Tag Archives: ถังเก็บน้ำ

HOW TO! การเลือกถังเก็บนํ้า แทงค์นํ้า ให้เหมาะกับการใช้งาน

หลายๆท่านอาจจะสับสนกับการเลือกซื้อถังเก็บน้ำหรือ แท้งค์น้ำ ว่าเราควรซื้อแบบไหนดี แบบไหนที่เหมาะกับบ้านเราดี แบบไหนที่ใช้งานได้คุ้มค่ากว่ากันดี…??? เป็นคำถามที่ วนเวียนอยู่ในหัวของเราตลอด โดยเฉพาะคนที่เริ่มทำบ้าน และไม่ได้ ถามช่างประปามาก่อน หรือ คนที่เป็นที่ใช้น้ำน้ำบาดานมาก่อนและเปลี่ยนมาใช้น้ำประปา ก็ จะมีคำถามอยู่ในหัวแบบนี้ ค่ะ และวันนี้ แอดจะพาทุกท่านมาดู วิธีเลือกถังเก็บน้ำ หรือ แทงค์น้ำให้เหมาะกับการใช้งาน ของท่านกันค่ะ

เลือกชนิดของถังเก็บน้ำ

ทุกคนคงเคยเห็นกันแล้วใช่ไหมค่ะ ว่า ถังเก็บน้ำ หรือบางคนเรียกว่า แท้งค์เก็บน้ำ ที่คนที่นิยมใช้งานจะมีอยู่ 4 แบบ ได้แก่

1. ถังเก็บน้ำสแตนเลส

           สำหรับใช้บรรจุน้ำสะอาด น้ำประปา น้ำฝน เพื่อการอุปโภค-บริโภค สะอาดปลอดภัย ถูกสุขลักษณะ แข็งแรง แตกยาก ทนทาน สวย เงางาม ทนแดด ทนฝน ทนทานต่อการกัดกร่อน ฝุกร่อนยาก ทนความร้อนได้ดี ไม่เกิดกลิ่น เมื่อเก็บน้ำไว้นาน เคลื่อนย้ายสะดวก มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน ไม่เกิดตะไคร่น้ำ ง่ายต่อการทำความสะอาด และสามารถปลอยน้ำทิ้งไล่ตะกอนที่ตกค้างออกได้จนหมดถัง ควรทำความสะอาดทั้งภายใน และภายนอก ทุกๆ 6 เดือน เพื่อยืดอายุการใช้งานให้ยาวมากขึ้น

ข้อควรระวัง

1. ไม่ควรนำไปใช้บรรจุน้ำที่มีค่าความเป็นกรด เป็นด่างสูง เช่น น้ำบาดาล น้ำเค็ม น้ำกร่อย น้ำที่มีคลอรีนสูง หรือ น้ำที่มีค่าความเป็นกรดเป็นด่างสูง เพราะอาจทำให้เกิดการรั่วซึมได้

2. ไม่ควรนำไปวางตั้งในพื้นที่สภาพแวดล้อมที่อาจทำให้เกิดผลเสีย เช่น พื้นที่ลาดเอียง ใกล้ทะเล เศษเหล็กจากการเชื่อมงาน ละองจากการพ่นสี เศษปูนจากงานก่อสร้าง สารเคมีต่างๆ เป็นต้น เพราะอาจเกิดปฏิกิริยาทำให้เป็นสนิมได้

3. ห้ามใช้ข้อต่อที่เป็นเหล็กในการติดตั้ง เนื่องจากเนื้อแสตนเลสเมื่อสัมผัสกับเนื้อเหล็กแล้วจะทำปฏิกิริยาต่อต้านกัน จนทำให้เกิดสนิม ควรใช้ข้อต่อที่เป็นสแตนเลส ทอเหลือง หรือ PVC เท่านั้น เพื่อยืดอายุการใช้งาน

2. ถังเก็บน้ำไฟเบอร์กลาส

          เป็นถังเก็บน้ำสำเร็จรูปที่มีราคาค่อนข้างสูง เนื่องจากผลิตขึ้นจากวัสดุไฟเบอร์กลาส (Fiberglass Reinforced Plastics หรือ FRP) ซึ่งก็คือผลิตภัณฑ์พลาสติกชนิดแข็ง ที่มีการใส่วัสดุช่วยเสริมความแข็งแรงอย่าง “เส้นใยแก้ว” ซึ่งมีความอ่อนนุ่ม ทว่าเหนียว แข็งแรง และทนต่อแรงดึงได้สูงมาก ลงไป เพื่อให้ได้ถังเก็บน้ำไฟเบอร์กลาสที่มีคุณสมบัติในการยืดหยุ่นสูง ไม่แตกหักง่าย มีน้ำหนักเบา และสามารถรองรับแรงอัดได้ดี

           ส่วนใหญ่คนจะเลือกใช้ถังเก็บน้ำชนิดนี้กัน เพราะดีไซน์หลากหลายสวยงาม เอาไปวางใช้งานที่บ้านแล้วดูเข้ากัน ไม่สะดุดตา อีกทั้งยังแข็งแรง ทนทาน น้ำหนักเบา รับแรงดันได้ดี ไม่เป็นพิษกับน้ำ ใช้ได้กับทั้งน้ำประปา และน้ำกร่อย

