SAC)

เป็นสายไฟที่มีอลูมิเนียมตีเกลียวเป็นตัวนำ และหุ้มด้วยฉนวน XLPE เช่นเดียวกันกับสายไฟชนิด PIC แต่จะมีเปลือกหุ้มอีกชั้นหนึ่งทำให้มีความทนทานมากกว่าสายชนิด PIC แต่ถึงแม้ว่าจะหุ้มเปลือกอีกชั้น ก็ไม่ควรแตะต้องโดยตรงเช่นกัน แต่สายชนิดนี้ก็สามารถวางใกล้กันได้มากกว่าสาย PIC

2.6 สาย Preassembiy Aerial Cable (PAC)

เป็นสายไฟที่จัดเป็นสายชนิด Fully Insulated มีโครงสร้างใกล้เคียงกับสายไฟชนิด XLPE มีตัวนำเป็นอลูมิเนียม มีความทนทานมาก เป็นสายที่วางใกล้กันได้ สามารถเดินผ่านอาคารหรือบริเวณที่มีคนอาศัยอยู่ หรือวางพาดไปกับมุมตึกได้

2.7 สาย Cross-linked Polyethylene (XLPE)

เป็นสายที่นิยมใช้มากที่สุดในปัจจุบัน จัดเป็นสายชนิด Fully Insulated ที่มีส่วนประกอบหลายส่วน ดังนี้
1. ตัวนำ : โดยส่วนใหญ่จะเป็นทองแดงตีเกลียว ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปแบบของ Copper Concentric Strand หรือ Copper Compact Strand
2. ชีลด์ของตัวนำ : ทำจากสารกึ่งตัวนึง ทำให้สนามไฟฟ้าระหว่างตัวนำกับฉนวนกระจายได้อย่างสม่ำเสมอ ช่วยลดการเกิด Breakdown
3. ฉนวน : เป็นชั้นที่หุ้มห่อชั้นชีลด์ของตัวน้ำอีกชั้นหนึ่งทำด้วยฉนวน XLPE
4. ชีลด์ของฉนวน : เป็นชั้นที่หุ้มทับชั้นของฉนวนอีกที และหุ้มด้วยชั้นของลวดทองแดง หรือเทปทองแดงอีกที เพื่อจำกัดสนามไฟฟ้าให้อยู่ภายในสายเคเบิ้ล ป้องกันการรบกวน และการต่อชีลด์ลงดินจะช่วยลดอันตรายจากการสัมผัสถูกสายเคเบิ้ลด้วย ทำให้การกระจายของแรงดันอย่างสม่ำเสมอ
5. เปลือกนอก : โดยทั่วไปจะหุ้มด้วยพลาสติก PVC หรือ PE ขึ้นอยุ่กับลักษณะของงาน โดยทั่วไปถ้าใช้งานกลางแจ้งจะใช้เป็น PVC ส่วน PE มักจะใช้กับการเดินลอย เพราะมีความทนทานต่อสภาพอากาศ และถ้าหากเดินใต้ดินอาจจะมีชั้นของ Service Tape อาจจะทำด้วยผ้า คั่นระหว่างชีลด์กับเปลือกนอกช่วยป้องกันการเสียดสีและกระทบกระแทก

เลือกใช้สายไฟให้เหมาะสมกับประเภทของงานคุณ

1. สายไฟสำหรับติดตั้งภายในบ้าน หรือ อาคาร

การเลือกสายไฟสำหรับ บ้านพักอาศัย หรือ อาคารขนาดเล็ก สิ่งสำคัญที่สุดคือ เรื่องความปลอดภัยและคุณภาพของการผลิตที่ได้มาตรฐาน มอก. และ มาตรฐานระดับสากล IEC เพราะสายไฟในกลุ่มประเภท Household รวมไปถึงสายโทรศัพท์ เป็นสายไฟที่ใกล้ตัวผู้อยู่อาศัยมากที่สุด และอยู่รอบตัวของผู้ใช้ตลอดเวลา ดังนั้นควรเลือกใช้สายไฟฟ้าที่ผลิตได้ถูกต้องตรงมาตรฐานกำหนด คุณภาพสูง และ มีความปลอดภัยสูงสุด เพื่อให้ปลอดภัยต่อผู้ใช้งาน นอกจากนั้นควรพิจารณาถึงวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตด้วย ซึ่งได้แก่

  • ตัวนำทองแดง มีค่าความนำไฟฟ้าที่ดีเยี่ยม โดย Phelps dodge เลือกใช้ทองแดงบริสุทธิ์ 99% ซึ่งเป็นเกรดที่ดีที่สุด
  • ฉนวนและเปลือกสายไฟต้องเลือกใช้ PVC เกรดพิเศษที่สามารถทนอุณหภูมิความร้อนได้ตรงตามมาตรฐานกำหนด เพื่อให้กระแสไฟฟ้าไม่รั่วไหลมาทำอันตรายแก่ผู้ใช้งาน และสายไฟมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน สำหรับสายไฟในกลุ่ม Household จะมีแรงดันไฟฟ้าตั้งแต่ 300V-750V ได้แก่ สาย 60227 IEC01 (THW),VCT,VAF,NYY

2. สายไฟฟ้าสำหรับระบบสาธารณูปโภค

สายไฟฟ้าในระบบสาธารณูปโภค เป็นระบบที่สำคัญในการเชื่อมโยง ระบบไฟฟ้าแรงสูงจากโรงผลิตไฟฟ้า เปรียบเสมือนเส้นเลือดใหญ่แห่งพลังงานไฟฟ้า ที่เชื่อมต่อให้ประชาชนทั่วประเทศ ดังนั้นสายไฟฟ้าและสายเคเบิ้ลที่ใช้งานเพื่อเป็นสายส่งนั้น ต้องมีความปลอดภัยสูงสุด มีสภาพพร้อมใช้งานตลอดเวลา ดังนั้นควรเลือกใช้สายไฟฟ้าที่ผลิตได้ถูกต้องตรงมาตรฐานกำหนด คุณภาพสูง และ มีความปลอดภัยสูงสุด เพื่อให้ปลอดภัยต่อผู้ใช้งาน นอกจากนั้นควรพิจารณาถึงวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตด้วย ซึ่งได้แก่

