เคล็ดลับป้องกันน้ำซึมเข้าบ้านในช่วงฤดูฝน

          ตอนนี้ประเทศไทยกำลังเข้าสู่ฤดูฝนแล้วหลังจากที่เราต้องทนร้อนมานานหลายเดือนแล้ว ต่อไปเราจะสัมผัสความเย็นชุ่มฉ่ำของสายฝนกันไปราว 5-6 เดือน ดังนั้นสิ่งสำคัญที่ต้องเตรียมพร้อมคือบ้านของเราเอง ต้องหมั่นตรวจสอบว่ามีมีจุดใดของบ้านมีรอยรั่วซึมหรือรอยแตกร้าวหรือไม่ หากพบว่ามีปัญหาเช่นนี้ จะต้องดำเนินการซ่อมแซมเพื่อป้องกันน้ำซึมเข้ามาในบ้าน ถ้าหากเราไม่รีบแก้ไขปัญหานี้ น้ำฝนอาจจะรั่วซึมเข้ามาและทำให้เกิดความเสียหายแก่เฟอร์นิเจอร์หรือของใช้ภายในบ้านได้

ปัญหาที่พบเจอกันบ่อย

ดังนั้นจุดที่ควรตรวจสอบและแก้ไขได้ง่ายๆ ด้วยตัวเองได้แก่ :

ดาดฟ้า

     มักจะเกิดการรั่วซึม บริเวณรอยต่อดาดฟ้าชนผนัง และบริเวณพื้นดาดฟ้าที่มีรอยแตกร้าว

Tips : หากดาดฟ้ามีน้ำขังบ่อย ควรเลือกใช้กันซึมชนิดซีเมนต์ เช่น จระเข้ เฟล็กซ์ ชิลด์ ไม่ควรใช้กันซึมชนิดอะคริลิก เช่น จระเข้ รูฟ ชิลด์ เพราะจะเสื่อมสภาพได้ง่ายกว่าเมื่อต้องแช่น้ำเป็นเวลานานๆ

พื้นหลังคาคอนกรีตแตกร้าว

เช่น พื้นดาดฟ้าแตกร้าว พื้นเป็นแอ่ง น้ำขัง ทำให้เกิดน้ำรั่ว

Tips : แก้ไขโดยการปรับความลาดเอียงของพื้นให้น้ำไหลออกได้สะดวก และซ่อมรอยร้าว ทำกันซึมพื้นให้เรียบร้อย

silicone sealant

หลังคา

     หลังคาบ้านอาจเกิดรอยร้าวหรือรอยรั่วได้จากหลายสาเหตุ เช่น กระเบื้องร้าวหรือชำรุดเพราะใช้งานมานาน กระเบื้องยึดไม่แน่น กระเบื้องหลุด ช่างมุงกระเบื้องซ้อนกันไม่สนิทหรือระยะซ้อนทับน้อยเกินไป โครงสร้างหลังคาซับซ้อนมีรอยต่อมาก ฯลฯ

Tips : กระเบื้องที่แตกร้าวควรเปลี่ยนแผ่นกระเบื้องใหม่ ต้องมุงอย่างถูกต้องและใช้สกูรยึดให้แน่นหนา เพื่อไม่ให้น้ำรั่วซึม ส่วนรอยต่อระหว่างแผ่นกระเบื้องที่รั่วซึมนั้นให้ใช้ซีเมนต์สำหรับงานซ่อมอุดตามรอยรั่วซึม จากนั้นทาทับด้วยวัสดุกันซึมอีกชั้น หรือจะใช้แผ่นปิดรอยต่อช่วยบางตำแหน่งก็ได้ นอกจากนี้ รางน้ำฝนบนหลังคาบ้าน ก็ต้องทำความสะอาดเก็บกวาดเศษฝุ่น เศษดิน เศษใบไม้ใบหญ้า เศษขยะทิ้งให้เกลี้ยง เมื่อเวลาที่ฝนตกลงมาจะได้สามารถระบายน้ำลงจากหลังคาได้ทันด้วย มิเช่นนั้น อาจทำให้น้ำรั่วซึมลงได้

ผนัง

     ปัญหาที่พบบ่อย ได้แก่ รอยต่อระหว่างผนังกับขอบวงกบ รอยแตกขอบมุมวงกบ และรอยแตกร้าวบนผนัง

Tips : หากสีของผนังเริ่มลอกล่อน ต้องขูดลอกสีเก่าออกก่อนลงมือซ่อมแซมรอยแตกร้าวและทากันซึม

ขอบวงกบประตู-หน้าต่าง

     รอยร้าวนี้มักพบเพราะเกิดจากการยืดขยายตัวของอุณหภูมิ ทำให้เกิดรอยร้าวที่มุม และทำให้น้ำฝนรั่วซึมเข้ามา