ข้อดีของถังเก็บน้ำไฟเบอร์กลาส

1. ถังเก็บน้ำไฟเบอร์กลาสสามารถบรรจุน้ำได้หลายหลายชนิดทั้งน้ำสะอาด และน้ำกร่อย โดยไม่ทำให้เกิดตะไคร่น้ำและสนิม เนื่องจากเส้นใยแก้วซึ่งเป็นวัสดุหลักที่ใช้ในการผลิตไฟเบอร์กลาสไม่มีส่วนผสมของเหล็ก ซึ่งเป็นสารที่ก่อให้เกิดสนิม
2. มีให้เลือกใช้งานหลากหลายรูปแบบตามความต้องการ ทั้งถังเก็บน้ำไฟเบอร์กลาสแบบบนดินและแบบฝังดิน
3. ถังเก็บน้ำไฟเบอร์กลาสมีให้เลือกใช้งานหลายขนาด ตั้งแต่ขนาดเล็กที่ใช้ตามบ้าน ไปจนถึงขนาดใหญ่ที่ใช้ในงานส่วนอุตสาหกรรม
4. ถังเก็บน้ำไฟเบอร์กลาสมีความแข็งแรงกว่าถังเก็บน้ำโพลีเอทิลีน หรือ ถังเก็บน้ำพลาสติก

5. เมื่อต้องการเก็บน้ำสำรองในปริมาณมาก การใช้ถังเก็บน้ำไฟเบอร์กลาสสามารถประหยัดต้นทุนในการก่อสร้างได้มากกว่า เมื่อเทียบกับการสร้างบ่อคอนกรีตหรือบ่อปูนขนาดใหญ่
6. สามารถติดตั้งได้ง่าย และใช้เวลา รวมถึงจำนวนแรงงานในการติดตั้งน้อยกว่า
7. ถังเก็บน้ำไฟเบอร์กลาสดูแลรักษาง่าย เมื่อเกิดความเสียหายสามารถซ่อมแซมได้ทุกจุด โดยไม่ต้องทำการเปลี่ยนใหม่
8. ถังเก็บน้ำไฟเบอร์กลาส แข็งแรง ทนทาน และมีอายุการใช้งานนานถึง 20 ปี
9. ปลอดภัยสำหรับการอุปโภคบริโภค เพราะวัสดุที่ใช้เป็น Food Grade

3.ถังน้ำโพลิเมอร์ชนิดไม่ทึบแสง

          ถังเก็บน้ำ PE (โพลิเมอร์ชนิดไม่ทึบแสง) หรือ ถัง PE สีฟ้า ไม่เหมาะสำหรับการใช้งานกลางแจ้ง หรือที่ที่มีแสงส่องถึงเนื่องจาก คุณสมบัติของตัวเนื้อพลาสติกไม่มีความทึบแสงทำให้แสงสามารถลอดผ่านตัวถังเข้าไปสัมผัสกับน้ำได้ ทำให้มีโอกาสเกิดตะไคร่น้ำภายในถัง

        ถังเก็บน้ำ PE (โพลิเมอร์ชนิดไม่ทึบแสง) หรือ ถัง PE สีฟ้า ไม่เหมาะสำหรับการใช้งานกลางแจ้ง หรือที่ที่มีแสงส่องถึงเนื่องจาก คุณสมบัติของตัวเนื้อพลาสติกไม่มีความทึบแสงทำให้แสงสามารถลอดผ่านตัวถังเข้าไปสัมผัสกับน้ำได้ ทำให้มีโอกาสเกิดตะไคร่น้ำภายในถัง

ข้อดีของถังโพลิเมอร์ชนิดไม่ทึบแสง

1. เป็นถังเก็บน้ำ ที่มีราคาถูก ที่สุดในกลุ่ม
2. ไม่เกิดสนิมเนื่องจากเป็นวัสดุโพลิเมอร์ (PE)
3. สามารถบรรจุน้ำได้หลายหลายชนิด ไม่ต้องกังวลเรื่องการเกิดสนิม เพราะเป็นวัสดุ โพลีเมอร์
4. มีหลายแบบให้เลือก ทั้งแบบ ถังเก็บน้ำบนดิน และถังเก็บน้ำฝังดิน
5. มีหลายขนาดให้เลือก ตั้งแต่ถังเก็บน้ำขนาดเล็กที่ใช้ตามบ้าน จนถึงขนาดใหญ่ที่ใช้งานในส่วนอุตสาหกรรม

ข้อจำกัด

1. มีโอกาสเกิดตะไคร่น้ำภายในถังได้เนื่องจากเป็นวัสดุที่แสงสามารถลอดผ่านได้
2. สีจะซีดจางเมื่อใช้งานไปนาน ๆ
3. อายุการใช้งานไม่นานมากนัก ไม่เหมาะกับการใช้งานในบ้านพักอาศัย
4. ไม่เหมาะกับการใช้งานกลางแจ้ง เนื่องจากอาจทำให้อายุการใช้งานสั้นลง
5. ข้อต่อต่าง ๆ ใช้ความร้อนในการเชื่อม อาจทำให้เกิดรอยแยก หรือ แตกร้าวได้ง่าย
6. ก้นถังเป็นพื้นเรียบทำให้ล้างทำความสะอาดได้ยาก เนื่องจากอาจมีน้ำค้างอยู่ก้นถัง

4. ถังเก็บน้ำ โพลิเมอร์ ชนิดทึบแสง

          วัสดุโพลิเมอร์ ปัจจุบันนิยมนำมาใช้ในการผลิตถังเก็บน้ำเป็นอย่างมากเนื่องจาก คุณสมบัติที่มีความสะอาด ปลอดภัย ทึบแสง ป้องกันรังสี uv ราคาที่ไม่สูงมากนัก (ขนาด 1000 ลิตร ราคาประมาณ 5,500 – 7,500 บาท) สีสันสวยงาม ด้วยการผสมสีด้วยวิธี Compounding (การใช้ความร้อน แรงดันบีบอัด สีให้เป็นเนื้อเดียวกันกับเม็ดพลาสติก)