  • ตัวนำทองแดง มีค่าความนำไฟฟ้าที่ดีเยี่ยม โดย Phelps dodge เลือกใช้ทองแดงบริสุทธิ์ 99% ซึ่งเป็นเกรดที่ดีที่สุด
  • ฉนวนของสายไฟเป็นฉนวน Cross-linked polyethylene(XLPE) ที่ต้องมีความทนทาน และทนความร้อนได้สูงถึง 90 องศาเซลเซียส
    สายไฟที่่ใช้ในงานสาธารณูปโภค โรงไฟฟ้า สถานีไฟฟ้า การไฟฟ้า การส่งจ่ายกำลังไฟฟ้าบนดินและใต้ดิน นั้นจะประกอบไปด้วยสายไฟฟ้าแรงดันปานกลาง สายไฟฟ้าแรงดันสูง และสายไฟฟ้าแรงดันสูงพิเศษ รวมไปถึงสายไฟฟ้าที่ต้องการคุณสมบัติพิเศษเพื่อป้องกันน้ำ ป้องกันไอระเหยหรือการกัดกร่อนจากสารเคมี และอาจมีการเสริมโครงสร้างโลหะเพื่อรับแรงกระแทกที่อาจเกิดขึ้นจากการติดตั้ง โดยเป็นสายไฟฟ้าแรงดันสูงตั้งแต่ 36kV – 170kV และ สายไฟแรงดันสูงพิเศษ 230 kV ขึ้นไป

3.สายไฟที่ใช้ในงานอาคารสูง อาคารสาธารณะ อาคารขนาดใหญ่พิเศษ

การติดตั้งสายไฟภายในอาคารสูง โรงงาน หรือ อาคารสาธารณะ ต้องเริ่มจากการออกแบบให้เป็นไปตามข้อกำหนดของมาตรฐานที่เป็นที่ยอมรับและต้องเลือกใช้สายไฟฟ้าที่ได้มาตรฐานกำหนด เพราะความปลอดภัยของผู้ใช้งานเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด
ดังนั้นควรเลือกใช้สายไฟฟ้าที่ผลิตได้ถูกต้องตรงมาตรฐาน คุณภาพสูง และ มีความปลอดภัยสูงสุด เพื่อให้ปลอดภัยต่อผู้ใช้งาน นอกจากนั้นควรพิจารณาถึงวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตด้วย ซึ่งได้แก่

  •  ตัวนำทองแดง มีค่าความนำไฟฟ้าที่ดีเยี่ยม โดย Phelps dodge เลือกใช้ทองแดงบริสุทธิ์ 99% ซึ่งเป็นเกรดที่ดีที่สุด
  • ฉนวนของสายไฟเป็นฉนวน Cross-linked polyethylene(XLPE) ทึ่ต้องมีความทนทาน และทนความร้อนได้สูงถึง 90 องศาเซลเซียส
    สายไฟบางชนิดควรมีโครงสร้างโลหะเพื่อสามารถรับแรงกระแทกที่เกิดจากติดตั้งสำหรับสายไฟในกลุ่ม Building and Construction จะเป็นสายไฟชนิด Low Voltage โดยมีแรงดันไฟฟ้าไม่เกิน 1,000V เช่น สาย CV,CV-AWA,CV-SWA เป็นต้น

4. สายไฟที่ใช้ในอุตสาหกรรมทั่วไป ตลอดจนอุตสาหกรรมปิโตรเคมี วัสดุพอลิเมอร์ น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ

การออกแบบและติดตั้งสายไฟฟ้าในระบบอุตสาหกรรมทั่วไป ตลอดจนอุตสาหกรรมปิโตรเคมี วัสดุพอลิเมอร์ น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ ต้องคำนึงถึงประเภทของสายไฟชนิดพิเศษที่มีความเหมาะสมต่อระบบอุตสาหกรรม เครื่องจักรที่ใช้งาน ระบบรักษาความปลอดภัย ระบบป้องกันไฟไหม้

เพื่อให้กระบวนการผลิตในอุตสาหกรรมเป็นไปได้อย่างถูกต้อง สะดวก และ ปลอดภัยสูงสุด ดังนั้นควรเลือกใช้สายไฟฟ้าที่ผลิตได้ถูกต้องตรงมาตรฐานกำหนด คุณภาพสูง และ มีความปลอดภัยสูงสุด เพื่อให้ปลอดภัยต่อผู้ใช้งาน นอกจากนั้นควรพิจารณาถึงวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตด้วย ซึ่งได้แก่

  • ตัวนำทองแดง มีค่าความนำไฟฟ้าที่ดีเยี่ยม โดย Phelps dodge เลือกใช้ทองแดงบริสุทธิ์ 99% ซึ่งเป็นเกรดที่ดีที่สุด
  •  ฉนวนของสายไฟเป็นฉนวน Cross-linked polyethylene(XLPE) ที่ต้องมีความทนทาน และทนความร้อนได้สูงถึง 90 องศาเซลเซียส
    สายไฟในกลุ่ม Industrial,Oil&Gas and Petrochemical ประกอบไปด้วยสายไฟฟ้าแรงดันต่ำ สายไฟฟ้าแรงดันปานกลาง และสายไฟฟ้าแรงดันต่ำที่มีคุณสมบัติพิเศษชนิดทนไฟ ไม่ลามไฟ มีควันน้อย และไม่มีก๊าซพิษ รวมไปถึงสายไฟฟ้าที่ต้องการคุณสมบัติพิเศษเพื่อป้องกันน้ำ ป้องกันไอระเหยหรือการกัดกร่อนจากสารเคมี และอาจมีการเสริมโครงสร้างโลหะเพื่อรับแรงกระแทกที่อาจเกิดขึ้นจากการติดตั้ง

ประโยชน์ของการเลือกใช้สายไฟที่ถูกต้อง

สายไฟที่มีคุณภาพ ปัจจุบันไฟฟ้าเป็นสิ่งที่จำเป็นและอยู่รอบตัวเรา เราใช้ไฟฟ้าตลอด 24 ชั่วโมงทุกๆวัน ไฟฟ้าจึงเป็นสิ่งที่ให้ประโยชน์ แก่ มนุษย์อย่างมหาศาล อย่างไรก็ตามแม้ว่าไฟฟ้าจะให้ประโยชน์มากมายเพียงใด หากใช้อย่างไม่ระมัดระวัง ใช้ด้วยความประมาท ก็อาจทำให้เกิดอันตรายร้ายแรงต่อชีวิตและทรัพย์สินได้เช่นกัน การใช้ไฟฟ้าจึงต้องให้ความสำคัญกับเรื่องของความปลอดภัยเป็นอันดับแรก