Tips : แก้ไขโดยการตรวจสอบว่ามีเสาเอ็น ทับหลัง เหล็กกรงไก่หรือไม่ ถ้าหากมีครบให้เรียกช่างมาซ่อมรอยร้าวทันที

ประเภทของผลิตภัณฑ์ป้องกันน้ำรั่วซึม

มีผลิตภัณฑ์ป้องกันน้ำรั่วซึมหลากหลายแบบ แต่วันที่แอดขอยกตัวอย่างมา 3 แบบ ได้แก่ :

เทปสำหรับกันรั่ว ซึม

     ครอบคลุมผลิตภัณฑ์เทปกันซึมแบบยืดหยุ่น กันน้ำ 100% ตาข่ายไฟเบอร์เสริมแรง สำหรับงานกันซึมในพื้นที่สัญจร เทปตาข่ายไฟเบอร์ชนิดมีกาวในตัวสำหรับปัญหาผนังแตกร้าว และเทปกาวอเนกประสงค์ แก้ปัญหารั่วซึมในหลากหลายพื้นที่

ซีเมนนต์กันรั่ว ซึม

     ซีเมนต์ผสมสำเร็จกันรั่วซึม เหมาะกับสระว่ายน้ำแบบขุด และพื้นที่ใต้ดิน และซีเมนต์กันรั่วซึมชนิดยืดหยุ่น แบบสองส่วนผสมสำหรับพื้นที่เปียกบนอาคาร และสระว่ายน้ำที่สร้างบนอาคาร

วัสดุทากันซึมดาดฟ้า โพลียูรีเทนและอะครีลิค

     วัสดุทากันซึมดาดฟ้า โพลียูรีเทนและอะครีลิคพร้อมใช้งานชนิดยืดหยุ่นสูง สารพัดประโยชน์ สำหรับดาดฟ้า หลังคา รอยต่อ และผนัง

สาเหตุของปัญหาน้ำซึมจากผนังข้างบ้าน

น้ำซึมผนังบ้านเพราะรอยแตกร้าว

สาเหตุหลัก เกิดจากรอยแตกร้าวที่ผนังบ้าน ไม่ว่าจะเป็นรอยแตกร้าวแบบร่องลึก หรือรอยแยกขนาดใหญ่ ซึ่งเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ อาทิ ปัญหาเสาบ้านทรุด การใช้ปูนฉาบที่ไม่ได้มาตรฐาน หรือการผสมปูนที่ไม่ได้สัดส่วน

          เมื่อเกิดรอยแตกร้าวควรสังเกตลักษณะการแตกร้าวให้ดี เพราะหากเป็นรอยแตกร้าวเป็นเส้นตรงตั้งแต่มุมใดมุมหนึ่งยาวมาจนถึงกึ่งกลางผนัง หรือรอยแตกร้าวที่มีลักษณะเป็นเส้นตรงตั้งฉากบริเวณกึ่งกลางผนัง อาจต้องรีบติดต่อวิศวกรโครงสร้าง เพราะการแตกร้าวแบบนี้อาจเกิดจากโครงสร้างอาคารทรุดตัวซึ่งทำให้เกิดอันตรายได้

น้ำซึมเข้ากำแพงเพราะการแตกลายงา

     นอกจากรอยแตกร้าวขนาดใหญ่เป็นร่องลึกแล้ว รอยแตกลายงาก็เป็นอีกสาเหตุของน้ำซึมจากผนังข้างบ้านได้เช่นกัน เพราะรอยแตกลายงาเหล่านี้จะค่อย ๆ สะสมน้ำเอาไว้ เมื่อผ่านไปสักระยะหนึ่งน้ำก็จะค่อย ๆ ซึมออกมาตามรอยแตกเหล่านี้ ดังนั้นเพื่อป้องกันน้ำซึมผนังบ้านก็ควรซ่อมแซมก่อนปัญหาจะบานปลาย

น้ำซึมผนังบ้านเพราะรอยแตกร้าว

     แน่นอนว่าเมื่อเป็นปัญหาเกี่ยวกับการรั่วซึมแล้ว ระบบประปาก็ต้องเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของสาเหตุน้ำซึมจากผนังข้างบ้านอย่างแน่นอน ซึ่งปัญหาจากระบบประปาจะสังเกตเห็นได้ชัดในเวลาที่ฝนไม่ตกแต่ก็ยังคงเกิดปัญหารั่วซึมอยู่ เกิดขึ้นได้ทั้งจากน้ำจากท่อประปาหรือน้ำจากท่อระบายน้ำ โดยส่วนมากมักเกิดในห้องที่ต้องใช้น้ำอยู่เป็นประจำ เช่น ห้องน้ำ ห้องครัว