        ดังนั้นวัสดุชนิดนี้สีจึงไม่หลุดร่อน และไม่ต้องกังวลเรื่องสารปนเปื้อนแน่นอน อายุการใช้งานยาวนาน การรับประกันสินค้า มีตั้งแต่ 15 – 25 ปี ทั้งนี้แหล่งที่มาของวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต ก็เป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องพิจรณาด้วยเช่นกัน โดยหลัก ๆ มีอยู่ 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ

4.1 เอลิเซอร์ (Elixir by SCG)

คุณสมบัติพิเศษของ ถังเก็บน้ำ ที่ผลิตจากวัสดุเอลิเซอร์ (Elixer) คือ
1. เป็นวัสดุ Food Contact คือเป็นวัสดุที่ได้การรับรองว่าสามารถนำมาใช้สัมผัสอาหารและน้ำดื่มได้ปลอดภัย
2. สีไม่ซีดจาง ด้วยเทคโนโลยีขั้นสูง ที่ทำให้สีหลอมรวมเป็นเนื้อเดียวกัน ไม่มีการหลุดลอกของสี ปนเปื้อนลงในน้ำที่บรรจะภายในถังน้ำ
3. ปราศจากสารตะกั่ว และปรอท เนื่องจากใช้ส่วนผสม และสีที่มีคุณภาพสูง ไม่มีส่วนผสมของโลหะหนัก จึงไม่มีสารที่เป็นอันตรายปนเปื้อนลงในน้ำ
4. เป็นวัสดุที่มีความทึบแสง ทำให้แสงไม่สามารถลอดผ่านตัวถังเก็บน้ำได้ ทำให้น้ำที่บรรจุภายในถัง ไม่เกิดตะใคร่น้ำ ที่เป็นแหล่งสะสมของสิ่งสกปรกและเชื้อโรค
5. ไม่มีกลิ่นรบกวน เนื่องจากผ่านการทดสอบเรื่องกลิ่นด้วยมาตรฐานเดียวกับท่อน้ำดื่ม
6. มีความแข็งแรงทนทาน ด้วยส่วนผสมของสารป้องกันรังสี UV ทำให้สามารถตั้ง ไว้กลางแจ้งได้ และตัววัสดุยังผ่านมาตรฐานอุตสาหกรรม (มอก.)

4.2 อินโนว่า (INNOVA by PTT)

คุณสมบัติพิเศษของ ถังน้ำ ที่ผลิตด้วย Polyethylene Innova by Ptt Global Chemical
1. เป็นโพลิเมอร์ คุณภาพสูง (Hexene Co-Polymer C6) มีความทนทาน หรือ ความคงทนต่อสภาพแวดล้อม สูงกว่าโพลิเมอร์ชนิดทั่วไป มากกว่า 20 เท่า
2. Foodgrade ใหม่ 100% ผ่านการรับรองมาตรฐานจาก EU Food Contact , U.S. FDA ว่าสามารถใช้เป็นวัสดุ สำหรับการบรรจุ อาหารและน้ำดื่มได้
3. นวัฒกรรมการผลิตแบบ Compounding ด้วยเครื่อง Extrudsion ผ่านความร้อน และความดัน ทำให้สี และพลาสติกโพลิเมอร์รวมตัวเป็นเนื้อเดียวกัน ซึ่งจะไม่หลุดลอกออกมาปนเปื้อนกับน้ำที่บรรจุ ภายในถังเก็บน้ำ
4. ใช้สี และ Additive ต่าง ๆ ในกระบวนการผลิตที่เป็น Foodgrade ทำให้ความปลอดภัย

ข้อดีของถังเก็บน้ำ โพลิเมอร์ ชนิดทึบแสง

1. มีให้เลือกหลายรูปทรง และมีสีสัน สวยงาม ทันสมัย สามารถนำไปเป็นของแต่งบ้านได้อีกแบบหนึ่ง
2. ไม่เกิดตะไคร่น้ำภายในถัง เนื่องจากเป็นวัสดุโพลิเมอร์ชนิดทึบแสง ในบางรุ่น อาจเพิ่มสารยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียในเนื้อวัสดุ ทำให้น้ำมีความสะอาด ปลอดภัย
3. สามารถมั่นใจในความปลอดภัยได้เนื่องจากวัสดุเป็นสาร Food Grade ที่สามารถสัมผัสน้ำดื่มได้โดยตรง โดยไม่เกิดสารปนเปือน
4. สีสันสวยงาม ไม่ซีดจาง เนื่องจากมีสารป้องกัน UV
5. สามารถตั้งกลางแจ้งได้ (อุณภูมิน้ำภายในจะสูงขึ้นเล็กน้อย)
6. ไม่ต้องกังวลเรื่องการเกิดสนิม เพราะเป็นวัสดุ โพลีเมอร์