สายไฟฟ้าทำหน้าที่เป็นทั้งตัวนำพลังงานไฟฟ้ามาให้เราใช้งานและขณะเดียวกันก็ทำหน้าที่ปกป้องเราจากอันตรายของไฟฟ้าด้วย สายไฟฟ้าที่ไม่ได้คุณภาพมักจะผลิตจากวัตถุดิบคุณภาพต่ำ หรือคุณลักษณะไม่ผ่านตามมาตรฐาน เช่น ขนาดตัวนำทองแดงหรือความหนาฉนวนต่ำกว่ามาตรฐาน ซึ่งส่งผลให้สายไฟฟ้าไม่สามารถทนแรงดันไฟฟ้าหรือจ่ายกระแสไฟฟ้าได้ตามที่มาตรฐานกำหนด เมื่อนำมาใช้งานก็อาจเกิดความร้อนสูงหรือเกิดลัดวงจร เป็นอันตรายร้ายแรงขึ้นได้ ดังนั้นการเลือกใช้สายไฟฟ้าจึงไม่ควรพิจารณาเพียงราคาถูกที่สุดหรือใช้สายอะไรก็ได้ แต่จำเป็นต้องเลือกใช้สายไฟที่มีความน่าเชื่อถือ และมีคุณภาพมาตรฐานระดับสากล เพื่อปกป้องชีวิตและทรัพย์สินของคุณจากอันตรายที่อาจเกิดจากการใช้ไฟฟ้าในแต่ละวัน

ตารางตัวอย่างการใช้งานของสายไฟแต่ละเส้น

สินค้าแนะนำ

- 27%
Original price was: ฿1,586.00.Current price is: ฿1,159.00.
- 20%
Original price was: ฿570.00.Current price is: ฿455.00.
- 46%
Original price was: ฿15,589.00.Current price is: ฿8,449.00.
- 39%
Original price was: ฿2,650.00.Current price is: ฿1,620.00.
- 31%
Original price was: ฿699.00.Current price is: ฿479.00.
- 27%
Original price was: ฿6,433.00.Current price is: ฿4,679.00.
- 27%
Original price was: ฿4,489.00.Current price is: ฿3,269.00.
สินค้าหมดแล้ว
สินค้าหมดแล้ว
สินค้าหมดแล้ว

เป็นยังไงกันบ้างคะ กับบทความ “เลือกใช้สายไฟให้เหมาะสมกับบ้านคุณ” ที่เราได้นำความรู้เกี่ยวกับประเภทของสายไฟ ที่ทุกคนต้องควรรู้ ไม่ว่าจะเป็น ประเภทสายไฟแรงดันต่ำ หรือแรงดันสูง แล้วยัง บอกถึงการใช้สายไฟให้เหมาะกับหน่วยงานต่างๆอีกด้วย

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ facebook fanpage : “WeHome วีโฮม เพื่อนบ้านที่เข้าใจคุณ” แอดมินยินดีให้คำปรึกษานะคะ

ขอบคุณข้อมูล และภาพจาก : http://www.pdcable.com/บทความ/สายไฟ-คืออะไร/

https://www.cablegland-center.com/power-cable/

วิธีการสั่งซื้อทางช่องอื่น : 📲1. ช้อปผ่าน LINE : @wehomeonline

📥2. ช้อบผ่าน Inbox Facebook Page : m.me/WeHomeOnline

🌍3. ช้อปผ่านเว็บไซต์ https://www.wehome.co.th ตลอด 24 ชม.

🛒4. ช้อปผ่าน LAZADA : https://www.lazada.co.th/shop/wehome-online

🛒5. ช้อปผ่าน Shopee : https://www.shopee.co.th/ wehomeonline

🛒6. ช้อปผ่าน JD CENTRAL : https://www.jd.co.th/shop/pc/27676.html

🛒7. ช้อปผ่าน NOC NOC  :

📞8. โทรหาเราสั่งของได้ 074-338-000

ทำไมต้องเลือกใช้เทปกันเสียง?

เทปกันเสียง Noise Zeal SCG
เทปกันเสียง Noise Zeal SCG

นอกจากการได้อาศัยอยู่ในบ้านที่สวยงาม กว้างขวาง ปลอดโปร่ง เป็นสัดส่วนแล้ว คุณภาพชีวิตของสมาชิกทุกคนในบ้านจะดีขึ้น และมีความสุขได้มากยิ่งขึ้นไปอีกหลายเท่า เมื่อเราจัดการควบคุม “ปัญหาเสียงรบกวน” ได้เป็นอย่างดี ซึ่งหลายๆ คนมักมองข้ามเรื่องนี้ไป จนทำให้เป็นจุดรบกวนเล็กๆ สะสมกลายเป็นปัญหาใหญ่ ทำให้การอยู่อาศัยไม่มีความสุขได้ในที่สุด

ทั้งนี้ ปัญหาเสียง จึงต้องควบคุมโดย เทปกันเสียง (Noise Zeal) เป็นเทปสำหรับใช้ติดบริเวณประตู-หน้าต่าง เพื่อแก้ไขปัญหาเสียงดังจากภายนอกที่ลอดทะลุผ่านเข้ามาสร้างความรบกวนภายในบ้าน คอนโด หรือว่าห้องทำงานในออฟฟิศ โดย เทปกันเสียง (Noise Zeal) เป็นผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากยางวิศวกรรมคุณภาพสูงชนิดเดียวกันกับที่ใช้ในประตูรถยนต์ เพื่อป้องกันเสียงดังจากภายนอกถนน ไม่ให้ดังเข้ามาด้านในตัวรถ ซึ่งเป็นนวัตกรรมจากประเทศญี่ปุ่น จึงทำให้มั่นใจได้ว่า เทปกันเสียง (Noise Zeal) ได้รับการพัฒนานำมาใช้กับประตู-หน้าต่างในบ้าน จึงสามารถป้องกันเสียงดังจนทำให้เสียงดังที่เคยได้ยินนั้นลดลงแบบรู้สึกได้ทันที แต่ทั้งนี้ คุณประโยชน์ของ เทปกันเสียง (Noise Zeal) นั้นก็ไม่ได้จำกัดอยู่เพียงแค่การแก้ไขปัญหาเสียงดังเท่านั้น แต่ยังช่วยแก้ปัญหาอื่นๆ ได้อีกหลายอย่าง

เทปกันเสียงมีข้อดีอะไรบ้าง?

