จบทุกปัญหา รอยแตกร้าว รับหน้าฝน

Check the condition of the house for rainy season, end all problems, cracks-01

กระเบื้องหลังคาซีแพค

Seal tapes along the seams.

1.1) รอยรั่วตามสันตะเข้  และรางน้ำ  เช็ควัสดุที่ใช้ปิดหากเป็นการใช้ปูนโป๊ว  เมื่อผ่านการใช้งานในระยะเวลานานจะเกิดการเสื่อมแตกหลุดร่อนให้ทำการปูนโปกใหม่ หรือปิดด้วยแผ่นปิดรอยรั่วหลังคา ซีลด้วยเทป และทาทับด้วยอะคริลิคกันซึมอีกครั้ง

1.2 ตรวจสอบแผ่นหลังคาว่ามีรอยแตกร้าวหรือไม่ หากมีฝ้าให้เช็คบริเวณฝ้าว่ามีแสงลอดผ่านหรือไม่ และหากมีแสงเข้าให้เช็คบริเวณสันตะเข้หรือหลังคาให้คาดการณ์ว่ามีการขยับ แตก จนรอยรั่วเกิดขึ้น ให้ดำเนินการเปลี่ยนแผ่นหลังคาบริเวณนั้นใหม่

1.3 น้ำไหลย้อนเข้าบ้าน สาเหตุนี้เกิดจากความลาดเอียงหลังมามีสโลปน้อยเกินไป ให้แก้ไข โดยใช้ปูน ผสมกับเคมีกันซึมปิดอัดช่องว่างบริเวณที่น้ำสามารถเข้ามาได้ ถ้าหากช่องว่างมีขนาดใหญ่ ใช้อิฐก่อปิดและฉาบ ทาทับด้วยอะคริลิคกันซึมหลังคาอีกครั้ง

กระเบื้อลอนคู่ หรือเมทัลชีล

2.1) รอยต่อระหว่างแผ่น และตัวแผ่นแตกร้าว สังเกตหากมีแสงลอดตรงบริเวณรอยต่อแผ่น ให้ทำการแก้ไขโดย ขยับแผ่นหลังคาให้ซ้อนทับกันให้สนิท  หากมีรอยแตกบริเวณแผ่นหลังคาให้เปลี่ยนใหม่ทันที

2.2) รอยรั่วบริเวณ สกรูยิงแผ่นบริเวณยางรองสกรูยึดหลังคา สังเกตุหากมีการรั่วลักษณะหยดน้ำหยดตรง  และมีแสงลอดเป็นจุดๆ ให้แก้ไข  โดยใช้อะคริลิคกันซึมหรือแผ่นปิดหลังคา ปิดตามหัวสกรูเก่าทุกตัว อายุการใช้งานจะอยู่ที่ 2-3 ปีหลังจากนั้น ให้ทาอะคริลิคกันซึม ซ้ำอีกครั้ง

2.3) จุดรั่วตามสันจั่ว โดยสังเกตการรั่วบริเวณหัวจั่ว เช็คแผ่นติดหลังคากันซึม ว่ามีส่วนแตกหัก หรือร้าว วิธีแก้ไข คือ ใช้อะคริลิคกันซึมหรือกาวอีพ็อกซี่ทาหลังคาบริเวณรอยร้าว หากการเสื่อมบริเวณสกรูยึดแผ่นก็ให้ทำการเปลี่ยนใหม่