ข้อจำกัด

1. เนื่องจากเป็นวัสดุที่ได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน ทำให้มีสินค้าออกมาให้เลือกหลายยี่ห้อ จึงอาจเกิดสินค้าลอกเลียนแบบ หรือ สินค้าที่ใช้วัสดุที่ไม่ได้มาตรฐานมาผลิต อาจทำให้เกิดอันตรายได้ ควรสังเกต สัญลักษณ์การรับประกันคุณภาพสินค้าให้ดี
2. ข้อต่อต่าง ๆ เป็นวัสดุคนละชนิดกับตัวถัง อาจทำให้เกิดรอยแยก หรือ แตกร้าวได้ง่าย
3. ก้นถังเป็นพื้นเรียบทำให้ล้างทำความสะอาดได้ยาก เนื่องจากอาจมีน้ำค้างอยู่ก้นถัง

พื้นที่ในการติดตั้งถังเก็บน้ำ

โดยทั่วไป การติดตั้งถังเก็บน้ำสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 รูปแบบ ได้แก่ การติดตั้งถังเก็บน้ำบนดิน และการติดตั้งถังเก็บน้ำใต้ดิน

การติดตั้งถังเก็บน้ำบนดิน

          การติดตั้งถังเก็บน้ำบนดินมีข้อดีในเรื่องของการติดตั้ง การดูแลรักษา การซ่อมบำรุง และการเคลื่อนย้าย ที่สามารถทำได้อย่างสะดวกและง่ายดาย แต่ในขณะเดียวกันก็มีข้อจำกัดในเรื่องของอุณหภูมิของน้ำ ที่อาจเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพอากาศจนส่งผลต่อการเกิดตะไคร่น้ำภายในถัง ซึ่งมักจะพบได้บ่อยในถังเก็บน้ำพลาสติกชนิดโปร่งแสง ส่งผลให้การติดตั้งถังเก็บน้ำบนดินจึงนิยมใช้เป็นถังเก็บน้ำประเภทถังเก็บน้ำสเตนเลส และถังเก็บน้ำไฟเบอร์กลาส เนื่องจากมีความแข็งแรงทนทาน และไม่เกิดตะไคร่หรือสนิมได้ง่าย

การติดตั้งถังเก็บน้ำใต้ดิน

          ในกรณีที่อาคารหรือบ้านพักอาศัยมีพื้นที่ใช้สอยอย่างจำกัด การติดตั้งถังเก็บน้ำใต้ดินก็นับเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่จะช่วยในการประหยัดพื้นที่สำหรับติดตั้ง และช่วยให้บริเวณโดยรอบอาคารบ้านพักดูเรียบร้อยสวยงาม อีกทั้งยังช่วยป้องกันปัญหาตะไคร่น้ำที่อาจเกิดขึ้นภายในตัวถังได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากอุณหภูมิของน้ำภายในถังไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปมากนัก แต่ทั้งนี้การติดตั้งถังเก็บน้ำใต้ดินก็มีข้อจำกัดในเรื่องของราคาที่ค่อนข้างสูง และการทำความสะอาด รวมถึงการซ่อมแซม ที่ทำได้ค่อนข้างยาก ส่งผลให้การเลือกใช้ถังเก็บน้ำใต้ดิน นิยมใช้เป็นถังเก็บน้ำคอนกรีต และถังเก็บน้ำพลาสติกชนิดติดตั้งใต้ดิน เนื่องจากมีความคงทน แข็งแรง และปลอดภัยค่อนข้างมาก ทำให้สามารถรองรับแรงกด และแรงกระแทกได้ดีโดยไม่เกิดการทรุดตัว และมีอายุการใช้งานที่ยาวนานกว่าถังเก็บน้ำชนิดอื่น ๆ

คำนวนปริมาณของถังเก็บน้ำ

ขนาดของถังเก็บน้ำก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ผู้ใช้งานควรเลือกพิจารณาให้ถี่ถ้วน โดยการเลือกขนาดของถังเก็บน้ำนั้น ควรเลือกพิจารณาจากจำนวนผู้อยู่อาศัยภายในบ้าน และปริมาณน้ำที่ใช้ในแต่ละวันเป็นหลัก โดยสามารถพิจารณาอ้างอิงจากข้อมูลการใช้น้ำของการประปานครหลวงได้ ดังนี้

  • ผู้ที่พักอาศัยในเขตนครหลวงจะมีปริมาณการใช้น้ำเฉลี่ย 200 ลิตร ต่อคน ต่อวัน
  • ผู้ที่พักอาศัยในเขตเทศบาลจะมีปริมาณการใช้น้ำเฉลี่ย 120 ลิตร ต่อคน ต่อวัน
  • ผู้ที่พักอาศัยแถบชานเมืองจะมีปริมาณการใช้น้ำเฉลี่ย 70 ลิตร ต่อคน ต่อวัน

ซึ่งปริมาณน้ำที่ควรกักเก็บสำรองเอาไว้ใช้ในกรณีฉุกเฉินสามารถคำนวนได้จากสูตร : จำนวนผู้พักอาศัย X ปริมาณการใช้น้ำเฉลี่ย (ต่อคน ต่อวัน) X ระยะเวลาที่ต้องการสำรองน้ำไว้ใช้ (โดยปกตินิยมคำนวนที่ประมาณ 2-3 วัน)

วิธีการคำนวณ

นำจำนวนคนภายในบ้าน x 200 (ลิตร) x จำนวนวัน จะได้ปริมาณน้ำที่จะใช้ ภายในในบ้าน ตัวอย่าง เช่น ในบ้านที่มีสมาชิก 4 คน ให้เราคิดคำนวณ 4 x 200 = 800 ลิตรต่อวัน และควรเผื่อฉุกเฉิน 2-3 วัน ดังนั้นถังน้ำสำหรับครอบครัว 4 คน จึงควรมีขนาด 1,500 – 2,500 ลิตร