คุณสมบัติข้อดีโดดเด่นที่ไม่เหมือนกันด้วย ทั้งนี้ เทปกันเสียง (Noise Zeal) SCG นั้น มีข้อดีเด่นด้วยกันอยู่ 7 ประการ ที่แตกต่างจากแบรนด์อื่นๆ ดังต่อไปนี้

1. ผลิตจากยางคุณภาพลดเสียงดังป้องกันเสียงได้จริง

ผลิตจากยางวิศวกรรมคุณภาพสูง ซึ่งเป็นนวัตกรรมจากประเทศญี่ปุ่น แบบเดียวกันกับที่ใช้ติดประตูรถยนต์ เพื่อป้องกันไม่ให้เสียงบนท้องถนนดังทะลุผ่านเข้ามาในตัวรถได้ จึงมั่นใจได้ว่ามีประสิทธิภาพในการกันเสียงได้จึง ซึ่งสามารถลดเสียงดังได้สูงสุดถึง 5 เดซิเบล หรือ รู้สึกว่าเสียงดังเบาลงกว่าเดิมได้ทันทีที่ติดตั้งเสร็จ

2. รองรับการใช้งานได้กับประตูหน้าต่างหลายรูปแบบ

ใช้สำหรับติดบริเวณประตูหน้าต่าง ซึ่งเป็นหนึ่งในทางผ่านสำคัญของเสียงดังที่จะทะลุเข้ามาตามช่องวงกบ หรือ รางเลื่อนได้ ซึ่งไม่ว่าที่บ้าน หรือห้องคอนโดจะใช้หน้าต่างประตูแบบบานพับ บานสวิง บานกระทุ้ง หรือว่าเป็นบานเลื่อนแบบสไลด์ ก็สามารถติดตั้งเทปกันเสียง SCG เพื่อแก้ไขปัญหาเสียงดังได้ทั้งหมด

3. ติดตั้งง่าย ไม่ต้องง้อช่าง

เทปกันเสียง Noise Zeal ได้รับการออกแบบมาให้ใช้งานง่ายมากๆ ใครก็ติดตั้งตั้งได้เอง ไม่ต้องจ้างช่าง โดยวิธีการติดตั้ง ก็จะเหมือนการใช้งานเทปกาวทั่วไป คือ ลอกตัวเทปยางออก แล้วติดลงไปตามแนววงกบประตูหน้าต่าง หรือหากเป็นประตูหน้าต่างแบบบานเลื่อน ก็ติดไปที่ด้านประตูฝั่งที่จะเลื่อนมาปิด โดยเว้นตรงตัวล็อกไว้ เพื่อให้ปิดประตูล็อกได้ตามปกติ เพียงเท่านี้ก็เป็นอันเสร็จเรียบร้อย

4. ลอกออกไม่ทิ้งคราบ เหมาะกับชาวคอนโด

กาวของเทปกันเสียง SCG เป็นกาวคุณภาพพิเศษ ที่ลอกออกแล้วไม่ทิ้งคราบ และยังติดแน่นทนทาน ซึ่งด้วยคุณภาพของการลอกออกไม่ทิ้งคราบนี้เอง  จึงทำให้ติดตั้งง่าย เพราะหากติดพลาดก็ไม่ต้องกลัวเสียของ  สามารดึงออกแล้วติดใหม่ได้เลยโดยที่ยังคงความเหนียวสนิทแน่นเหมือนเดิม ในขณะเดียวกันเมื่อไม่ทิ้งคราบเวลาต้องดึงออก และเป็นการติดตั้งแบบไม่ต้องตอก เจาะ อะไรเพิ่ม จึงเหมาะกับชาวคอนโด หรือผู้ที่อยู่ห้องเช่าแล้วมีปัญหาเพื่อนข้างห้องเสียงดัง เพราะติดตั้งได้ง่าย ไม่เสี่ยงก่อให้เกิดความเสียหายกับประตูหน้าต่างใดๆ

5. อายุการใช้งานยาวนาน

ด้วยความเป็นยางวิศวกรรมคุณภาพจากนวัตกรรมการผลิตของญี่ปุ่น จึงทำให้เทปกันเสียง Noise Zeal SCG มีความแข็งแรงทนทาน มีความยืดหยุ่น ทนต่อแรงกระแทกของการปิดประตูหน้าต่างได้เป็นอย่างดี มีอายุการใช้งานยาวนาน ติดตั้งเพียงครั้งเดียว ก็แก้ปัญหาเสียงดังไปได้ยาวนานเป็น 10 ปี

ตารางรายละเอียดเทปกันเสียง

เทปกันเสียงป้องกันอะไรได้บ้าง?

ติดตั้งเทปกันเสียงต้องทำไง?

        ในการติดตั้ง เทปกันเสียง (Noise Zeal) นั้น มีความสะดวกและง่ายเป็นกันกับการติดสก็อตเทป โดยมีขั้นตอนเพียงแค่ 3 ขั้นตอน

เช็คบานพับ และบานสไลด์ Noise Zeal

1. เช็ดทำความสะอาด

    ทำความสะอาดบริเวณวงกบหน้าต่าง ประตู หรือขอบประตูที่จะติดตั้งไม่ให้มีคราบน้ำมัน หรือ ฝุ่นตกค้างแล้วเช็คให้แห้งสนิท

ลอกเทปกันเสียง Noise Zeal

2. ลอกออกไม่ทิ้งคราบ

     ลอกกระดาษสีขาวออก ติดเทปดำแนบไปตามวงกบหน้าต่าง/วงกบประตูบานพับ หรือร่องหน้าต่าง/ร่องประตูบานสไลด์ตลอดความยาวของหน้าต่าง/ประตูนั้น

3. ติดเทปเข้ากับร่อง

    ใช้มือกดตัวเทป Noise Zeal สีดำไปตามวงกบ หรือ ร่องของประตู-หน้าต่างนั้นๆ โดยกดให้แน่นสนิทไปกับบริเวณที่ติดตั้งตลอดความยาวเทป

ติดเทปกันเสียง Noise Zeal (2)

4. ตัด หรือต่อเทป กรณียาวเกิน หรือสั้นไป

     กรณีความยาวเทปเกินความยาวหน้าต่าง หรือประตู สามารถตัดออกให้พอดีโดยใช้คัตเตอร์ หรือกรรไกรติด และหาความยาวเทปไม่เพียงพอ สามารถนำเทปม้วนใหม่ ที่มีขนาดหน้ากว้างเท่ากัน มาต่อชนไปจนสุดระยะหน้าต่าง หรือประตู