          ดังนั้นวิธีสังเกตปัญหาน้ำซึมผนังบ้านที่ง่ายที่สุด คือ ปิดวาล์วน้ำทุกจุดในบ้านแล้วสังเกตดูว่ามิเตอร์น้ำยังคงหมุนอยู่หรือไม่ หากยังหมุนอยู่แสดงว่ามีน้ำรั่วภายในบ้าน ควรค้นหาจุดรั่วซึมตามแปลนระบบท่อน้ำภายในบ้าน เมื่อพบตำแหน่งที่มีปัญหารั่วซึมเรียบร้อยแล้ว ควรรีบจัดการซ่อมแซมให้เร็วที่สุด

ระบบกันซึมไม่ได้มาตรฐาน

     หนึ่งในสาเหตุสำคัญของน้ำซึมจากผนังข้างบ้านอาจเกิดขึ้นจากต้นเหตุอย่างการทำกันซึมด้วยวิธีที่ไม่ถูกต้อง หรือใช้ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้มาตรฐาน ทำให้มีระยะเวลาการใช้งานสั้นลง ทำให้น้ำซึมเข้ากำแพงได้ง่ายมากยิ่งขึ้น

น้ำซึมจากใต้ดิน

     สำหรับที่อยู่อาศัยที่ประเภทอาคารพาณิชย์หรือตึกแถวอายุมากกว่า 30 ปี น้ำซึมจากใต้ดินก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งของน้ำซึมผนังบ้าน ได้เช่นกัน เพราะอาคารเหล่านี้มักอยู่ต่ำกว่าระดับถนน และมีรูปแบบโครงสร้างเป็นคอนกรีตเสริมเหล็กวางบนดิน และชิ้นส่วนก็ยังแยกกับเสาและคาน จึงทำให้น้ำซึมผ่านรอยต่อระหว่างคาน ผนัง และแผ่นพื้นได้นั่นเอง

สินค้าแนะนำ

- 2%
Original price was: ฿1,255.00.

(ราคาโปรโมชั่นถึงวันที่ 4 / 05 / 2024)

Current price is: ฿1,229.00.
- 17%
Original price was: ฿1,199.00.

(ราคาโปรโมชั่นถึงวันที่ 30 / 05 / 2024)

Current price is: ฿990.00.
- 5%
Original price was: ฿849.00.

(ราคาโปรโมชั่นถึงวันที่ 30 / 05 / 2024)

Current price is: ฿809.00.
- 21%
Original price was: ฿990.00.

(ราคาโปรโมชั่นถึงวันที่ 30 / 05 / 2024)

Current price is: ฿780.00.
- 7%
Original price was: ฿749.00.

(ราคาโปรโมชั่นถึงวันที่ 30 / 05 / 2024)

Current price is: ฿699.00.
- 8%
Original price was: ฿696.00.

(ราคาโปรโมชั่นถึงวันที่ 4 / 05 / 2024)

Current price is: ฿639.00.
- 12%
Original price was: ฿600.00.

(ราคาโปรโมชั่นถึงวันที่ 4 / 05 / 2024)

Current price is: ฿529.00.
- 4%
Original price was: ฿459.00.

(ราคาโปรโมชั่นถึงวันที่ 30 / 05 / 2024)

Current price is: ฿440.00.
- 5%
Original price was: ฿450.00.

(ราคาโปรโมชั่นถึงวันที่ 4 / 05 / 2024)

Current price is: ฿429.00.
- 10%
Original price was: ฿389.00.

(ราคาโปรโมชั่นถึงวันที่ 30 / 05 / 2024)

Current price is: ฿349.00.
- 9%
Original price was: ฿385.00.

(ราคาโปรโมชั่นถึงวันที่ 4 / 05 / 2024)

Current price is: ฿349.00.

มีช่องทางการสั่งซื้อง่ายๆมาแนะนำคะ

📲1. ช้อปผ่าน LINE : @wehomeonline
📥2. ช้อบผ่าน Inbox Facebook Page : m.me/WeHomeOnline
🛒3. LAZADA : https://www.lazada.co.th/shop/wehome-online

🛒4. NOCNOC :
🛒5. Shopee : https://shopee.co.th/wehomeonline
📞7. โทรหาเราสั่งของได้ 074-338-000

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

Select the fields to be shown. Others will be hidden. Drag and drop to rearrange the order.
  • Image
  • SKU
  • Rating
  • Price
  • Stock
  • Description
  • กำลังไฟฟ้า (วัตต์)
  • ขนาด
  • ความหนา
  • จำนวนช่อง
  • จำนวนชั้น
  • ชนิดฟิล์ม
  • การติดตั้ง
  • ทิศทาง
  • จำนวนที่นั่ง
  • น้ำหนัก (Kg)
  • ประเภทสินค้า
  • มาตรฐานการป้องกัน
  • ยาว
  • ยี่ห้อ
  • ระบบเปิด-ปิด
  • ระยะที่วัดได้
  • รูปทรง
  • ลักษณะบาน
  • วัสดุ
  • วัสดุหลัก
  • สี
  • หนา
  • เบอร์
  • แสงไฟ
  • Add to cart
  • Additional information
Click outside to hide the comparison bar
เปรียบเทียบ