อย่างไรก็ตาม การใช้น้ำของแต่ละคนไม่เท่ากันตามกิจกรรมที่แตกต่างกัน โดยอาจจะมากกว่าหรือน้อยกว่า 200 ลิตรต่อวันได้ การเลือกขนาดความจุของถังเก็บน้ำตามจำนวนสมาชิกในครอบครัว สามารถเริ่มต้นสำรองให้เพียงพอใช้ได้ใน 1 วัน ดังนี้

1. จำนวนผู้ใช้น้ำ 4 คน เลือกถังเก็บน้ำความจุ 800 ลิตร
2. จำนวนผู้ใช้น้ำ 5 คน เลือกถังเก็บน้ำความจุ 1,000 ลิตร
3. จำนวนผู้ใช้น้ำ 6 คน เลือกถังเก็บน้ำความจุ 1,200 ลิตร
4. จำนวนผู้ใช้น้ำ 7-8 คน เลือกถังเก็บน้ำความจุ 1,600 ลิตร
5. จำนวนผู้ใช้น้ำ 9-10 คน เลือกถังเก็บน้ำความจุ 2,000 ลิตร

มีช่องทางการสั่งซื้อง่ายๆมาแนะนำคะ

📲1. ช้อปผ่าน LINE : @wehomeonline
📥2. ช้อบผ่าน Inbox Facebook Page : m.me/WeHomeOnline
🛒3. LAZADA : https://www.lazada.co.th/shop/wehome-online

🛒4. NOCNOC :
🛒5. Shopee : https://shopee.co.th/wehomeonline
📞7. โทรหาเราสั่งของได้ 074-338-000

4 เทคนิคการเลือกใช้งานปั้มน้ำ และถังเก็บน้ำให้เหมาะกับบ้านคุณ

B 24 เทคนิคการเลือกใช้งานปั๊มน้ำ และถังเก็บน้ำให้เหมาะกับบ้านคุณ

B 24 เทคนิคการเลือกใช้งานปั๊มน้ำ และถังเก็บน้ำให้เหมาะกับบ้านคุณ

การเลือกใช้ปั้มน้ำและถังเก็บน้ำให้เหมาะกับการใช้งานของคอนมิเนียม ทาวน์เฮาส์ บ้านเดี่ยวหรือบ้าน2ชั้น ที่ทุกบ้านพบเจออยู่บ่อยครั้งหรือหลายครั้งที่ใช้น้ำพร้อมๆกันทั้งบ้านมีคำถามแก้ไข้ปัญหาเหล่านี้รวมถึงการเลือกใช้ปั้มน้ำที่เหมาะกับบ้านของคุณวันนี้ วีโฮม เพื่อนบ้านที่เข้าใจคุณ ติดตามเคล็ดลับในปั้มน้ำและถังเก็บน้ำสำหรับใช้งานในบ้านของคุณได้เลย นะคะ

เทคนิคที่ 1 วิธีในการเลือกปั้มน้ำให้เหมาะกับบ้านคุณ?

1. การเลือกกำลังวัตต์ปั้มน้ำให้เหมาะสมกับการใช้งาน

          หลายท่าคิดว่าการเลือกปั้มน้ำต้องเลือกที่กำลังวัตต์สูง ๆ ไว้ก่อน ซึ่งแรงวัตต์สูงนั้นดีแต่ถ้าเกินความจำเป็นสำหรับบ้านที่มีจุดใช้น้ำน้อย ก่อนทำการตัดสินใจซื้อจึงต้องศึกษาคุณสมบัติของปั้มน้ำให้เหมาะสมกับการใช้งานเป็นหลัก โดยพิจารณาจากปริมาณการใช้งานต่อวัน, จุดที่ใช้น้ำในบ้านและนอกบ้านทั้งหมดมีกี่จุด, โอกาสและช่วงเวลาที่ใช้พร้อมกัน ประกอบกับความสูงของอาคาร แล้วค่อยติดสินใจในการเลือกซื้อ

2. ฟังก์ชั่นปรับแรงดันน้ำอัตโนมัติ

ปั้มน้ำอัตโนมัติมีหลัก ๆ 2 ประเภท คือ ปั้มชนิดถังแรงดัน และปั้มชนิดแรงดันคงที่ ทั้งสองแบบมีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกัน ดังนี้

ปั้มน้ำชนิดถังแรงดัน   เป็นปั้มน้ำทรงกระบอก การทำงานของปั้มน้ำชนิดนี้จะใช้หลักการให้น้ำไปแทนที่อากาศ เพื่อใช้แรงดันของอากาศในปั้มดันน้ำออกไปยังส่วนต่าง ๆ ของบ้าน ปั้มน้ำชนิดนี้จะทนทาน ราคาถูก และอะไหล่หาง่าย แต่แรงดันน้ำจะไม่สม่ำเสมอ หากเปิดใช้งานพร้อมกันความแรงของน้ำแต่ละจุดอาจจะไม่เท่ากัน ปั้มน้ำตัดการทำงานบ่อย ทำให้ต้องไล่เช็กลมและปล่อยน้ำอยู่เสมอ