สินค้าแนะนำ

เทปกันเสียง (Noise Zeal) จะมีด้วยกัน 2 ขนาด ได้แก่

>> ขนาดสำหรับประตู-หน้าต่างบานสไลด์ ซึ่งถือว่ารองรับประเภทของประตู-หน้าต่างส่วนใหญ่ที่ใช้กันอยู่ทั่วไปในปัจจุบัน

>> ขนาดสำหรับประตู-หน้าต่างประเภทบานสวิง บานพับ หรือบานกระทุ้ง

รู้หรือยังคะ ว่า ทำไมต้องเลือกใช้เทปกันเสียง? เพราะเทปกันเสียง (Noise Zeal) SCG ด้วยความเป็นยางวิศวกรรมคุณภาพจากนวัตกรรมการผลิตของญี่ปุ่น จึงทำให้เทปกันเสียง Noise Zeal SCG มีความแข็งแรงทนทาน มีความยืดหยุ่น ทุกบ้านจึงต้องควรใช้ เทปกันเสียง (Noise Zeal) SCG ไม่แค่ป้องกันเสียง แต่ยังช่วยป้องกันฝุ่น PM 2.5 ทนต่อแรงกระแทกของการปิดประตูหน้าต่างได้เป็นอย่างดี ช่วยป้องกันกลิ่นไม่พึ่งประสงค์จากภายนอก และยังป้องกันแมลงไม่ให้เข้ามารบกวนในบ้านของคุณได้อีกด้วย ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ ที่ติดตั้งง่าย ไม่ต้องเปลืองแรง แค่ “ลอก ติด  ตัด” ก็ สามารถกันเสียงรบกวนได้แล้ว และยังมีอายุการใช้งานยาวนาน ติดตั้งเพียงครั้งเดียว ก็แก้ปัญหาเสียงดังไปได้ยาวนานถึง 10 ปี

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ facebook fanpage : “WeHome วีโฮม เพื่อนบ้านที่เข้าใจคุณ” แอดมินยินดีให้คำปรึกษานะคะ

ขอขอบคุณข้อมูล และภาพจาก : https://www.acousticexpert.co/

วิธีการสั่งซื้อทางช่องอื่น

📲1. ช้อปผ่าน LINE : @wehomeonline

📥2. ช้อบผ่าน Inbox Facebook Page : m.me/WeHomeOnline

🌍3. ช้อปผ่านเว็บไซต์ https://www.wehome.co.th ตลอด 24 ชม.

🛒4. ช้อปผ่าน LAZADA : https://www.lazada.co.th/shop/wehome-online

🛒5. ช้อปผ่าน Shopee : https://www.shopee.co.th/ wehomeonline

🛒6. ช้อปผ่าน JD CENTRAL : https://www.jd.co.th/shop/pc/27676.html

🛒7. ช้อปผ่าน NOC NOC  :

📞8. โทรหาเราสั่งของได้ 074-338-000

4 ขั้นตอนง่ายๆ ติดตั้งโซ่ระบายน้ำฝน และ ชุดระบายน้ำระเบียงไวนิล SCG

4 ขั้นตอนง่ายๆ ติดตั้งโซ่ระบายน้ำฝน และ ชุดระบายน้ำระเบียงไวนิล SCG ไม่ต้องพึ่งช่าง 1
4 ขั้นตอนง่ายๆ ติดตั้งโซ่ระบายน้ำฝน และ ชุดระบายน้ำระเบียงไวนิล SCG ไม่ต้องพึ่งช่าง 1

              ยิ่งฝนตกทุกวัน การดูแลบ้านที่คุณรักยิ่งต้องใส่ใจ แม้แต่จุดเล็กๆ ก็สามารถสร้างปัญหาให้กับบ้านสวย ๆ ของคุณได้ ไม่ว่าจะเป็นการเกิดเชื้อรา ตะไคร่น้ำตามผนังบ้าน หรือ น้ำที่ไหลลงมาอาจสร้างความเสียหาย สกปรก เลอะเทอะให้กับพื้นด้านล่างได้เช่นกัน

              หากคุณกำลังต้องการตัวช่วยในการป้องกัน และแก้ไขปัญหาเหล่านี้ ได้ไม่ยาก ด้วย “โซ่ระบายน้ำฝน” ที่จะช่วยป้องกันการกระจายของน้ำฝน ไม่ให้กระเด็นไปบริเวณอื่น และยังออกแบบให้ดูสวย กลมกลืน ออกแบบมาเป็นพิเศษไร้รอยเชื่อมต่อ ซ่อนตะขอแขวนราง รูปทรงสวยกลมกลืนเข้ากับบ้านทุกสไตล์ ทนทานต่อสภาพแวดล้อม  ผลิตจากไวนิลคุณภาพเยี่ยม ที่มีความแข็งแรง ทนทานทุกสภาวะอากาศ ทั้งฝนกรด และ รังสี UV จากแสงแดด ไม่เป็นสนิมด้วย Super Flow Design ระบายน้ำฝนออกจากตัวรางได้อย่างรวดเร็ว ด้วยรูปทรงและระบบระบายน้ำที่ได้รับการออกแบบมาโดยเฉพาะคุณสมบัติพิเศษของไวนิล จึงไม่เป็นสนิมตลอดอายุการใช้งาน

วิธีติดตั้งโซ่ระบายน้ำฝน และ ชุดระบายน้ำระเบียงไวนิล  SCG

ส่วนประกอบของโซ่ระบายน้ำฝน

     1. ตัวโซ่ จำนวน 28 ดอก

     2. ตะขอเกี่ยวตัวโซ่ 28 ชิ้น

     3. ข้อต่อโซ่ระบายน้ำฝน 1 ชิ้น

     4. ตุ้มน้ำหนัก 1 ชิ้น

อุปกรณ์โซ่ ระบายน้ำฝน

วิธีติดตั้งโซ่ระบายน้ำฝน SCG

การติดตั้งข้อต่อ กับครองเชื่อมราง

1. การติดตั้งข้อต่อโซ่ระบายน้ำฝน กับครองเชื่อมราง

ติดตั้งตัวโซ่ระบายน้ำฝน

2. การรับความยาวของโซ่ระบายน้ำฝน ผู้ใช้งานสามารถปรับความยาวของโซ่ระบายน้ำฝนดอกไม้ได้ครั้งละ 10 ซม (รวมความยาวตะขอเกี่ยวและดอกไม้)