2.4) จุดรั่วระหว่างส่วนต่อเติม ขยาย รอยต่ออุปกรณ์ต่างๆ ให้สังเกตทางน้ำไหลตามจุดเชื่อมต่ออาคารส่วนต่อเติม อาจเกิดจากการซีลเทปตามรอยต่อไม่ดีพอทำให้เกิดช่องว่าง ให้ดำเนินการปิดด้วยแผ่นปิดหลังคากันซึม หรืออาคารส่วนต่อเติมทรุดเพราะมีการติดแฟลชชิ่งและตัวแฟลชชิ่งอาจเสื่อมสภาพการใช้งาน ทำให้น้ำไหลเข้าสู่บริเวณบ้าน กรณีรอยแยกแฟลชชิ่งกับอาคารเดิมจากการทรุดของส่วนต่อเติมให้แก้ไขโดย นำสกรูที่ใช้ติดแฟลชชิ่งกับหลังคาออกปล่อยให้แฟลชชิ่ง เป็นอิสระต่อกัน จากนั้นทำการซีลเก็บขอบแล้วแฟลชชิ่งแผ่นใหญ่กว่าเดิมเพื่อรองรับการทรุดตัวในอนาคต

กระเบื้องลอนคู่ หรือเมทัลชีท
หลังคาเมทัลชีท

     เป็นยังไงกันบ้าง! ทุกปัญหา รอยแตกร้าว สามารถสังเกตุได้ง่ายๆ กันเลยใช่ไหมคะ ทุกท่านสามารถนำเคล็ดความรู้นี้ ไปใช้ในบ้านของคุณได้ ลองไปสักเกตุดูสิ! ว่า บ้านของคุณมีรอย แตกร้าว รอยรั่วบนหลังคาและฝา กันบ้างหรือป่าว ปัญหาเหล่านี้ เป็นปัญหาที่เราต้องจบมันให้เร็วที่สุด เพราะปัญหา รอยแตกร้าว อาจจะทำให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมา เช่น ทำให้บ้านสึกหรอ ทำให้เกิดเชื่อราบนฝ่า ทำให้ทัศนียภาพในบ้านของคุณมีปัญหาอื่นๆ ตามมาอีกมากมาย

     ดังนั้น เรามา จบทุกปัญหา รอยแตกร้าว รับหน้าฝน นี้กันนะคะ เพราะเรา คือ WeHome “เพื่อนบ้านที่เข้าใจคุณ” สามารถสอบถามหรือ สั่งซื้อง่ายๆมาแนะนำคะ

📲1. ช้อปผ่าน LINE : @wehomeonline
📥2. ช้อบผ่าน Inbox Facebook Page : m.me/WeHomeOnline
🌍3. ช้อปผ่านเว็บไซต์ https://www.wehome.co.th ตลอด 24 ชม.
🛒4. ช้อปผ่าน LAZADA : https://www.lazada.co.th/shop/wehome-online
🛒5. ช้อปผ่าน JD CENTRAL : https://www.jd.co.th/shop/pc/27676.html
🛒5. ช้อปผ่าน NOCNOC :
🛒6. ช้อปผ่าน Shopee : https://www.shopee.co.th/wattanaonline
📞7. โทรหาเราสั่งของได้ 074-338-000

ขอบคุณเครดิต Cr. ประเมินเบื้องต้นหจก.บุญ​ทวี​ก่อสร้าง​1979

เรียบเรียงโดย WeHome “เพื่อนบ้านที่เข้าใจคุณ”

เรียบเรียง วันที่ 18 กันยายน 2564

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Select the fields to be shown. Others will be hidden. Drag and drop to rearrange the order.
  • Image
  • SKU
  • Rating
  • Price
  • Stock
  • Description
  • กำลังไฟฟ้า (วัตต์)
  • ขนาด
  • ความหนา
  • จำนวนช่อง
  • จำนวนชั้น
  • ชนิดฟิล์ม
  • การติดตั้ง
  • ทิศทาง
  • จำนวนที่นั่ง
  • น้ำหนัก (Kg)
  • ประเภทสินค้า
  • มาตรฐานการป้องกัน
  • ยาว
  • ยี่ห้อ
  • ระบบเปิด-ปิด
  • ระยะที่วัดได้
  • รูปทรง
  • ลักษณะบาน
  • วัสดุ
  • วัสดุหลัก
  • สี
  • หนา
  • เบอร์
  • แสงไฟ
  • Add to cart
  • Additional information
Click outside to hide the comparison bar
เปรียบเทียบ