ปั้มน้ำชนิดแรงดันคงที่   เป็นปั้มน้ำทรงเหลี่ยม รูปร่างค่อนข้างสวยงามและทันสมัย การทำงานจะให้แรงดันน้ำสม่ำเสมอ หากรุ่นที่มีราคาสูงจะมีฟังก์ชั่นควบคุมน้ำอัจฉริยะ สามารถตรวจสอบแรงดันน้ำที่เปลี่ยนแปลงแบบอัตโนมัติ หรือตั้งแรงดันได้ตามต้องการ เหมาะสำหรับบ้านที่มีการใช้น้ำหลายจุด และอุปกรณ์ที่ต้องการแรงดันน้ำคงที่ เช่น เครื่องซักผ้า, เครื่องทำน้ำอุ่น และ Rain shower ข้อดีของปั้มน้ำชนิดนี้คือ แรงดันน้ำคงที่ เสียงเบา ขนาดไม่ใหญ่ และประหยัดไฟฟ้ากว่า แต่แน่นอนว่าราคาค่อนข้างสูง

3. วัสดุของตัวถังของปั้มน้ำ

          ปั้มน้ำเป็นอุปกรณ์ที่มักติดตั้งไว้ระดับพื้น มักได้รับผลกระทบจากแสงแดด ลมและฝน หากตัวถังผลิตจากวัสดุไม่มีคุณภาพจะทำให้ผุกร่อนง่ายและเกิดปัญหาถังรั่วตามรอยตะเข็บ อย่าลืมมองหารุ่นที่ตัวถังผลิตจากวัสดุที่มีความทนทาน ไม่เป็นสนิมหรือออกแบบไร้รอยเชื่อมต่อ เพื่อป้องกันการรั่วซึมตามตะเข็บ ทั้งนี้ควรเลือกปั้มน้ำที่มีคุณสมบัติระบายความร้อนได้ดี เพื่อยืดอายุการใช้งานของตัวมอเตอร์ ซึ่งในบางรุ่นจะมีพัดลมระบายความร้อนในเครื่อง แต่ปั้มน้ำอัตโนมัติบางรุ่นได้ออกแบบการระบายความร้อนด้วยน้ำหรือใช้มอเตอร์แบบแม่เหล็กถาวร จึงไม่จำเป็นต้องมีพัดลมระบายความร้อน

4. ควรมีระบบตรวจสอบความผิดปกติของน้ำ

          เครื่องปั้มน้ำที่ดีควรมีเครื่องหมาย มอก. รับรอง พร้อมเทคโนโลยีระบบตรวจสอบความผิดปกติและตัดการทำงานอัตโนมัติ อาทิ การป้องกันแรงดันเกินจากท่อประปาที่ส่งน้ำมาแรงเกิน มีเซนเซอร์แจ้งเตือนกรณีน้ำแห้งหรือน้ำขาด (Dry-running protection) และกรณีท่อรั่ว ปิดวาล์วน้ำไม่สนิท ปั้มน้ำจะส่งสัญญาณแจ้งเตือนหน้าตัวเครื่อง พร้อมกับปิดการทำงานให้อัตโนมัติ เพื่อป้องกันด้านความปลอดภัยและแจ้งให้ผู้ใช้ทราบได้ว่ามีจุดรั่วไหล

5. ปั้มน้ำเสียงเงียบหลับสบายไม่สะดุ้งกลางดึก

          ปั้มน้ำทั่วไปจะมีเสียงดังทุกครั้งที่มีการเปิดใช้น้ำ ระดับเสียงจะอยู่ที่ 50-60 เดซิเบล ซึ่งไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพกาย แต่อาจรบกวนสุขภาพจิตของคนในบ้านและเพื่อนบ้านได้ แนะนำให้มองหาปั้มน้ำอัตโนมัติระบบ Inverter ที่นอกจากช่วยประหยัดค่าไฟแล้ว การทำงานยังเงียบ บางรุ่นมีระดับเสียงเท่า ๆ กับที่เราคุยกันปกติหรือประมาณ 45 เดซิเบล ช่วยลดมลพิษทางเสียงไปได้ค่อนข้างมากเลย

เทคนิคที่ 2 การเลือกปั้มน้ำมีกี่ แบบ มีอะไรบ้าง?

          ปั้มน้ำที่เราใช้ กันมีหลากหลายแบบ มาก จนเราที่เป็นเจ้าบ้าน เลือกใช้ไม่ถูกกันเลย และยังมีหลากหลายแบรนด์ หลายยี่ห้อสินค้า ให้เลือก “พูดถึงยี่ห้อ ก็แล้วแต่ว่าคุณจะเลือกใช้ตามที่ช่างแนะนำ หรือ จะเลือกซื้อตามความชอบก็ย้อมได้” ในรูปแบบ ของปั้มน้ำมี กี่แบบ กี่ประเภท ไปดู กัน

1. ปั้มน้ำอัตโนมัติ

เป็นปั้มน้ำที่มีขนาด ตั้งแต่ 100-400 วัตต์ บ้านที่มีสมาชิก 2-3 คน ควรเลือกใช้ ปั้มน้ำสำหรับ 100–150 วัตต์ ในขณะที่บ้านเดี่ยวหลังใหญ่ ควรเลือกใช้แบบ 400 วัตต์ ปัจจุบันจะมีปั้มน้ำอัตโนมัติแบบพิเศษ ซึ่งควบคุมการทำงานด้วยระบบไฟฟ้า

2. ปั้มน้ำกึ่งอัตโนมัติ

          คุณสมบัติคล้ายปั้มแบบอัตโนมัติ แต่การใช้งานแตกต่างกันตรงที่ต้องเปิดและปิดสวิตช์ หรือเสียบปลั๊กและถอดปลั๊กใช้งานด้วยตัวเอง ทำให้ไม่ค่อยเป็นที่นิยมในตลาด เพราะเจ้าของบ้านส่วนใหญ่จะนิยมแบบอัตโนมัติไปมากกว่า