2.1 เพิ่มความยาวของโซ่ระบายน้ำฝน

            ผู้ใช้สามารถปรับความยาวของโซ่ระบายน้ำฝน เพิ่มได้ครั้งละ 10.5 ซม. (รวมความยาวตะขอเกี่ยวและตัวโซ่)

2.2 ลดความยาวของโซ่ระบายน้ำฝน

            ผู้ใช้สามารถลดคาวมยาวของโซ่ระบายน้ำฝน ได้ครั้งละ 10.5 ซม. (รวมความยาวตะขอเกี่ยวและตัวโซ่)

การติดตั้งโซ่ระบายน้ำฝนเข้ากับรางน้ำฝน

3. การติดตั้งโซ่ระบายน้ำฝนเข้ากับรางน้ำฝน

การติดตั้งตุ้มน้ำหนักโดยถ่วง

4. การติดตั้งตุ้มน้ำหนักโดยถ่วงไว้กับตะขอเกี่ยวดอกไม้อันสุดท้ายเพื่อถ่วงน้ำหนัก

สินค้าแนะนำ

และยังไม่พอ “วีโฮม” มีตัวช่วย อีก 1 ตัวช่วย มาแนะนำ ที่ทำให้บ้านสวยๆ ของคุณ ไม่เกิดความเสียหาย สกปรก จากการระบายน้ำ ตรงระเบียง นี้เลย “ชุดระบายน้ำระเบียงไวนิล SCG” สินค้าใหม่ล่าสุด! ที่คิดค้นขึ้นมาโดย   เฉพาะเพื่อติดตั้งครอบกับท่อระบายน้ำที่ยื่นออกมาจากระเบียง สามารถควบคุมทิศทางการระบายน้ำได้      อย่างมีประสิทธิภาพ

ส่วนประกอบของชุดระบายน้ำระเบียงไวนิล

อุปกรณ์ชุดระบายน้ำระเบียงไวนิล

   1. ฝาปิด สำหรับกันสิ่งสกปรกและเป็น         ช่องสำหรับ Service

   2. ตัว Balcony downspout

วิธีการติดตั้งชุดระบายน้ำระเบียงไวนิล  SCG

ก่อนติดตั้งชุดระเบียงไวนิล

1. นำชิ้นงานทาบกับผนังเพื่อกำหนดระยะ เจาะผนังและฝังผุกพลาสติกเบอร์ 7  จำนวน 2 จุด

ยิงซิลิโคด้านหลังตามแนวที่กำหนด

2. ยิงซิลิโคด้านหลังตามแนวที่กำหนด (เส้นสีแดง)

3. ยึดสกรูขนาด 1.5 นิ้ว จำนวน 2 จุด

ติดตั้งชุดระบายน้ำฝนขนาด 2.5นิ้ว หรือโซ่ระบายน้ำฝนไวนิล SCG

4. ติดตั้งชุดระบายน้ำฝนขนาด 2.5นิ้ว หรือโซ่ระบายน้ำฝนไวนิล SCG

สินค้าแนะนำ

     เป็นยังไงบ้างคะ กับ 4 ขั้นตอนง่ายๆ ติดตั้งโซ่ระบายน้ำฝน และ ชุดระบายน้ำระเบียงไวนิล  SCG ไม่ต้องพึ่งช่าง ติดตั้งได้ไม่ยากเลยใช่ไหมคะ ผู้ใช้สามารถนำไปติดตั้งเองที่บ้านได้ นะคะ

สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ facebook fanpage : “WeHome วีโฮม เพื่อนบ้านที่เข้าใจคุณ” ทางร้านยินดีให้คำปรึกษาคะ

 

วิธีการสั่งซื้อง่ายๆมาแนะนำคะ

📲1. ช้อปผ่าน LINE : @wehomeonline

📥2. ช้อบผ่าน Inbox Facebook Page : m.me/WeHomeOnline

🌍3. ช้อปผ่านเว็บไซต์ https://www.wehome.co.th ตลอด 24 ชม.

🛒4. ช้อปผ่าน LAZADA : https://www.lazada.co.th/shop/wehome-online

🛒5. ช้อปผ่าน Shopee : https://www.shopee.co.th/wattanaonline

🛒6. ช้อปผ่าน JD CENTRAL : https://www.jd.co.th/shop/pc/27676.html

🛒7. ช้อปผ่าน NOC NOC  :

📞8. โทรหาเราสั่งของได้ 074-338-000

ตกแต่งบ้านให้สวยหรูด้วย“บล็อกแก้ว”

บล็อกแก้ว
บล็อกแก้ว

 

อิฐแก้วหรือบล็อกแก้ว 

เป็นนวัตกรรมที่สามารถก่อพอดี กับผนังทุกประเภท เหมาะสำหรับใช้เพิ่มช่องแสง หรือที่ต้องการให้แสงสว่างเข้ามา เช่น สำหรับตกแต่งบ้าน หรืออาคารทั่วไป  ในบริเวณที่ต้องการแสงผ่าน พร้อมความใส สวยงาม และแข็งแรง ใช้ตกแต่ง และประยุกต์ ใช้กับวัสดุก่อสร้างผนังชนิดอื่นได้อย่างลงตัวนอกจากนี้ยังมีคุณสมบัติพิเศษอื่นๆ เช่น ฉนวนป้องกันความร้อน ฉนวนป้องกันเสียง ทนต่อสภาพอากาศ และยังให้ความเสน่ห์ ความสวยงาม ให้กับที่อยู่อาศัยของเราได้อีกด้วย บล็อกแก้วเกิดจากชิ้นแก้วที่มีความหนาจึงทำให้คุณภาพในการรับแรงอัดมากกว่า “อิฐมอญ”

มาดูตัวอย่างสไตล์การตกแต่งบ้าน ตกแต่งบ้านให้สวยหรูด้วย“บล็อกแก้ว”

easy to clean
pedestrian
Minimalism in the hotel bathroom

ข้อดีของบล็อกแก้ว

ช่วยประหยัดค่าไฟ

บล็อกแก้วช่วยให้แสงเข้าบ้านได้มากขึ้น เนื่องจากบล็อกแก้วมีลักษณะโปร่งใส สามารถปล่อยให้แสงทะลุผ่านได้ตั้งแต่ 40-75% (แบบใส 75% และแบบสี 40%) หากก่อให้เป็นผนังก็จะช่วยให้บรรยากาศในห้องดูกว้างขึ้น และยังลดการเปิดไฟในเวลากลางวันได้

Glass blocks help to save on electricity bills.
Glass blocks help to save on electricity bills.2

รองรับแรงอัดได้มาก

บล็อกแก้วเป็นวัสดุที่มีความหนาจึงรองรับแรงอัดได้มากถึง 7 Mpa. มากกว่าอิฐมอญถึง 2.5 เท่า อีกทั้งยังทนต่ออุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลง การตกแต่งบ้านด้วยผนังบล็อกแก้วจึงแข็งแรงทนทานใช้งานได้อย่างยาวนาน

ตกแต่งได้หลากหลาย

ไม่ว่าจะเป็น ห้องน้ำ ห้องครัว หรือจะกั้นเป็นห้องสันทนาการภายในบ้านของคุณก็ได้ ด้วยนวัตกรรมบล็อกแก้วมีลวดลายให้เลือกหลากหลาย สามารถนำมาผสมผสานกับผนังบ้านได้อย่างลงตัว หรือจะใช้เป็นผนังกั้นระหว่างห้อง เช่น บล็อกแก้วกั้นห้องน้ำ ระหว่างโซนเปียก และโซนแห้ง ก็จะช่วยให้แสงสว่างกระจายได้ทั่วห้อง

restaurant
no noise, sleep well

ทนความร้อน เก็บเสียง

บล็อกแก้ว ถือเป็นวัสดุที่ทนความร้อนได้เป็นอย่างดี ช่วยให้แสงที่ส่องเข้าบ้านนุ่มนวลมากยิ่งขึ้น และช่วยป้องกันไฟไหม้ได้ อีกทั้งหากเป็นบล็อกแก้วคุณภาพสูงยังสามารถลดระดับเสียงรบกวนที่เข้าสู่ตัวบ้านได้เป็นอย่างดี

ทำความสะอาดได้ง่าย

ผนังบล็อกแก้วเป็นวัสดุที่ทำความสะอาดง่าย เพียงเช็ดด้วยน้ำยาทำความสะอาด น้ำยาเช็ดกระจก หรือเช็ดด้วยน้ำเปล่า โดยไม่ต้องขัดหรือทำสี จึงมีค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาน้อยกว่าผนังประเภทอื่น ๆ นอกจากนี้หากเลือกใช้กาวยาแนวที่มีคุณภาพการใช้บล็อกแก้วหรืออิฐแก้วก็ยังปลอดภัยต่อเชื้อรา ไม่เป็นที่สะสมกลิ่นและสารพิษ

Maintenance costs are less than other wall types.

มีความสวยไม่พอ!! ต้องเสริมความแข็งแรงด้วย  “ กาวยาแนว สำหรับบล็อกแก้ว จระเข้ 1 กก. C02091001 ขาวไข่มุก ”

เป็นอย่าไรบ้าง สำหรับการ ตกแต่งบ้านให้สวยหรูด้วย“บล็อกแก้ว” น่าจะทำให้คุณลูกค้า หรือคุณเจ้าของบ้าน เกิดไอเดียดี ๆ ขึ้นมาไม่มากก็น้อย ที่สำคัญใน เรื่องงานก่อสร้างควรเลือกช่างที่มีประสบการณ์ เลือกใช้วัสดุเฉพาะทาง และอย่าลืมเสริมความแข็งแรง กาวยาแนว สำหรับบล็อกแก้ว จระเข้ 1 กก. C02091001 ขาวไข่มุก ที่จะช่วยให้บล็อกแก้ว มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน สวยงาม อยู่คู่บ้านของเราไปนาน ๆ

สนใจติดต่อช่างที่มีประสบการณ์ ลิงค์เพจ :  https://www.facebook.com/WattanaQualityHouse

ขอขอบคุณข้อมูลดีๆ ภาพสายๆ จาก  : https://www.bathroomcenter.co.th/content/6943/ข้อควรรู้ในการตกแต่งบ้านด้วย-บล็อกแก้ว

                                                        : https://www.jorakay.co.th/blog/owner/tiling/what-is-a-glass-block-what-are-the-benefits

                                                       : https://www.banidea.com/glass-block-micro-house/

D.I.Y ขั้นตอนติดตั้งหญ้าเทียมง่าย ๆ ด้วยตนเอง

6 ขั้นตอนติดตั้งหญ้าเทียมที่บ้านด้วยตัวคุณเอง

เมื่อมีบ้าน หรือคอนโดทุกคนก็อยากให้มีพื้นที่สีเขียวเอาไว้เป็นที่นั่งพักผ่อน แค่มองก็ทำให้รู้สึกสดชื่น และผ่อนคลาย แต่การที่จะปลูกหญ้าจริงให้ได้อย่างที่เราต้องการคงเป็นเรื่องยาก เพราะจะต้องใช้เวลาในการดูแล และการบำรุงรักษา ดังนั้น WeHome จึงมี ความรู้คู่บ้าน ที่น่าสนใจสำหรับคนที่อยากมีสนามหญ้าในพื้นที่บ้านของตนเองด้วยการ D.I.Y ติดตั้ง “หญ้าเทียม” ที่จะทำให้บ้าน และสวนของคุณเต็มไปด้วยความสดชื่น เขียวขจี และสวยงามไม่แพ้หญ้าจริง

ทำความรู้จักหญ้าเทียม (Artificial Turf)

ก่อนจะไปดูขั้นตอนการติดตั้ง เรามาเตรียมอุปกรณ์ให้พร้อมกันก่อน โดยอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับการติดตั้ง สามารถหาได้ง่าย ๆ ดังนี้ คัตเตอร์ เทป หรือกาวชนิดพิเศษ และตะปู เมื่อเตรียมอุปกรณ์พร้อมแล้ว เรามาเริ่มการติดตั้งหญ้าเทียมกันเลย วัดขนาดพื้นที่ และตัดหญ้าตามขนาดพื้นที่ที่เราต้องการ โดยใช้คัตเตอร์ใบมีดแข็งกรีดหญ้าเทียมด้านหลัง นำผืนหญ้ามาจัดวางบนพื้นที่ที่ต้องการ โดยให้ใบหญ้าเป็นแนวเดียวกัน จากนั้น เตรียมเทปความยาวให้เท่ากับความยาวของหญ้าเทียม แล้วทากาวให้ทั่วเทปวางผืนหญ้าเทียม บนเทปที่ได้ทากาวไว้ โดยขยับให้ขอบหญ้าชนกันสวยงามพอดี ในกรณีที่พื้นผิวเป็นปูน หรือไม้ อาจมีการตอกตะปูย้ำเพื่อความแข็งแรง รอให้กาวแห้งสนิท ประมาณ 30 – 60 นาที จากนั้นจึงสามารถจัดแต่งหญ้าเทียม ตามความต้องการ และพร้อมใช้งานได้เลย