3. ปั้มหอยโข่ง

          เหมาะกับการดึงน้ำมาเก็บใส่ถัง เช่นในการฟาร์มเกษตร หรือดึงน้ำขึ้นไปใช้บนอาคารสูงๆ อย่างสำนักงานหรือออฟฟิศ ด้วยคุณสมบัติปั้มหอยโข่งจะมีแรงม้าสูง มี 1 แรงม้า 2 แรงม้า แต่ไม่เป็นระบบอัตโนมัติ ตัวนี้เหมาะกับการใช้งานต่อเนื่องนานๆ

4. ปั้มน้ำอินเวอร์เตอร์

          มีการใช้ไมโครโพรเซสเซอร์มาช่วยควบคุมการทำงาน สามารถควบคุมการหมุนของมอเตอร์ได้ตามปริมาณการใช้น้ำจริง ทำให้สามารถควบคุมการจ่ายน้ำได้ดี ประหยัดไฟ การจ่ายน้ำแรงสม่ำเสมอ สามารถจ่ายน้ำได้ทั่วบ้าน แต่มีข้อเสียคือมีราคาแพงกว่าปั้มน้ำแบบอื่น 2-3 เท่าตัว

นอกจากนี้ เลือกปั้มน้ำให้เหมาะสมกับการใช้งาน เป็น 1 วิธี ที่จะช่วยลดค่าใช้จ่ายในบ้านของคุณได้

  • สำหรับบ้านแบบทาวเฮาส์ 2 ชั้น อาจมีห้องน้ำ 2-3 ห้อง อาจเลือกใช้ปั้มขนาด 100-150 วัตต์ก็เพียงพอสำหรับ
  • สำหรับบ้านเดี่ยวแนะนำให้ใช้ปั้มขนาด 200–250 วัตต์ ซึ่งจะทำให้เปิดน้ำใช้พร้อมกันได้ถึง5-6 จุด โดยไม่มีปัญหา

แนะนำสินค้าปั้มน้ำ

- 7%
Original price was: ฿7,722.00.Current price is: ฿7,190.00.
- 10%
Original price was: ฿8,134.00.Current price is: ฿7,280.00.
- 9%
Original price was: ฿8,546.00.Current price is: ฿7,790.00.
- 8%
Original price was: ฿5,763.00.Current price is: ฿5,290.00.
- 13%
Original price was: ฿4,948.00.Current price is: ฿4,290.00.
- 9%
Original price was: ฿5,247.00.Current price is: ฿4,790.00.
- 9%
Original price was: ฿6,072.00.Current price is: ฿5,500.00.
- 11%
Original price was: ฿6,588.00.Current price is: ฿5,870.00.

เทคนิคที่ 3 การเลือกถังเก็บน้ำใช้ในบ้าน ควรเลือกอย่างไร?

สำหรับขนาดของถังเก็บน้ำในบ้านพักอาศัย ต้องเลือกขนาดที่เพียงพอต่อการใช้งานของคนในบ้าน โดยอ้างอิงจากสถิติความต้องการใช้น้ำเฉลี่ยปริมาณ 200 ลิตรต่อคน สำหรับสำรองน้ำใช้ใน 1 วัน

วิธีการคำนวณ  นำจำนวนคนภายในบ้าน x 200 (ลิตร) x จำนวนวัน จะได้ปริมาณน้ำที่จะใช้ ภายในในบ้าน ตัวอย่าง เช่น ในบ้านที่มีสมาชิก 4 คน ให้เราคิดคำนวณ 4 x 200 = 800 ลิตรต่อวัน และควรเผื่อฉุกเฉิน 2-3 วัน ดังนั้นถังน้ำสำหรับครอบครัว 4 คน จึงควรมีขนาด 1,500 – 2,500 ลิตร

อย่างไรก็ตาม การใช้น้ำของแต่ละคนไม่เท่ากันตามกิจกรรมที่แตกต่างกัน โดยอาจจะมากกว่าหรือน้อยกว่า 200 ลิตรต่อวันได้ การเลือกขนาดความจุของถังเก็บน้ำตามจำนวนสมาชิกในครอบครัว สามารถเริ่มต้นสำรองให้เพียงพอใช้ได้ใน 1 วัน ดังนี้

  1. จำนวนผู้ใช้น้ำ 4 คน เลือกถังเก็บน้ำความจุ 800 ลิตร
  2. จำนวนผู้ใช้น้ำ 5 คน เลือกถังเก็บน้ำความจุ 1,000 ลิตร
  3. จำนวนผู้ใช้น้ำ 6 คน เลือกถังเก็บน้ำความจุ 1,200 ลิตร
  4. จำนวนผู้ใช้น้ำ 7-8 คน เลือกถังเก็บน้ำความจุ 1,600 ลิตร
  5. จำนวนผู้ใช้น้ำ 9-10 คน เลือกถังเก็บน้ำความจุ 2,000 ลิตร

1. การเลือกถังเก็บน้ำที่ดี แค่เราคำนึงถึง ความคงทน แข็งแรง และมีคุณภาพที่ดี โดยดูจะแบรนด์ และยี่ห้อ ที่คนนิยมใช้กัน เช่น WAVE Dos และยี่ห้ออื่นๆ หากคุณ ต้องการ เลือกซื้อถังเก็บน้ำด้วยตนเอง เราได้นำเทคนิคในการเลือกมาให้คุณได้อ่านกัน ได้แก่

2. ควรเลือกถังเก็บน้ำที่ผลิตจากวัสดุคุณภาพมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) ปราศจากการปนเปื้อนของสารตะกั่ว ปรอทและโลหะหนัก

3. ควรเลือกถังเก็บน้ำที่ผลิตจากวัสดุไม่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค หรือ Food Grade

4. ควรเลือกถังเก็บน้ำที่ใช้เทคโนโลยี Compounding หรือการใช้ความร้อน แรงดันบีบอัดสีให้เป็นเนื้อเดียวกันกับเม็ดพลาสติก ทำให้สีไม่หลุดร่อนปนเปื้อนกับน้ำ

5. ควรเลือกถังเก็บน้ำแบบทึบแสง ที่สามารถป้องกันตะไคร่น้ำ ซึ่งอาจจะส่งผลต่อระบบทางเดินอาหารและโรคผิวหนัง

แนะนำถังเก็บน้ำ

เทคนิคที่ 4 ก่อนติดตั้งปั้มน้ำควรทำอย่างไร?

ขั้นตอนที่ 1 เริ่มจากการเตรียมพื้นที่เพื่อติดตั้งปั้มน้ำเป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะการเลือกที่ติดตั้งปั้มน้ำจะส่งผลให้ปั้มทำงานดีและการใช้งานยาวนานได้นานยิ่งขึ้น ปกติแล้วช่างหรือผู้ติดตั้งจะเลือกที่ใต้ชายคาบ้านที่ไม่มีน้ำท่วมขัง ปั้มน้ำเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีความร้อน ไม่ควรติดตั้งชิดผนัง และต้องห่างจากกำแพงอย่างน้อย 15 เซนติเมตร

ขั้นตอนที่ 2 ก่อนการติดตั้งปั้มน้ำต้องต่อท่อน้ำประปาจ่ายน้ำเข้าในถังเก็บน้ำก่อนเสมอ แล้วจึงค่อยต่อปั้มกับถังเก็บน้ำจากนั้นก็ต่อท่อเข้ายังบ้านของเราได้ เลย

 

 ห้ามต่อเครื่องสูบน้ำตรงกับท่อประปาะเพราะนอกจากจะผิดกฎหมายแล้ว การที่เรานำน้ำประปามาใช้เฉพาะบ้านตนเองจะส่งผลกระทบต่อเพื่อนบ้านจะทำให้เพื่อนบ้านได้รับปริมาณน้ำน้อยลงและอาจส่งผลต่อระบบท่อน้ำภายในบ้านเราเองด้วย

เป็นยังไงกันบ้างค่ะ กับบทความ “4 เทคนิคการเลือกใช้งานปั้มน้ำ และถังเก็บน้ำให้เหมาะกับบ้านคุณ” เราได้จำประเภทของเครื่องปั้มน้ำ มาให้คุณรู้จัก และมีหลักการเลือกซื้อถังน้ำให้เหมาะกับบ้านคุณ โดยการ คำนวณ จำนวนคนภายในบ้าน เพื่อให้คุณได้ใช้น้ำ อย่างเหมาะสม และ ประหยัดค่าใช้จ่ายอีกด้วย

หากท่านใด สนใจถังเก็บน้ำ แล้วปั้มน้ำ ก็สามารถมาเลือกซื้อที่ WeHome By wanawat หรือสั่งผ่านfacebook fanpage : วีโฮม WeHome เพื่อนบ้านที่เข้าใจคุณ เรามีแอดมินที่จะคอยตอบปัญหาให้กับคุณ เพราะเรามีผู้เชียวชาญที่สามารถตอบปัญหาเรื่องปั้มน้ำ และถังเก็บน้ำได้…


สามารถเข้าใช้ช่องทางอื่นๆ ได้ที่

📲1. ช้อปผ่าน LINE : @wehomeonline

📥2. ชอบผ่าน Inbox Facebook Page : m.me/WeHomeOnline

🌍3. ช้อปผ่านเว็บไซต์https://www.wehome.co.thตลอด 24 ชม.

🛒4. ช้อปผ่าน LAZADA : https://www.lazada.co.th/shop/wehome-online

🛒5. ช้อปผ่าน Shopee : https://www.shopee.co.th/ wehomeonline

🛒6. ช้อปผ่าน JD CENTRAL : https://www.jd.co.th/shop/pc/27676.html

🛒7. ช้อปผ่าน NOC NOC :

📞8. มาหาเราสั่งของได้ 074-338-000

Select the fields to be shown. Others will be hidden. Drag and drop to rearrange the order.
  • Image
  • SKU
  • Rating
  • Price
  • Stock
  • Description
  • กำลังไฟฟ้า (วัตต์)
  • ขนาด
  • ความหนา
  • จำนวนช่อง
  • จำนวนชั้น
  • ชนิดฟิล์ม
  • การติดตั้ง
  • ทิศทาง
  • จำนวนที่นั่ง
  • น้ำหนัก (Kg)
  • ประเภทสินค้า
  • มาตรฐานการป้องกัน
  • ยาว
  • ยี่ห้อ
  • ระบบเปิด-ปิด
  • ระยะที่วัดได้
  • รูปทรง
  • ลักษณะบาน
  • วัสดุ
  • วัสดุหลัก
  • สี
  • หนา
  • เบอร์
  • แสงไฟ
  • Add to cart
  • Additional information
Click outside to hide the comparison bar
เปรียบเทียบ