เคล็ดลับการดูแลหญ้าเทียม

หญ้าเทียม จะมีอายุการใช้งานประมาณ 8 – 10 ปี จากนั้นสีจะเริ่มซีดจางลง สำหรับการดูแลหญ้าเทียมให้สวยงามอยู่เสมอ จะมีวิธีทำความสะอาดได้หลากหลายประการ โดยสามารถเลือกใช้วิธีทำความสะอาดหญ้าเทียม ได้ตามความสะดวกของผู้ใช้งาน ดังนี้

หญ้าเทียม Mori
  • ใช้เครื่องดูดฝุ่น เพื่อดูดสิ่งสกปรกออก แต่หากไม่อยากใช้เครื่องดูดฝุ่น สามารถใช้ไม้กวาดทางมะพร้าวค่อย ๆ กวาดคราบสกปรกออกได้
  • ใช้สายยางฉีดน้ำ ในกรณีที่หญ้าเทียมมีคราบเลอะ เช่น คราบอาหาร หรืออุจจาระของสัตว์เลี้ยง สามารถทำความสะอาดได้โดยนำสายยางฉีดน้ำใส่ แล้วใช้แปรงพลาสติกขัดคราบสกปรกออกได้เลย
  • ถอดหญ้าเทียมไปแช่น้ำ หญ้าเทียมจะมีความทนต่อน้ำ และแดดในตัวอยู่แล้ว จึงสามารถดึงหญ้าเทียมออกไปแช่น้ำ เพื่อการทำความสะอาดได้เลย (ไม่ควรใช้ผงซักฟอกเพราะอาจทำให้สีของหญ้าซีดก่อนเวลาอันควร)

ในกรณีที่ดอกหญ้าหลุดออกมา เราสามารถปักกลับเข้าตะแกรงพลาสติก โดยใช้กาวร้อน เพื่อซ่อมให้แข็งแรง ทนทานขึ้นนั่นเอง

6 ขั้นตอนติดตั้งหญ้าเทียมที่บ้านด้วยตัวคุณเอง

ก่อนจะไปดูขั้นตอนการติดตั้ง เรามาเตรียมอุปกรณ์ให้พร้อมกันก่อน โดยอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับการติดตั้งสามารถหาได้ง่าย ๆ ดังนี้ คัตเตอร์ เทป หรือกาวชนิดพิเศษ และตะปู เมื่อเตรียมอุปกรณ์พร้อมแล้ว เรามาเริ่มการติดตั้ง หญ้าเทียม กันเลย

  1. วัดขนาดพื้นที่ และตัดหญ้าตามขนาดพื้นที่ที่เราต้องการ โดยใช้คัตเตอร์ใบมีดแข็ง กรีดหญ้าเทียมด้านหลัง
  2. นำผืนหญ้ามาจัดวางบนพื้นที่ที่ต้องการ โดยให้ใบหญ้าเป็นแนวเดียวกัน
  3. จากนั้นเตรียมเทปความยาวให้เท่ากับความยาวของหญ้าเทียม แล้วทากาวให้ทั่วเทป
  4. วางผืนหญ้าเทียมบนเทปที่ได้ทากาวไว้ โดยขยับให้ขอบหญ้าชนกันสวยงามพอดี
  5. ในกรณีที่พื้นผิวเป็นปูน หรือไม้ อาจมีการตอกตะปูย้ำ เพื่อความแข็งแรง
  6. รอให้กาวแห้งสนิทประมาณ 30 – 60 นาที จากนั้นจึงสามารถจัดแต่งหญ้าเทียม ตามความต้องการ และพร้อมใช้งานได้เลย
วิธีการติดตั้งหญ้าเทียม

WeHome จัดจำหน่ายหญ้าเทียม คุณภาพดี ราคาประหยัด

WeHome จัดจำหน่ายหญ้าเทียมของ Mori เป็นหญ้าเทียมมีคุณภาพสูง ติดตั้งง่าย รวดเร็ว ทนทาน เส้นหญ้าตั้งฟู ให้สัมผัสนุ่มเสมือนเส้นหญ้าจริง ปราศจากโลหะหนักที่เป็นอันตรายต่อผู้ใช้ มีคุณสมบัติป้องกันรังสียูวียืดอายุการใช้งาน ทนต่อสภาวะแวดล้อม อายุการใช้งานยาวนาน 8 ปี เหมาะสำหรับการใช้งานหลากหลายรูปแบบ เช่น ตกแต่งสนามหญ้าในพื้นที่บ้าน รวมถึงการตกแต่งพื้นที่ว่างในคอนโด โดยหญ้าเทียมของ Mori ที่ WeHome จัดจำหน่ายมีความยาว ดังนี้

ขั้นตอนติดตั้งง่าย ๆ แบบนี้เรามาเติมเต็มความรู้สึกเป็นธรรมชาติ และเพิ่มพื้นที่สีเขียวด้วย หญ้าเทียมจาก WeHome ให้บ้านของคุณมีสีสันด้วยตัวคุณเองกันเถอะ

ติดต่อสอบถาม เพิ่มเติมได้ที่ 

“WeHome เพื่อนบ้านที่เข้าใจคุณ”

ความรู้คู่บ้าน

Select the fields to be shown. Others will be hidden. Drag and drop to rearrange the order.
  • Image
  • SKU
  • Rating
  • Price
  • Stock
  • Description
  • กำลังไฟฟ้า (วัตต์)
  • ขนาด
  • ความหนา
  • จำนวนช่อง
  • จำนวนชั้น
  • ชนิดฟิล์ม
  • การติดตั้ง
  • ทิศทาง
  • จำนวนที่นั่ง
  • น้ำหนัก (Kg)
  • ประเภทสินค้า
  • มาตรฐานการป้องกัน
  • ยาว
  • ยี่ห้อ
  • ระบบเปิด-ปิด
  • ระยะที่วัดได้
  • รูปทรง
  • ลักษณะบาน
  • วัสดุ
  • วัสดุหลัก
  • สี
  • หนา
  • เบอร์
  • แสงไฟ
  • Add to cart
  • Additional information
Click outside to hide the comparison bar
เปรียบเทียบ